เลเบลแผ่นตราสุนทราภรณ์ บทความโดยคุณสมาชิก RiderPok

แผ่นตราสุนทราภรณ์รุ่นแรกของ กมล สุโกศล

รุ่น2นี้คล้ายกันมาก ต่างกันตรงตัวหนังสือชื่อวงตัว

ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

รุ่น3ของแผ่นกมลสุโกศลนี้แตกต่างชัดเจนคือตัด

ตัวหนังสือคำว่าLong Playing ตรงกลางออกไป

แผ่นตราสุนทราภรณ์แผ่นนี้เป็นของเมโทรครับ

อันนี้เป็นของคาเธย์ครับ

สมัยก่อนเครดิตของวงสุนทราภรร์ดีมาก ไม่ว่าจะไปทำแผ่นกับค่ายไหน ตัวแผ่นต้องมัตราสุนทราภรณ์แทบทั้งสิน ยกเว้นแผ่นกมล สุโกศลรุ่นแรกๆครับเช่นแผ่นลาวดำเนินทรายแผ่นนี้ทำที่ประเทศอินเดียครับ เป็นแผ่นโคลัมเบีย แต่พอทำรุ่นหลังๆก็เปลี่ยนปกเปลี่ยนเลเบลเป็นตราสุนทราภรณ์สีส้มเหมือนกัน

หมดรุ่นโคลัมเบีย(อินเดีย)ก็มาโคลัมเบียบ้านเรา

ครับ แผ่นนี้เป็นแผ่นสุนทราภรณ์ชุดเสียงสวรรค์นิรันดรมัณทนา โมรากุล

พอหลังจากแผ่นโคลัมเบียบ้านเรา ก็มาเป็นเลเบลนี้ครับ KS แผ่นนี้สุนทราภรณ์ชุดนกสีชมภูครับ หมด เลเบลเขียว3แบบนี้ ถึงจะไปใช้เลเบล ตราสุนทราภรณ์สีส้มครับ เลเบลสุนทราภรณ์ เฉพาะรุ่นแรกๆคงมีประมาณนี้น่ะครับ

เปลี่ยนเรื่องมาดูแผ่นที่ปกรูปเดียวกัน แต่เป็นแผ่นที่ทำกันคนล่ะรุ่นครับ แผ่นนี้ถนัดศรี ชุดสีชังด้านซ้ายแผ่นญี่ปุ่น ด้านขวาทำในบ้านเรา

สังเกตุปกได้ที่ตรงนี้ครับ แถบสีส้มแผ่นญี่ปุ่นจะมี

ลายเซ็นของผู้เขียนปก แผ่นที่ไม่มีลายเซ็นคือ

แผ่นบ้านเรา

เลเบลแผ่นญี่ปุ่น จะเป็นสีแดงๆ

รุ่นแรก(ที่ทำในบ้านเรา)เป็นสีเขียวแบบนี้ พอรุ่น

สุดท้าย(ผมไม่มีรูปให้ดู) จะเป็นสีครีมๆมีตราครุท

ปกหลังพับสันด้านนอกทั้งคู่ แผ่นข้างบนเป็นแผ่น

ญี่ปุ่นครับ

ชุดนี้แผ่นนอกแผ่นในปกเหมือนกันเลย ต่างกัน

ตรงความชัดเจน ปกนอกจะชัดกว่าเพียงเล็กน้อย

แต่ด้านหลังแตกต่างชัดเจน ด้านล่างคือแผ่น

อินเดียครับ

อันนี้ความแตกต่างคล้ายๆกับแผ่นรำวงสงกรานต์

คือเหมือนกัน ต่างกันตรงความคมชัดของภาพปก

ด้านล้างคือรุ่นแรก แผ่นนอกครับ

ปกเก่าๆสีฟ้าๆครับ เพิ่งได้มาเพิ่มอีกแผ่นนึง

นกสีชมภูปกเก่าจะแตกต่างกันตรงที่รูปรวงทอง

ด้านขวาล่าง ปกใหม่จะเป็นรูปตอนที่สาวสวยกว่านี้

ส่วนอื่นจะเหมือนกันหมด

มาดูลาเบลที่นอกเหนือจากของสุนทราภรณ์บ้าง อย่างขอค่ายใหญ่ห้างคาเธย์ก็มีอยู่หลายแบบเหมือนกัน

1.แบบแรกที่ผลิตญี่ปุ่น สังเกตุที่มงกุฎยังไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ แบบโบราณ 

แบบที่2นี่มงกุฎก็สวยขึ้นมาอีกหน่อย แต่ก็ยังทำที่ญี่ปุ่นอยู่ครับ   

แบบที่2นี่มงกุฎก็สวยขึ้นมาอีกหน่อย แต่ก็ยังทำที่ญี่ปุ่นอยู่ครับ   

แต่แบบที่3นี่มงกุฎมีรายละเอียดปรานีตสวยงามมาก และก็ยังทำที่ญี่ปุ่นอยู่อีกเหมินเดิม     

มาแบบที่4นี่เด็ดสุด มงกุฎเริ่มเปล่งรัศมี จนเส้นขอบรอบวงกลมหายไป บอกไว้เสร็จว่าเป็น”เครื่องหมายแห่งคุณภาพ” แต่คุณภาพเสียงส่วนใหญ่ลดลง แต่บางชุดก็ยังใช้ได้อยู่ และตัวอักษรชื่อเพลงกลายเป็นแบบพิมพ์ไปซะแล้ว      

“แบบที่4นี้ทำในบ้านเราแล้วครับ”

และยังมีอีกแบบที่ผมหาไม่ได้คือลาเบลเหมือนแบบที่4แต่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ช่วงหลังๆนี่จะเป็นเสตอริโอแล้วครับ 

มาดูแผ่น7นิ้วกันบ้างครับ กับค่ายดัง ห้างคาเธย์ กับห้างกมลสุโกศล

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ด้านบนแผ่นนอกและในบ้านเรา แต่ใช้ภาพเดียวกัน ต้องสังเกตุ ถ้าปกนอกจะมีโลโกโคลัมเบียที่ปก แต่แผ่นทำบ้านเราจะเป็นโลโกของกมลสุโกศล หรือบางครั้งก็จะไม่มีโลโก

ทีนี้ลองมาดูแผ่นบ้านเราที่ทำปกแบบนึง ปกนอกอีกแบบนึงกันมั่งครับ

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

มาดูที่ลาเบลกันบ้างครับ

อันนี้เป็นลาเบลของบ้านเราครับ 

อันนี้เป็นลาเบลอินเดีย(ขวามือตัวเล็กๆmade in india)

ทีนี้ลองมาดูลาเบล7นิ้วของคาเธย์กันบ้างครับ

เริ่มจากแผ่นที่มีเขียนไว้ชัด made in japan

แผ่นjapanอีกแบบ ต่างกันนิดหน่อยครับลองสังเกตุดู

จริงๆแผ่นญี่ปุ่นยังมีแบบอื่นอีก แต่ยังหาไม่เจอครับ

ลองมาดูแผ่นไทยกันบ้างครับ

อีกแบบ เปลี่ยนจาก”หน้า”เป็น”SIDE”

อีกแบบเปลี่ยนสีก็ได้ครับ

ไว้โอกาสหน้าค่อยเจอกันใหม่นะครับ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะครับ

ลาเบลตราสุนทราภรณ์ที่ทำขายในประเทศลาว แต่ลองสังเกตุดูว่าชื่อเพลงกลับไม่ใช่เพลงของสุนทราภรณ์ซะนี่ กลับเป็นเพลง ของทูลทองใจไปซะงั้น อิอิ

บทความนี้ เขียนโดยคุณสมาชิก RiderPok จากเว็บไทยแกรมโมโฟน thaigramophone.com

เลเบลแผ่นเสียง และ ประวัติ London Classical ffrr/ffss Labelography (1949-1970s) โดย ลุงพง

แผ่นเสียงค่าย London ffrr เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจจากช่วงสงครามโลก  ที่สมัยนั้นเครื่อง Sonar ของทางการทหารไม่สามารถที่จะแยกแยะเรือดำน้ำของฝ่ายพันธมิตรหรือศัตรูออกจากกันได้  งานนี้จึงได้มอบหมายให้ Arthur Haddy  หัวหน้าวิศวกรของ  Decca. แห่งอังกฤษ เขาสามารถเพิ่มความถี่ของสัญญาณ sonar ไปได้ถึง 15000 cycles, ซึ่งไวพอที่จะสามารถแยกแยะชนิดเรือดำน้ำได้อย่างชัดเจน และยังได้รับมอบหมายให้ผลิตแผ่นเสียงสำหรับการสอนฝึกหัดปฎิบัติการด้วย ในการนี้ Haddy ต้องสร้างความถี่ 15000 cycles ลงใน  master discs ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนาเสียงที่ครอบคลุมความถี่ได้กว้างหรือ wide-range ffrr sound.

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง  Decca จึงมี technology ในการบันทึกความถี่ที่กว้างในเชิงพาณิชย์ ( wide-range commercial recordings.) ช่วงเริ่มแรกผลิตเป็นแผ่นครั่ง 78 RPM ผู้ฟังตื่นตลึงจากเสียงที่บรรเลงออกมาในอัลบัม Aram Khachaturian’s Concerto for Piano and Orchestra in D Flat Major with Moura Lympany, piano, and the London Symphony conducted by Anatole Fistoulari (Decca 1145/8).

แม้นว่า  English Decca (American London) ผลิตแผ่นครั่ง 78s หลังสฃครามโลก แต่แผ่นที่ผลิตมาก่อนหน้านี้ก็ใช้เท็คโนโลยี่เดียวกันมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นเสียงในยุค Monaural ที่สุดยอด (astonishing)

เลเบลแรก ใช้ในช่วงที่เริ่มแนะนำแผ่นเสียง London records ในปี 1949 ถึงปี 1950 พื้นฉลากเป็นสีแดงส้ม ตัวพิมพ์ทั้งหมดเป็นสีเงินออกทอง ผิวฉลากออกมันวาว และมีรูป logo เป็น ffrr-ear logo อยู่ในตำแหน่ง 12 น. โดยไม่มีการแสดงเครื่องหมายจดทะเบียน และมีคำว่า MADE IN ENGLAND พิมพ์อยู่ในแนวนอนเหนือรูกลางแผ่นเสียง มีข้อความ UNAUTHORIZED PUBLIC PERFORMANCE, BROADCASTING AND COPYING OF THIS RECORD PROHIBITED พิมพ์อยู่ที่ริมนอกต่มแนวโค้งของฉลากในตำแหน่งเริ่มจาก 8:30 น. ถึง 3:30 น. หมายเลขแผ่นจะนำหน้าด้วย LLP สำหรับ long play 12” และ LPS สำหรับแผ่น 10” หมายเลขเรียงลำดับจะตรงกันทั้งสองขนาด ฉลากนี้จะไม่มีร่องปั้มเป็นเส้นรอยลึกหรือที่เรียกว่า deepgroove แต่จะมีมีรอยปั้มวงกลมเล็กๆที่บุ๋มลงไปตรงกลางแผ่นเสียงห่างจากรูกลางแผ่นเสียง  3/8 นิ้ว โดยรอบ  ขอบแผ่นจะมนเรียว แผ่นรุ่นนี้มีเฉพาะ monaural เท่านั้นและบันทึกภายใต้มาตรฐาน equalization-curve. ปกแผ่นเสียงจะไม่มีข้อความพิมพ์ที่ขอบปก แต่จะพบคำว่า Printed in U.S.A. อยู่ตำแหน่งมุมล่างซ้ายของปกหลัง

Coates, Eric. The Dance of the Orange Blossoms. The Three Bears Suite. The Three Men Suite. New Symphony Orchestra. Eric Coates, conductor. London ffrr LPS 27-10″ (c1949). Recorded in Kingsway Hall.

c1949

เลเบลที่ 2. เลเบลนี้ใช้ในปี 1950 ถึงปี 1951. เหมือนรุ่นแรกแต่จะมีเครื่องหมายจดทะเบียน ® อยู่ซ้ายมือของ ffrr-ear logo ส่วนคำว่า MADE IN ENGLAND ย้ายตำแหน่งพิมพ์อยู่ที่ด้านใต้ฉลากในแนวนอน  หมายเลขแผ่นขึ้นต้นด้วยอักษร LLP ของแผ่น 12 นิ้ว และ  LPS สำหรับแผ่น10 นิ้ว (อย่างไรก็ตามยังมีพบอักษรนำหน้า LD ในบางเลเบล และ อักษร LLPA ใช้เฉพาะกับแผ่น Bizet/Carmen) 

Bach, J.C. Sinfonia for Double String Orchestra in E Flat, Op.18 No. 1. Schubert, Franz. Symphony No. 3 in D (c1815). Cincinnati Symphony. Thor Johnson, conductor. London ffrr LLP 405 (c1951). Recorded in Cincinnati Music Hall, Ohio.

c1951

แผ่นเลเบลที่ 3. นำมาใช้ในปี 1952 และ 1953. รูปแบบฉลากเหมือนกับเลเบลรุ่นที่ 2 แต่หมายเลขแผ่นนำหน้าด้วยอักษร LL สำหรับแผ่น 12 นิ้ว และ LS สำหรับแผ่น 10 นิ้ว (อย่างไรก็ตาม ยังมีใช้อักษรนำหน้าด้วย LLA เฉพาะกับแผ่น Debussy/Pelléas et Mélisandé ที่วางจำหน่าย) ลักษณะ vinyl และขอบแผ่นก็เหมือนเดิมและมีแต่ monoral เท่านั้น ปกก็เหมือนเดิม การเปลี่ยนอักษรนำหน้าลำดับเลขแผ่นจาก LLP เป็น LL พบในแผ่นลำดับท้ายๆของเลขที่ 400s. และยังพบถึงเลขที่ 512 อัลบั้ม: Greig, Edvard; Concerto for Piano and Orchestra in a, Op. 16; Clifford Curzon, piano; London Symphony; Anatole Fistoulari, conductor. และบางครั้งก็พบอักษรนำหน้า LL ในลำดับเลขที่แผ่น 300s. เช่น LL 320 ในอัลบั้ม Boccherini, Luigi; String Quartet in D, Op. 6 No. 1; Haydn, Franz Josef; String Quartet in E Flat, Op. 64 No. 6; New Italian Quartet.

Dvorak, Antonin. Concerto for ‘Cello and Orchestra in b, Op. 104 (c1894). Zara Nelsova, ‘cello. London Symphony. Joseph Krips, conductor. London ffrr LL 537 (c1952).

c1952

แผ่นเลเบลที่ 4. เลเบลนี้ใช้ในปี 1951. พื้นสีฉลากเป็น แดงนำตาล ตัวพิมพ์สีเงินทั้งหมด ผิวฉลากกึ่งมันกึ่งด้าน เครื่องหมาย ffrr-ear logo พร้อมเครื่องหมายจดทะเบียน ® อยู่ในตำแหน่ง 12:00 น. ข้อความ made in u.s.a. พิมพ์ในแนวนอนอยู่ขวามือบนของรูกลางแผ่นเสียง  และข้อความ UNAUTHORIZED PUBLIC PERFORMANCE, BROADCASTING AND COPYING OF THIS RECORD PROHIBITED พิมพ์อยู่ตามแนวล่างขอบฉลากในตำแหน่ง 8:30 น. ถึง 3:30 น.  ใช้อักษรนำหน้าเลขที่แผ่น LLP สำหรับ 12” และ LPS สำหรับ 10” หมายเลขเรียงลำดับอันเดียวกัน ริมขอบแผ่นจะบางคม แผ่นรุ่นนี้จะผลิตในอเมริกา และมีเฉพาะ monaural เท่านั้น 

Strauss, Johann. Egyptian Polka. Eljen a Magyar. Im Kapfenwald’L. Pizzicato Polka. Tales from the Vienna Woods. Train Polka. Strauss, Josef. The Dragon Fly. Jockey. Mein Lebenslauf ist Lieb und Lust. Vienna Philharmonic. Clemens Krauss, conductor. London ffrr LL 484 (c1951).

c1951

แผ่นเลเบลที่ 5. ใช้ในปี 1953 จนถึงปี 1955. พื้นฉลากจะเป็นสีส้มออกแดง ตัวพิมพ์เป็นสีเงินออกทอง ผิวมัน มีโลโก้  The ffrr-ear (พร้อมเครื่องหมายจดทะเบียนอยุ่ใต้ ffrr,) อยู่ในตำแหน่ง 12:00 น. ข้อความ MADE IN ENGLAND พิมพ์อยู่ใต้สุดของฉลากตรงกลางตามแนวโค้ง  และข้อความ All rights of the manufacture and the Owner of the recorded work reserved. Unauthorized public performance, broadcasting and copying of this record prohibited พิมพ์อยู่ที่ขอบฉลากในตำแหน่ง 10:00 น. ถึง 2:00 น. อักษรนำหน้าเลขที่แผ่นจะเป็น LL ในแผ่น 12 นิ้ว และ LS ในแผ่น 10 นิ้ว เรียงลำดับล้อกันเช่นเดิม มีปั้มร่องวงกลมห่างออกมาจากรูกลางแผ่นเสียง ¼ นิ้ว และปั้มร่องวงกลมรอบฉลากห่างจากขอบฉลาก 1/8 นิ้ว ขอบแผ่นมน  ขอบแผ่นรุ่นนี้จะมน มีเฉพาะ monaural เท่นั้น ตัวปกไม่มีพิมพ์ข้อความ แต่มีคำว่า Printed in U.S.A. พิมพ์อยู่ที่ด้านหลังปกที่ตำแหน่งมุมขวา 

Strauss, Richard. Don Quixote, Op. 35 (c1897). Pierre Fournier, ‘cello. Vienna Philharmonic. Clemens Krauss, conductor. London ffrr LL 855 (c1954).

c1953

Britten, Benjamin. A Ceremony of Carols, Op. 28 ( c1942). Copenhagen Boys Choir. Mogens Wöldike, director. Benjamin Britten, conductor. London ffrr LD 9102-10″ (c1954).

c1954

Mozart, Wolfgang Amadeus. Divertimento No. 11 in D, K. 251. Schubert, Franz. Five German Dances. Five Minuets. Stuttgart Chamber Orchestra. Karl Münchinger, conductor. London ffrr LL 1393 (c1956).

c1956

ในฤดูใบไม้ร่งในปี 1958 London นำแผ่นที่บันทึกแบบ ffss หรือ FULL FREQUENCY STEREOPHONIC SOUND  เข้าในตลาดสหรัฐอเมริกา

เลเบลรุ่นนี้เริ่มแนะนำสู่ตลาดในระบบ stereo ตั้งแต่ปี 1958 ถึง 1962. พื้นฉลากสีแดง ตัวพิมพ์สีเงินออกทอง ผิวฉบากกึ่งมันกึ่งด้าน มีโลโก้ ffss อยู่ภายใต้วงกลมที่มีข้อความ FULL FREQUENCY STEREOPHONIC SOUND ในตำแหน่ง 12:00 น. และคำว่า Made in England พิมพ์อยู่ด้านล่างฉลากตำแหน่งตรงกลางตามโค้ง ข้อความ ALL RIGHTS OF THE MANUFACTURE AND THE OWNER OF THE RECORDED WORK RESERVED UNAUTHORIZED PUBLIC PERFORMANCE BROADCASTING AND COPYING OF THIS RECORD PROHIBITED พิมพ์อยู่ตามโค้งของขอบฉลากในตำแหน่งจาก 9:00 น. ถึง 3:00. อักษรนำหน้าเลขแผ่นขึ้นต้นด้วย CS  มีปั้มร่องวงกลมห่างออกมาจากรูกลางแผ่นเสียง ¼ นิ้ว และปั้มร่องวงกลมรอบฉลากห่างจากขอบฉลาก 1/8 นิ้ว ขอบแผ่นมน รุ่นนี้บันทึกในระบบ stereo เท่านั้น 

Falla, Manuel de. El Retablo de Maese Pedro. Julita Bermejo, soprano. Carlos Munguia, tenor. Raimundo, Torres, baritone. National Orchestra of Spain. Concerto for Harpsichord, Flute, Oboe, Clarinet, Violin and ‘Cello.National Orchestra of Spain Soloists. Ataulfo Argenta, conductor. London ffss CS 6028 (c1958).

c1958

ส่วนเลเบลรุ่นนี้ออกมาในเวลาเดียวกันคือช่วงแนะนำแผ่นเสียงในระบบ stereo ปี 1958 ถึงปี 1962. แต่แตกต่างกันที่รอยปั้มร่องวงกลมห่างออกมาจากรูกลางแผ่นเสียง ¼ นิ้ว และปั้มร่องวงกลมรอบฉลากห่างจากขอบฉลาก 5/8 นิ้ว และขอบแผ่นจะบางคม

Frescobaldi, Girolamo and Giorgio Ghedini. Quattro Pezzi. Petrassi, Goffredo. Concerto for Orchestra No. 1. Orchestra of Accademia di Santa Cecilia, Rome. Fernando Previtali, conductor. London ffss CS 6112 (c1960).

c1960

Searle, Humphrey. Symphony No. 1. Seiber, Matyas. Elegy for Viola and Small Orchestra. Cecil Aronowitz, viola. London Symphony. Three Fragments for “A Portrait of an Artist as a Young Man.” Peter Pears, speaker. Dorian Singers. Melos Ensemble. Matyas Seiber, conductor. London ffss CS 6196 (c1961).

c1961

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

ประวัติ และ เลเบลแผ่นเสียง Dolton Records โดย ลุงพง

Dolton records กำเนิดขึ้นในปี 1959 โดย Bob Reisdorff ร่วมกับ Lou Lavinthal และ Bonnie Guitar เริ่มจากบริษัทเล็กๆที่ Seattle ในชื่อดั้งเดิมว่า Dolphin Records เลเบลแรกจะประกอบไปด้วยรูปปลาพร้อมชื่อของปลาโลมา “Dolphin” แต่ต่อมาไม่นานก็พบว่าชื่อนี้ไปซ้ำกับเลเบลแผ่นเสียงอื่น จึงได้รีบเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “Dolton” โดยที่รูปลักษณ์อื่นยังคงเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก อัลบัมแรกจึงยังคงมีเลเบลที่ใช้ชื่อ Dolphin อยู่เป็นซิงเกิลแรก “Come Softly to Me” โดยวง the Fleetwoods กลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก อัลบัมนี้จึงได้ทำขึ้นใหม่ในเลเบล Liberty 55188. เนื่องจากให้ Liberty เป็นผู้จัดจำหน่าย

วง Fleetwoods

Dolton ได้พยายามเสาะหาศิลปิน rock and roll ในท้องถิ่นย่าน Seattle และบริเวณใกล้เคียง นอกจากจะทำสัญญารับวง the Fleetwoods (จาก Olympia) เข้าในสังกัดแล้ว ยังรับวง the Ventures, the Frantics, และ Little Bill and the Bluenotes. พร้อมทั้งศิลปินเอก Bonnie Guitar แม้ว่าจะมีอัลบัมติด chart ไม่มากนัก นอกจาก Fleetwoods, the Ventures และ Vic Dana ก็นับว่าเป็นความสำเร็จของบริษัทเล็กๆ โดยเฉพาะ The Ventures กลายเป็นเสมือนสถาบันประจำค่าย Dolton เลยทีเดียว ได้มีอัลบัมแล้วอัลบัมเล่าที่ทะยอยติดอันดับยอดนิยมอยู่เนืองๆจนถึงปี 1970s ส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นที่บันทึกในระบบ Stereo

Vic Dana

ต้นปี 1960 จากข้อตกลงของสัญญาที่ให้ Liberty เป็นตัวแทนจำหน่าย มาในภายหลังกลับกลายเป็นขายให้แก่ Liberty ไป ฉะนั้น Dolton จึงกลายเป็นบริษัทในเครือของ Liberty ไป และต้องย้ายไปอยู่ที่ Los Angeles

วง the Ventures

ต่อมาในปี1967 Liberty ตัดสินใจเลิกใช้เลเบลนี้ แต่ยังคงใช้หมายเลขแผ่นเรียงตามเดิม สำหรับอัลบัมของ The Ventures และ Vic Dana ไปอีกกว่า 2 ปี และแล้วหลังจานั้น Liberty ก็ถูกซื้อกิจการไปโดย United Artists อัลบัมทั้งหมดของศิลปินจาก Dolton จึงออกมาในเลเบลของ UA.

หากมองย้อนกลับไป จะพบกับบางสิ่งที่น่าสนใจเรียกว่า “Guitar Phonics” ส่งผลให้เป็นอัลบัมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการใช้นิ้วดีดกีตาร์ด้วยทักษะมากกว่าการเล่นตามตัวโน้ท ในปี 1990 อัลบัมเกือบทั้งหมดของ the Ventures (รวมทั้งอัลบัม “Guitar Phonics”) ได้มีการทำขึ้นมาใหม่(reissue) ในรูปแบบของ CD.

เลเบล Dolphin No. 1

เลเบลแรกจะเป็นแผ่น Single ซึ่งในฉลากใช้ชื่อ Dolphin No. 1 (รูปด้านบน) มีสีฟ้าเป็นพื้นและตัวพิมพ์สีน้ำเงิน มีรูปปลาหลายตัวอยู่เหนือรูแผ่นเสียง มีอักษร “DOLPHIN” ตัวพิมพ์ใหญ่เรียงตามแนวตั้งและเส้นตรงตามแนวดิ่งอยู่ด้านซ้ายมือของฉลาก ต่อมาเปลี่ยนเป็น Liberty เป็นตัวแทนจำหน่าย (รูปขวามือ)หลังจากทราบว่าชื่อเดิมไปซ้ำกับค่ายอื่นที่มีใช้มาก่อน

ชื่อ “Dolphin” ได้ถูกแทนที่ด้วยชื่อ “Dolton” อย่างรวดเร็ว โดยมีรูปลักษณ์แบบเดิม และมีรายละเอียดที่อยู่พิมพ์อยู่ด้านล่างฉลากสำหรับเลเบลแรกๆ ปี 1959 (รูปบน) คือ 708 6th Avenue North, Seattle 9, Washington. ส่วนเลเบลในปี 1960 คือ 622 Union Street, Seattle 1, Washington.

แผ่น 12″ green มีตัว dolton ด้านบน

Dolton ยังได้ออกอัลบัม Single ชนิด Stereo ระหว่างปี 1959 ด้านซ้ายมือเป็นฉลากสีเขียวใช้สำหรับ Dolton S-22-3 เป็นอัลบัมระบบ Stereo คล้ายๆกับรูปแบบของเลเบลแรก แต่เปลี่ยนตำแหน่งชื่อ Dolton ไปอยู่ด้านบนเหนือรูแผ่นเสียง ส่วนด้านซ้ายมือไม่มีเส้นตรงดิ่งแต่เป็นบริเวณเฉดสีแทนและคำว่า STEREO มาแทนที่ขื่อ และรูปแบบนี้ก็ใช้กับอัลบัมยุคแรกๆ (รูปขวามือ) โดยระบบ stereo มีสีพื้นน้ำเงินเข้ม ส่วนระบบ Mono สีพื้นจะเป็นสีฟ้าแทน

สำหรับเลเบลรุ่นที่ 3 จะมีรูปปลาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลายเส้นขอบ อยู่ติดเหนือรูแผ่นเสียง ใน version Mono จะเป็นตัวพิมพ์สีน้ำเงินเข้มบนพื้นสีฟ้าอ่อนๆ (รูปซ้ายมือ) ส่วน version Stereo (รูปขวามือ) จะเป็นตัวพิมพ์เทาอ่อนบนพื้นเทาแก่ เลเบลรุ่นนี้ใช้ที่อยู่ของ Liberty Records ใน Los Angeles พิมพ์อยู่รอบขอบฉลากด้านล่าง

เมื่อ Dolton ถูกซื้อกิจการไปโดย Liberty จึงมีการเปลี่ยนรูปแบบฉลากอีกครั้งเป็นเลเบลรุ่นที่ 4 มีสีพื้นฉลากเป็นทั้งมีสีน้ำเงิน และน้ำเงินเข้ม มีรูปโลโก DOLTON หลากสีอยู่ซ้ายมือ มีข้อความตามแนวขอบล่างฉลากว่า “A Division of Liberty Records, Inc.” รูปแบบนี้ใช้ทั้ง version mono และ stereo เริ่มจาก catalog number 8015.

ส่วนเลเบลรุ่นที่ 5 ถูกใช้ในกลางปีถึงปลายปี 1960 เริ่มจาก catalog number 8036 มีพื้นฉลากสีดำอยู่บริเวณส่วนใหญ่และสีฟ้าอยู่ติดกันด้านซ้ายมือ รูปแบบฉลากรุ่นนี้จะคล้ายกับรูปแบบฉลากของบริษัทแม่คือ Liberty ในช่วงระยะเดียวกัน มีโลโกแบบใหม่รูปตัว “D” ขนาดใหญ่ และด้านใต้รูปตัว “D” มีข้อความ “Dolton, A Product of Liberty Records.”

อัลบัมหลังจากหมายเลข BST-8050 จะใช้เป็นเลเบลปกติของ Liberty โดยยังคงหมายเลขตามแบบเดิมของ Dolton

BLP-8001/BST-8001 – Mr. Blue – Fleetwoods [1959] Confidential/The Three Caballeros/Raindrops Teardrops/You Mean Everything To Me/Oh Lord Let It Be/Come Softly To Me//Serenade Of The Bells/Unchained Melody/We Belong Together/Come Go With Me/I Care So Much/Mr. Blue

BLP-8003/BST-8003 – Walk Don’t Run – Ventures [1960] (12-60, #11) Morgen (S)/Raunchy (S)/Home (S)/My Own True Love (Tara’s Theme) (S)/The Switch (S)/Walk Don’t Run (E)//Night Train (S)/ No Trespassing (E)/Caravan (S)/Sleep Walk (S)/The McCoy (S)/Honky Tonk (S)

BLP-8004/BST-8004 – The Ventures – Ventures [1961] (9-61, #105) The Shuck (S)/Detour (S)/Ram-Bunk-Shush (S)/Hawaiian War Chant (S)/Perfidia (S)/Harlem Nocturne (S)//Blue Tango (S)/Ups ‘N Downs (S)/Lonesome Road (S)/Torquay (S)/Wailin’ (S)/Moon Of Manakoora (S)

BLP-8007/BST-8007 – Deep in a Dream – Fleetwoods [1961] Lavender Blue/Poor Little Girl/Daddy’s Home/A Teenager In Love/Paradise Lost/Hey Little Tear//Little Girl Blue/Great Impostor/Lah-Dee-Dah/Blues Go Away/Lonely Cup Of Coffee/One Little Star

BLP-8017/BST-8017 – Going to the Ventures’ Dance Party – Ventures [1962] (11- 62, #93) Mr. Moto (S)/Theme From “Come September” (S)/Ya Ya Wobble (S)/Night Drive (S)/Venus (S)/The Intruder (S)//Gandy Dancer (S)/Sweet And Lovely (S)/Limbo Rock (S)/Lolita Ya-Ya (S)/Loco-Motion (S)/Gully-ver (S)

BLP-8019/BST-8019 – The Ventures Play Telstar, The Lonely Bull and Others – Ventures [1962] (1-63, #8) Telstar (S)/The Lonely Bull (S)/Mexico (S)/Calcutta (S)/Apache (S)/Never On Sunday (S)//Tequila (S)/Green Onions (S)/Percolator (S)/Red River Rock (S)/Let There Be Drums (S)/Last Night (S)

BLP-8024/BST-8024 – Let’s Go!! – Ventures [1963] (8-63, #30) Memphis (S)/Let’s Go (S)/More (S)/El Watusi (S)/Walk Right In (S)/Sukiyaki (S)//New Orleans (S)/So Fine (S)/Wipe Out (S)/Hot Pastrami (S)/Runaway (S)/Over The Mountain Across The Sea (S)

BLP-8027/BST-8027 – The Ventures in Space – Ventures [1963] (1-64, #27) Out Of Limits (S)/He Never Came Back (S)/Moon Child (S)/Fear (S)/Exploration In Terror (S)/War Of The Satellites (S)//The Bats (S)/Penetration (S)/Love Goddess Of Venus (S)/Solar Race (S)/The Fourth Dimension (S)/The Twilight Zone (S)

BLP-8029/BST-8029 – The Fabulous Ventures – Ventures [1964] (7-64, #32) Needles And Pins (S)/Runnin’ Wild (S)/Eleventh Hour (S)/The Cruel Sea (S)/Scratchin’ (S)/Tall Cool One (S)//Only The Young (S)/Journey To The Stars (S)/Fugitive (S)/Ravin’ Blue (S)/Walkin’ With Pluto (S)/The Pink Panther Theme (S)

BLP-8031/BST-8031 – Walk Don’t Run, Volume 2 – Ventures [1964] (10-64, #17) The House Of The Rising Sun (S)/Diamond Head (S)/Night Train ’64 (S)/Peach Fuzz (S)/Rap City (S)/Blue Star (S)//Walk Don’t Run ’64 (S)/Night Walk (S)/One Mint Julep (S)/Pedal Pusher (S)/The Creeper (S)/Stranger On The Shore (S)

BLP-8037/BST-8037 – The Ventures a Go-Go – Ventures [1965] (9-65, #16) Satisfaction (S)/Go-Go Slow (S)/ Louie Louie (S)/Night Stick (S)/La Bamba (S)/The “In” Crowd (S)//Wooly Bully (S)/A Go-Go Guitar (S)/A Go-Go Dancer (S)/The Swingin’ Creeper (S)/Whittier Blvd. (S)/I Like It Like That (S)

LRP-8052/LST-8052 – Super Psychedelics – Ventures [1967] (6-67, #69) Strawberry Fields Forever (S)/Psychedelic Venture (S)/Western Union (S)/Guitar Psychedelics (S)/Kandy Koncoction (S)/Reflections (S)//A Little Bit Me A Little Bit You (S)/Endless Dream (S)/Vibrations (S)/Psyched-Out (S)/1999 A.D. (S)/Happy Together (S)

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

Mercury A-10 Series (78rpm & 45rpm Albums) โดย ลุงพง

Mercury เริ่มออกอัลบั้มตั้งแต่ต้นปี 1946 อัลบั้มเหล่านี้กลายเป็น collection ของแผ่น singles 78rpm ซึ่งบรรจุในซองกระดาษเป็นเล่มหนังสือเหมือนอัลบั้มรูป

เริ่มแรกนั้นหมายเลขแผ่นเสียงจะขึ้นจ้นด้วยตัวอักษร  “A-” โดยเริ่มจาก A-10  ต่อมาในปี  1949  ได้มีการนำบางส่วนของอัลบัมแผ่น 78s มาทำสำเนาใหม่เป็น  45rpm ซึ่งก็ใช้หมายเลขขึ้นต้นด้วย “A-” เช่นกัน โดยเริ่มจากอัลบัม A-10 แต่จะต่อท้ายด้วย “x45” ตรงท้ายของเลชที่แผ่น โดยออกวางจำหน่ายในปี 1951และเรื่อยมาถึงปี 1952

มีอัลบัมจำนวนมากของแผ่น 78rpm และ 45rpm มาทำเป็นแผ่น 10-inch, 33-1/3rpm long play และกระทั่งเป็นแผ่น 12 นิ้ว LPs. แผ่น10 นิ้วในระหัส  MG-25000 (MG = “microgroove”) จะมีการบันทึกเพิ่มอีก 2 เพลงจากเดิม 6 เพลงเป็น 8 เพลง ส่วน 12 นิ้ว LPs ในระหัส MG-20000 ประกอบไปด้วย 12 เพลง 

Mercury Labelography 
(1949-1970s)

1. ที่เห็นนี้เป็นแผ่น 10″ MG 15000 และ 12″ MG 10000 LONG PLAYING MICROGROOVE Series. เลเบลนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 1949 จนถึงปี 1960. พื้นฉลากสีดำ ตัวพิมพ์สีขาวออกเหลืองในระยะแรก ต่อมาตัวพิมพ์เป็นสีเงิน

อัลบัมแรกใน series คือ

MG 10,000 Khachaturian, Aram. Concerto for Violin and Orchestra in D Major (1940). David Oistrakh, violin. USSR State Philharmonic Orchestra. Alexander Gauk, conductor. 12″ released October 1949. List price $4.85.

MG 15,000 Strauss, Richard. Don Juan, Op. 20 1888. Tchaikovsky, Peter Ilyich. 1812 Overture. Amsterdam Concertgebouw Orchestra. Willem Mengelberg, conductor. 10″ released October 1949. List price $3.85.

2. เลเบลต่อมาเป็น MG 50000 OLYMPIAN SERIES HIGH FIDELITY หรือ MICROGROOVE  ใช้ในปี  1951 จนถึงปี 1957 แรกสุดพื้นฉลากเป็นสีดำ ตัวพิมพ์ทั้งหมดเป็นสีเงิน รุ่นต่อมาในราวปี 1952 จะเป็นฉลากสีแดงน้ำหมากหรือ maroon-red label ตัวพิมพ์สีเงิน แบบดีไซน์จะแตกต่างเล็กน้อยตรงมีคำว่า HIGH FIDELITY จะพิมพ์แทนที่ในตำแหน่งของคำว่า  MICROGROOVE และมีข้อความ  Living Presence อยู่ด้านซ้ายของรูกลางแผ่นเสียง รุ่นนี้ได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในนาม  Mercury Living Presence label.

อัลบัมแรกใน series คือ:

MG 50,000 Mussorgsky, Modest. Pictures at an Exhibition. Chicago Symphony Orchestra. Rafael Kubelik, conductor. Recorded April 23­24, 1951; released November 1951. List price $5.95.

3. ต่อมาเป็นเลเบลระหัส MG 40000 GOLDEN LYRE SERIES. ใช้ในปี 1952 จนถึงปี 1957. พื้นฉลากรุ่นนี้สีทอง และตัวพิมพ์ทั้งหมดสีแดง

อัลบัมแรกใน MG 40000 GOLDEN LYRE SERIES คือ:

MG 40,000 Hanson, Howard. Songs from Drum Taps Op. 32 (1935). Thompson, Randall. Testament of Freedom (1943). Eastman Symphony Orchestra. Howard Hanson, conductor. Released November 1952, it became MG 50073 in February 1957. List price $4.98.

4. เลเบลรุ่นต่อมาเป็น MG 90000 TONO SERIES. นำมาใช้ระหว่างปี 1955 และ 1960. สีพื้นฟ้าอ่อน ส่วนตัวพิมพ์ทั้งหมดสีดำ

5. ส่วนรุ่นนี้เป็น MG 80000 CUSTOM FIDELITY SERIES. ใช้ระหว่างปี 1955 และ 1957. พื้นฉลากสีแดงสด ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีดำ เลเบลชุดนี้ทำมาเฉพาะกับดนตรี chamber music. ในปี 1957 ระหัสนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ MG 50,000 OLYMPIAN LIVING PRESENCE series.

อัลบัมแรกใน series คือ:

MG 80,000 Bartok, Bela. Sonata No. 2 for Violin and Piano (1922). Ravel, Maurice. Sonata for Violin and Piano (1923­27). Rafael Druian, violin. John Simms, piano. Released February 1955; in January 1957 it became MG 50089.

6. เลเบลในชุด MG 50000 OLYMPIAN SERIES LIVING PRESENCE. เป็นชุดที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมมาในภายหลัง โดยมีคำว่า LIVING PRESENCE มาแทนที่ LONG PLAYING เลเบลนี้ถูกใช้ในปี 1957 จนกระทั่งเลิกใช้ไปเมื่อหยุดการบันทึกแบบ monaural  ในปี 1969. พื้นเลเบลเป็นสีแดงน้ำหมากหรือ deep maroon-red ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีเงิน  แต่ยังมีเลเบลต่อมาของยุคนี้โดยมีพื้นฉลากสีออกน้ำตาลแดงอ่อน ซึ่งคุณภาพไม่ดี มักจะมีเสียงรบกวนจากผิวแผ่น

7. มาถึงเลเบลชุด SR 90000 STEREO LIVING PRESENCE Series. ใช้ในปี 1958 จนกระทั่งถึงปี 1969. พื้นเลเบลเป็นสีแดงน้ำหมากหรือ deep maroon-red ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีเงิน  แต่ยังมีเลเบลต่อมาของยุคนี้โดยมีพื้นฉลากสีออกน้ำตาลแดงอ่อน ซึ่งคุณภาพไม่ดี มักจะมีเสียงรบกวนจากผิวแผ่น

อัลบัมแรกใน series คือ:

SR3 9,000 Cherubini, Luigi. Medea. Maria Callas, Mirto Picchi, Renata Scotto, Giuseppe Modesti, Mirium Pirazzini, Lidia Marimpietri, Elvira Galassi, Alfredo Giacommotti, soloists. Orchestra and Chorus of La Scala. Norberto Mola, director. Tullio Serafin, conductor. Released November 1958.

SR 90,001 Bizet, Georges. Carmen Suite. L’Arlesienne Suite (1872). Detroit Symphony. Paul Paray, conductor. Released November 1958. List price $5.95.

8. เลเบลชุด SR 90000 STEREO LIVING PRESENCE VENDOR MERCURY RECORD CORPORATION Series. ใช้ในช่วงสั้นๆระหว่างต้นปี 1960s ถึงปลายปี พื้นเลเบลเป็นสีแดงน้ำหมากหรือ deep maroon-red ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีเงิน  แต่ยังมีเลเบลต่อมาของยุคนี้โดยมีพื้นฉลากสีออกน้ำตาลแดงอ่อน ออกมาในกลางปี 1960 ซึ่งคุณภาพไม่ดี มักจะมีเสียงรบกวนจากผิวแผ่น ในยุคนี้ส่วนใหญ่ก็เป็ฯแผ่นทำใหม่จาก Remastering

http://ronpenndorf.com/images/strv2.gif

9. เลเบลนี้เป็น SR 90000 STEREO LIVING PRESENCE BROADCAST Series. ใช้ในปี 1958 ถึงปลายปี 1960s. โดยมีข้อความพิมพ์ว่า VENDOR MERCURY RECORD CORPORATION  เลเบลช่วงแรกพื้นสีทอง ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีดำ เลเบลต่อมาจะมีสีพื้น น้ำเงินออกเขียวด้วยตัวพิมพ์สีเงิน หรือพื้นเป็นสีขาวหรือเหลืองด้วยตัวพิมพ์สีดำ ในทุกสีดังกล่าวจะมีข้อความ FOR BROADCAST ONLY NOT FOR SALE อยู่ใต้หมายเลขแผ่นแต่อยู่เหนือรูป Mercury’s head. โดยส่วนมากคุณภาพเสียงเหนือกว่าทั่วไป.

10. ยุคต่อมาก็เป็น LIVING PRESENCE BROADCAST OVAL LOGO Series. จะมีรูปเครื่องหมาย Mercury อยู่ภายในวงรี โดยทั่วไปเลเบลยุคนี้เป็น stereo. ใช้ในต้นปี 1960s จนถึงปลายปี สีพื้นจะเป็นสีขาวหรือสีทอง หรือเหลืองซีด, น้ำเงินซีด, เขียวซีด,หรือชมพู ด้วยตัวพิมพ์สีดำ  โดยมีข้อความต่างๆเช่น  FOR BROADCAST ONLY · NOT FOR SALE · MERCURY RECORD CORP. · CHICAGO, ILL. · U.S.A. หรือ FOR BROADCAST ONLY · NOT FOR SALE · VENDOR MERCURY RECORD CORPORATION หรือ FOR BROADCAST ONLY · NOT FOR SALE พิมพ์อยู่ทางด้านซ้ายติดกับข้อความ MERCURY RECORD CORPORATION ที่อยู่ด้านขวา สำหรับแผ่น Monaural จะไม่คำว่า STEREO พิมพ์อยู่ใต้ โลโก้

สนใจหาแผ่นเสียงมือสอง Mercury? ลองดูในบอร์ดซื้อขายแผ่นเสียงที่นี่

บทสรุป

แผ่นเสียงคลาสสิกของ Mercury Stereo Living Presence classical records เป็นตัวอย่างสะท้อนถึงยุคทองของการทำแผ่นเสียงในปี 1950s ถึง 60s  ที่คุณภาพในการบันทึกให้เสียงสมจริงจากการวง concert ได้อย่างดี จากแผ่นเสียงยุคเลเบล SR 90,000 series ซึ่งเป็น stereo ในปี 1958 ถึงปี 1970s. แต่น่าเสียดายที่ในช่วงปี 1958 ถึง 1960  คุณภาพตัวพิมพ์ไม่คงที่ มีทั้งดีและทั้งเสียงรบกวนจากผิวแผ่นก็มาก ซึ่งน่าจะมาจากเนื้อใน vinyl ไม่ดีและตัวแม่ปั้ม stampers สกปรกหรือแตกร้าว

แผ่นที่คุณภาพยอดเยี่ยมเป็นที่ต้องการซึ่งอยู่ในปี 1958 ถึง 1960  เป็นแผ่นที่หนักและค่อนข้างแข็ง code ผลิตแผ่น(matrix information) ที่อยู่ระหว่าง ร่องแผ่นเสียงแทร๊กสุดท้ายกับเลเบล)จะเป็นตัวพิมพ์ลงพสาสติก ไม่ใช่ตัวแกะสลัก อักษรนำหน้าเลขที่แผ่นจะเป็นระหัส FR และต้องไม่ใช่  RFR หรือ CTFR. หมายเลขลำดับต่ำ ตัวปกแผ่นเสียงทำด้วยกระดาษแข็งหนาพิเศษ ปกหน้ามันวาวจากฟิลม์ที่เคลือบไว้ ส่วนด้านหลังปกพื้นที่ประมาณ 20% ทางมุมขวาจะเป็นรูปสี เรียกว่า color back โดยเฉพาะเป็นอัลบัมชุดในปี 1960 อยู่ในช่วงลำดับหมายเลข  SR 90200 range.

ช่วงระหว่างตั้งแต่ปี 1958 ที่มีการแนะนำแผ่น Stereo ออกสู่ตลาด จนถึงปี 1960   นั้น RCA Victor ได้รับจ้างผลิตแผ่น Mercury Living Presence records  โดยเป็น stamped  อักษรนำหน้าเลขที่เป็น FR ตามด้วยตัวเลข mastering number, stamped record number และ mother indicator, อย่างเช่น  A1 หรือ B1, และระหัสระบุสถานที่ผลิตด้วยอักษร I. แผ่นเหล่านี้จะเป็นแผ่นที่มีคุณภาพดี

ในช่วงกลางปี 1960s Columbia บริษั้ทแผ่นเสียงชั้นนำอีกแห่งหนึ่งของอเมริกาก็เข้ามาเป็นผู้ผลิตให้กับ  Mercury records บ้าง แผ่นอัลบัมเหล่านี้จะมีสลักระหัส  CBFR, CTFR หรือ CCFR นำหน้าตามด้วย mastering number และเลขที่แผ่น (record number). แผ่นเหล่านี้มีปัญหาเช่นเดียวกับที่พบในการผลิตแผ่น Columbia Masterworks’ pressings. มีเสียงรบกวน (surface noise ) จำนวนมาก สาเหตุมาจาก vinyl ที่มีคุณภาพต่ำ และหยาบ

Columbia ยังเป็นผู้ผลิตแผ่นในช่วงสุดท้ายให้กับ Mercury records. ซึ่งแผ่นเหล่านี้จะมี ระหัสตัวอักษรที่เป็นตัวอักษรชนิดเดียวกันและขนาดเดียวกันกับที่ใช้ในการระบุแผ่นของ Columbia เอง โดยชุดนี้จะมีระหัสอักษร  “M –“ และตามด้วยหมายเลขแผ่น เป็นแผ่นที่ให้เสียงทึบ  

ระหัสโรงงานหรือ manufacturing codes บนแผ่น Mercury ชุด Vendor Labels จะเป็นระหัสเดียวกับแผ่นธรรมดาของ Mercury เอง เพราะผลิตจาก  master และ stamper เดียวกัน  ฉลากเหล่านี้ถูกใช้ในช่วงเปลี่ยนถ่ายเจ้าของจากการเข้าซื้อกิจการของ Mercury Record Co. โดย Philips Corp. ในปี 1962

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

ประวัติ และ เลเบลแผ่นเสียง Atlantic Records โดย ลุงพง

ประวัติ The Atlantic Records

ผู้ร่วมก่อตั้ง Atlantic ขึ้นในปี 1947 ที่นคร New York คือ Ahmet Ertegun และ Herb Abramson และมีบริษัทในเครือคือ Atco และ Cotillion นอกนั้นยังมี Clarion ใช้เป็น label ของแผ่นเสียงราคาถูก แนวเพลงของค่ายนี้จะเป็น rhythm and blues, jazz, blues, country and western, rock and roll, gospel, และ comedy

Ahmet Ertegun เกิดเมื่อปี 1923 ที่ตุรกีและย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเมื่ออายุได้ 11 ปี โดยตามมากับบิดาที่ถูกแต่งตั้งเป็นทูตประจำที่นี่ เขาหลงใหลในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะดนตรี และได้ร่วมกับพี่ชายสะสมแผ่นแจ๊สและบลูส์ในยุคปี ’78 กว่า 15,000 แผ่น

Ahmet เข้าเรียนวิชาปรัชญาที่ St. Johns College จนกระทั่งจบปริญญาโท และทำงานที่ Georgetown ใน Washington, DC. เมื่อบิดาเสียชีวิตในปี 1944  แม่ และ พี่สาวก็กลับไปตุรกี พี่ชายย้ายไปอยู่ California  ส่วนตัวเขายังอยู่ที่ Washington ป้วนเปี้ยนอยู่แถวร้านขายแผ่นเสียง Waxie Maxie กระหายที่จะเรียนรู้ธุรกิจการทำแผ่นเสียงอยู่ตลอดเวลา

Herb Abramson เกิดในปี 1917 เข้าเรียน high school ที่ Brooklyn เป็นนักสะสมแผ่น jazz และ blues ตัวยงอีกผู้หนึ่ง เขามีโอกาสได้ทำงาน part time ผลิตแผ่นเสียงให้กับ National Records ในขณะที่กำลังศึกษาทันตแพทย์อยู่ในมหาวิทยาลัย New York University เนื่องจากเป็นคนที่มีพื้นฐานของดนตรี jazz เขาจึงเริ่มจาก มองหาและปั้นศิลปินประเภทนี้ขึ้นมา ซึ่งมี Joe Turner และ Pete Johnson

เขาติดต่อเซ็นสัญญารับ Billy Eckstine ให้เข้าอยู่ในสังกัดของ National label และ ได้สร้างเพลง 2 เพลงเป็นเพลงฮิต ชื่อ “Prisoner of Love” และ “Cottage for Sale” นอกจากนั้นยังได้ปั้นดาวตลกผิวสีชื่อ Dusty Fletcher จนมีเพลงที่ฮิตคือ “Open the Door Richard” หลังจากที่อยู่กับค่าย National ได้ 2 ปี ก็ย้ายไปอยู่กับ Jubilee Record label ในเดือน พฤษภาคม ปี1946 แต่อยู่ได้แค่ช่วงสั้น ๆ ก็มีปัญหากับหุ้นส่วนใหม่ของที่นี่ ในที่สุดจึงลาออกมาในปี 1947

ส่วน Ahmet Ertegun ตัดสินใจที่จะเข้าไปทำธุรกิจผลิตแผ่นเสียง เขามองหาผู้ที่มีความรู้ทางด้านนี้มาร่วมงาน นึกถึง Herb Abramson จึงเดินทางไปพบที่ New York (Herb มีภรรยาแล้วชื่อ Miriam) ต่อมาในเดือนตุลาคมปี 1947 Ahmet และ Herb ได้ร่วมกันก่อตั้ง Atlantic Records ด้วยเงินทุนของทันตแพทย์ชาวเตอรกีชื่อ Dr. Vahdi Sabit  โดยมี Herb Abramson เป็นประธานบริษัท ส่วน Ahmet Ertegun เป็นรองประธาน

ค่อนข้างโชคดีที่นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เจ้าของเงินทุนไม่เคยกดดันให้ผู้ก่อตั้งทั้งคู่ต้องรีบทำกำไรนำเงินมาคืนให้ (ซึ่งแตกต่างกับบริษัทอื่น) Herb และ Ahmet จึงมีความเป็นอิสระที่จะคัดสรรนักดนตรีและศิลปินที่ดีในอุดมคติได้ เขาไม่เคยเอารัดเอาเปรียบศิลปินเหมือนที่หลายค่ายอิสระทำกัน เขารับผิดชอบ ซื่อตรงและให้เกียรติศิลปิน ด้วยเหตุนี้นี่เองเป็นผลให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ศิลปินที่มีพรสวรรค์ต่างก็ตั้งใจที่อยากจะสร้างผลงานและมาอยู่สังกัดนี้นาน ๆ

ในระยะเริ่มแรก ศิลปินในสังกัดต่างมาจากที่ต่าง ๆกัน มีทั้ง Stan Kenton band members Art Pepper, Shelly Manne, และ Pete Rugolo, มือกีต้าร์ : Tiny Grimes  นักร้อง เช่น the Delta Rhythm Boys, the Clovers, และ the Cardinals, Ruth Brown (นักร้อง rhythm & blues), Stick McGhee และ Joe Turner นักเปียโน  Erroll Garner และ Mal Waldron  ศิลปิน progressive jazz มี Howard McGhee, James Moody และ Dizzy Gillespie, นักร้องเพลงแจ๊ซ  Jackie & Roy และ Sarah Vaughan, นักร้องเพลง blues ก็มี Leadbelly และ Sonny Terry, และยังมีกลุ่มนักร้องตามคาเฟ่ คือ Mabel Mercer, Sylvia Syms และ Bobby Short  นอกจากจะมีศิลปินดีเป็นที่ประทับใจมาอยู่ในสังกัดด้วยแล้ว Atlantic ยังมีรายได้ส่วนใหญ่จากการออกจำหน่ายเพลง rhythm and blues ที่บันทึกจาก Joe Turner (เช่น “Chains of Love,” “Honey Hush,” “TV Mama”) และที่บันทึกจาก Ruth Brown (เช่น “So Long,” “Teardrops From My Eyes,” “I’ll Wait for You”)

Atlantic ยังเป็นค่ายแรกที่บันทึกเพลงของ Professor Longhair ตำนานนักเล่นเปียโนจาก New Orleans เพลง “Fess” เป็นหนึ่งในเพลงทั้งหลายที่อยู่ในชุดแรกที่ Atlantic ทำการบันทึก คือ ชุด “Mardi Gras in New Orleans” ได้กลายเป็นเพลงประจำของงาน Mardi Gras ไป

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ ปี 1949, Atlantic ออกเพลง “Drinkin’ Wine Spo- Dee-O-Dee” โดย Stick McGhee ผู้มีชื่อเสียงในแนวเพลง blues กลายเป็นเพลงฮิตสุด ๆ และติดตามมาด้วยเพลง “Anytime, Anyplace, Anywhere” ของ Laurie Tate and Joe Morris’ ขึ้นติดอันดับหนึ่ง ในเดือน ตุลาคม ปี 1950  ต่อมาในปี 1951 Ahmet แต่งเพลง “Don’t You Know I Love You” ให้กับ Clovers  ซึ่งก็ฮิตติดอันดับหนึ่งเช่นกัน ส่วน Ruth Brown เป็นคนที่ 3 ที่ทำให้ติด #1 R&B ด้วยเพลง “5-10-15 Hours” ในปี 1952

Atlantic เป็นบริษัทต้น ๆที่ได้ก้าวเข้ามาทำธุรกิจแผ่นเสียง long play ชนิด 33 1/3 rpm ออกอัลบั้มแรกเมื่อเดือนมีนาคม ปี 1949  Ahmet รู้ดีว่ามีโอกาสน้อยนักที่อัลบั้ม rhythm and blues จะประสบความสำเร็จได้ ในขณะที่เพลงประเภทเดียวกันแผ่นเสียงระบบ 78 rpm ยังคงครองใจผู้ฟังอยู่ ฉะนั้นในการออกอัลบั้มเพื่อชิงตลาดครั้งแรกจึงเริ่มด้วยอัลบั้มเสียงอ่านบทกวีก่อน เริ่มจาก Walter Benton’s This Is My Beloved

ในปี1953 Herb Abramson ถูกเกณฑ์ไปประจำการเป็นทหาร จึงรับผู้มาช่วยงานคือ Jerry Wexler เป็นชาวนิวยอร์ค เขาหลงไหลดนตรีของพวกผิวดำ เข้ามาทำงานในตำแหน่ง producer และเป็นรองประธานบริษัทด้วย รับผิดชอบหน้าที่ผลิตผลงานเพลง rhythm and blues เพื่อออกจำหน่ายให้แก่ชาวผิวดำโดยเฉพาะ

ในปีเดียวกัน Ahmet Ertegun สนใจเสียงร้องของ Clyde McPhatter จึงดั้งด้นไปหาและเซ็นสัญญารับเข้าสังกัด

Ahmet ให้เขาหาคนมาฝึกซ้อมตั้งวงดนตรี และตั้งชื่อวงว่า the Drifters เปิดตัววางจำหน่ายเพลงชุดแรก “Money Honey” ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเดือนกุมภาพันธุ์ ปี 1953

ในเดือน พฤษภาคม ปี 1954  Atlantic ออกเพลง “Shake, Rattle and Roll” โดย Big Joe Turner เป็นเพลงสุดยอดฮิตในยุค Rock and Roll เลยทีเดียว

Ray Charles เข้ามาอยู่ในสังกัดของ Atlantic Records เมื่อปี1952 อัลบั้มแรกที่ออกคือ “Roll With My Baby” เป็นเพลงที่พอจะฮิตบ้าง โดยพื้นฐานแล้วสไตล์การร้องเดิมของ Ray Charles จะเหมือนกับ Charles Brown และ Nat King Cole ผสมกัน จนกระทั่งเมื่อเดือนพฤษจิกายน ปี 1954 Jerry Wexler ได้ไปฟังวงใหม่ที่ Ray Charles ฟอร์มขึ้นมา ทันทีที่ได้ฟังเขาก็ตัดสินใจนำพาวงใหม่นี้ไปบันทึกเพลง “I Got a Woman” ที่ the Georgia Tech radio station ทันที นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของสไตล์การขับร้องแบบเพลงสวดแนวใหม่เป็นครั้งแรก เพลงนี้ก็กลายเป็นเพลงที่ Ray Charles ติด smash hit เป็นครั้งแรกเช่นกัน

ในปี 1955 Atlantic ได้ Nesuhi Ertegun ผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องแจ๊ซ มาร่วมงาน รับผิดชอบการพัฒนาอัลบั้มแจ๊ซ เขาได้ทำอัลบั้มด้วยวัสดุที่มีคุณภาพสูงทั้งการบันทึกลงแผ่นไวนิลที่มีความหนาพิเศษและซองบรรจุระดับเกรดสูงทั้งสิ้น ค่ายอิสระอื่นต่างก็ไม่สามารถจะลงทุนสูงได้แบบนี้ จึงมาแข่งขันด้วยไม่ได้ นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ที่นำศิลปินแจ๊ซมาร่วมด้วยมากมาย รวมทั้ง Shorty Rogers, Jimmy Giuffre, Herbie Mann และ Les McCann

สองปีต่อมา  Herb Abramson จบสิ้นประจำการในกองทัพ กลับมาทำงานที่บริษัท Atlantic พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยมี Jerry Wexler เข้ามาทำหน้าที่ตำแหน่งแทนเขา และสร้างความเจริญเติบโตให้กับบริษัท จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะให้เขาออกจากบริษัท  Herb จึงตัดสินใจตั้งบริษัทในเครือขึ้นมาใหม่บริหารเองชื่อว่า Atco (มาจาก ATlantic COmpany)

ในปี 1957 เมื่อเทคโนโลยีการบันทึกเสียงแบบ Stereo เกิดขึ้น Atlantic ก็เป็นหนึ่งในบรรดาบริษัทแรก ๆ ที่บันทึกออกแผ่นเสียงในระบบสเตอริโอ โดยบันทึกลง multitrack tapes พร้อม ๆกับบันทึกแบบ mono ลงแผ่นในเวลาเดียวกัน แผ่นในระบบสเตอริโอที่ฮิตในระยะแรกๆเช่นเพลง “Lover’s Question” โดย Clyde McPhatter  เพลง “What Am I Living For” โดย Chuck Willis  เพลง “I Cried a Tear” โดย LaVern Baker  เพลง “Splish Splash” โดย Bobby Darin  เพลง “Yakety Yak” โดย the Coasters  เพลง “What’d I Say” โดย Ray Charles และยังมีอื่น ๆอีก แต่เพลงระบบสเตอริโอเหล่านี้ยังไม่มีการเปิดตัวออกจำหน่าย(จำหน่ายแต่ mono)

จนกระทั่งในปี 1968  ได้จำหน่ายอัลบั้มสเตอริโอแรกออกไป ชื่อ History of Rhythm and Blues, Volume 4 [Atlantic SD-8164] ผลปรากฎว่าประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อ อัลบั้มสเตอริโอจึงได้ทะยอยออกจำหน่าย นับตั้งแต่บัดนั้น

Atco กำลังไปได้ดีด้วยศิลปินในสังกัดอย่าง the Coasters and Bobby Darin แต่ก็เกิดปัญหาระหว่างหุ้นส่วนใน Atlantic เมื่อ Ahmet Ertegun ขึ้นนั่งเป็นประธานบริษัทแทน Herb เกิดการแตกแยกระหว่าง Ahmet Ertegun และ Herb Abramson สุดท้ายตกลงกันโดย Atlantic จ่ายเงิน $300,000 ให้แก่ Herb ซึ่งเป็นหุ้นส่วนและผู้ลงทุนแรกเริ่ม ให้ลาออกไปในเดือน ธันวาคม ปี 1958

เหลือ Ahmet Ertegun, Jerry Wexler และ Nesuhi Ertegun ยังคงบริหารกิจการต่อไป

ในช่วงปลายปี 1950 Atlantic กลายเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในตลาดวัยรุ่นของชนผิวขาวจากวง the Drifters, Clyde McPhatter, Joe Turner, LaVern Baker, Ruth Brown, Ray Charles, และ the Coasters

ในปี 1960 Wexler เซ็นสัญญาซื้อลิขสิทธิ์ของ Satellite บริษัทแผ่นเสียงเล็ก ๆที่เมือง Memphisของ Jim Stewart เป็นเงิน $5000 ได้แผ่นเสียงที่ผลิตเสร็จแล้ว เพลง “Cause I Love You” ซึ่งร้องโดย Carla Thomas มาจำหน่ายรวมทั้งเพลง “Gee Whiz”  ในเวลาต่อมาได้ขึ้นชาร์ทติดอันดับ 5 ของ Billboard ไม่นานจึงเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Satellite เป็น Stax ทำการปรับปรุงและเพิ่มอุปกรณ์ให้เป็นห้องอัดและผลิตแผ่นเสียงที่มีคุณภาพสูง ในเวลาต่อมาได้ผลิตผลงานของ Atlantic label

ในปี 1961 Atlantic ได้ Solomon Burke นักร้องประเภท country and western เข้ามาอยู่ในสังกัด และได้ผลิตเพลง “Just Out of Reach” เป็นเพลงฮิตมากในเดือนพฤษจิกายน ปีเดียวกัน หลังจากนั้นได้ผลิตเพลงติดตลาดทำยอดขายได้ดีทยอยออกมาเรื่อย ๆให้กับ Atlantic จนกระทั่งถึงปี 1968

ในปี 1964 Wexler ได้ Wilson Pickett มาอยู่ในสังกัด และได้ทำอัลบั้มแปลกใหม่ขึ้นมาโดยใช้ Stax studios เป็นห้องอัด ให้ Wilson Pickett ร่วมกับ Steve Cropper ซึ่งเป็นมือกีต้าร์และเป็นโปรดิวเซอร์ของ Stax แต่งเพลงสื่อถึงบรรยากาศของโรงแรมที่มีขวดเหล้า Jack Daniels whiskey ได้ผลงานออกมาคือเพลง “In the Midnight Hour” เป็นเพลงที่ฮิตมาก และ Wilson Pickett ยังคงทำงานสร้างผลงานระดับติดตลาดให้กับ Atlantic จนถึงปี 1972

นอกจากนั้น Wexler ยังได้ Aretha Franklin นักร้องสาวที่มีพรสวรรค์มาร่วมงานด้วย ในปี 1967 เพลงแรกที่ได้บันทึกคือ “I Never Loved a Man (The Way I Love You)” นั้น ติดตลาดทันทีอย่างน่าอัศจรรย์ ติดตามมาด้วยเพลง “Respect”, “A Natural Woman”, “Chain of Fools” และอีกมากมายหลายเพลง ตามกันมาเป็นพรวนจนได้รับฉายาว่า “Queen of Soul”

ในขณะเดียวกัน Ahmet Ertegun ก็ผลักดันให้ Atlantic เข้าสู่วงการร๊อค โดยในปี 1965 เขาได้รับนักร้องที่เป็นสามีภรรยานิรนามคู่หนึ่งร้องคู่กันใช้ชื่อเดิมว่า Caesar and Cleo เขาเปลี่ยนนักร้องเสียใหม่ เป็น Sonny and Cher เพลงของนักร้องคู่นี้ ไต่ระดับขึ้นเป็นอันดับหนึ่งแห่งปีด้วยเพลง “I Got You Babe” ติดตามมาด้วยเพลงดัง ๆอีกมากมาย

Ahmet ยังให้ความสำคัญต่อนักร้องอังกฤษ เขาจึงได้เซ็นสัญญากับศิลปินเหล่านี้ เช่น Cream, King Crimson, และ Bee Gees. ต่อมาก็รับวงดนตรีจากอักฤษ ชื่อ Led Zeppelin เข้ามาอยู่ในสังกัด ทำให้เขาประสบความสำเร็จอย่างสูง และยังได้ทำสัญญาตกลงกับวงดนตรี Rolling Stones โดยยินยอมให้เพลงยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของ Rolling Stones ส่วน Atlantic เป็นผู้จัดจำหน่าย

ในปี 1966, Nesuhi และ Wexler ไป Long Island เพื่อชมการแสดงของวงดนตรี Young Rascals(ต่อมาเรียกว่า Rascals อย่างเดียว) เขาทั้งคู่ประทับใจมาก ถึงกับรีบเซ็นสัญญารับเข้ามาในสังกัดและได้ออกอัลบั้มเพลงที่กลายเป็นเพลงอัมตะ “Groovin”, และอีกหลายเพลง ในปีเดียวกันนี้ยังได้เซ็นสัญญากับ Buffalo Springfield ออกอัลบั้มหลายเพลงภายใต้ Atco lable พลงที่ฮิตมาก คือ “For What It’s Worth”

ในปี 1967 Atlantic ได้รับการทาบทามขอซื้อจาก Warner Seven Arts Corporation โดยเสนอให้หุ้นของ Warner มูลค่า $17,000,000 แก่ Ahmet, Jerry และ Nesuhi ขณะที่ยังคงให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสของ Atlantic โดยรับค่าจ้างเป็นเงินเดือนในอัตราที่สูงอีกด้วย ทั้ง 3 จึงตกลงขายให้ ฉะนั้น Atlantic/Atco Records รวมทั้ง Warner Brothers/Reprise Records จึงอยู่ภายใต้ปีกการบริหารของ Warner-Seven Arts Corporation ตั้งแต่บัดนั้น

ในปี 1969 Ahmet ได้เกลี้ยกล่อมให้ David Geffen นำวง Crosby, Stills and Nash มาสังกัด Atlantic และ David ก็ประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มแรก โดยใช้เลเบล Asylum Record Label ภายใต้ปีกของ Warner-Elektra-Atlantic (WEA)  ในเวลาต่อมาเป็น Geffen Records

ภายใต้องค์กร Warner-Seven Arts, Atlantic และ Warner-Reprise ต่างก็บริหารจัดการแยกเป็นอิสระจากกัน จนกระทั่งถูกซื้อไปโดย Kinney Corporation ในปี 1969 อย่างไรก็ตาม Ahmet Ertegun ยังคงได้รับความไว้วางใจให้บริหารงานต่อไป และได้รับมอบหมายให้ร่วมกับประธานและผู้อำนวยการของ Warner Brothers Records ดูแลธุรกิจด้านต่างประเทศ เขาได้แนะนำให้ Kinney ซื้อกิจการ Elektra Record Company และแยกกันควบคุมดูแลการจำหน่ายตามย่านหลักกๆของสหรัฐอเมริกา เหตุผลที่ Kinney (ซึ่งต่อมากลายเป็น Warner Communications) ประสบความสำเร็จในธุรกิจแผ่นเสียงทั้ง ๆที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็เนื่องมาจากช่วงเวลานั้น เกิดการแตกแยกของกลุ่มต่าง ๆในวงการอย่างแสนสาหัส (ตัวอย่างเช่น Gulf+Western กับ Stax และ Dot, Transamerica กับ Liberty และ United Artists) กอร์ปกับยังคงให้ความไว้วางใจต่อบุคคลที่ทรงคุณค่าอย่าง Ahmet Ertegun ใน Atlantic, Jac Holtzman ใน Elektra, และ Mo Ostin กับ Joe Smith ใน Warner Brothers ให้พวกเขายังคงดำเนินการบริหารตามความถนัดต่อไปนั่นเอง ส่วน Warner Communications เป็นเพียงผู้ลงทุนและจัดจำหน่าย

Atlantic ยังคงบริหารต่อมาถึงทุกวันนี้ภายใต้องค์กรของ Time-Warner เป็นหนึ่งในบริษัทแผ่นเสียงที่ยังคงอยู่รอดมาได้ และมียอดจำหน่ายสูงที่สุด มากกว่า 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ซึ่งเคยเป็นผู้นำด้านการตลาดจำหน่ายแผ่นเสียงมาก่อนอย่าง Columbia (ครอบครองโดย Sony) และ RCA (ครอบครองโดย BMG) Ahmet Ertegun ยังคงทำงานอยู่ที่เดิม แม้ว่าหน้าที่เขาจะลดน้อยลงไปหลังจากปี 1996 เมื่อเขากลายเป็นประธานร่วมของบริษัท ชีวประวัติของเขาเขียนขึ้นโดย Dorothy Wade และ Justine Picardie  ในปี 1990 ชื่อ “Music Man: Ahmet Ertegun, Atlantic Records, and the Triumph of Rock ‘n’ Roll” ส่วน Jerry Wexler นั้น เกษียณและพักอยู่ใน Florida  เขาได้ตีพิมพ์อัตชีวประวัติของตนเองในปี 1993 ชื่อ “Rhythm and the Blues”

การก้าวผงาดของ Atlantic Records อย่างอยู่ยั้งยืนยง แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จนั้น เกิดมาจากผู้ทำงานด้วยอุดมการณ์ ตั้งใจจริง รสนิยมดี มีความรักและเข้าใจดนตรีอย่างลึกซึ้ง

Atlantic Album Discography

อัลบัมแรกเป็นแผ่น 10” เริ่มจากหมายเลขแคตาล๊อค 110 ซึ่งมีที่มาจากคำว่า “one 10 inch disc.”. และมีแผ่น12” ออกมาอีก 3 แผ่นต่อเนื่องกันมาในสปีด 78 rpm หมายเลขแคตาล๊อค 312-S. (312 มาจาก “three 12 inch discs” และ “S” มาจากสปีดที่ใช้เป็นมาตรฐานสมัยนั้นคือ 78 rpm. มีหมายเลขแผ่น 1201, 1202, และ 1203. เพียงไม่นานก็เปลี่ยนมาใช้แบบที่ 2 และ 3 ในเดือนพฤษภาคม ปี 1950 เป็น ALS-108 เป็นอัลบัมผลงานของ Joe Bushkin และ ALS-109 ผลงานของ Erroll Garner. แผ่น long play 12 นิ้วแผ่นแรกของ Atlantic (มกราคม 1951) คือ ALS-401 ซึ่งเป็นอัลบัมบันทึกเสียงในละครของ Shakespeare เรื่อง “Romeo and Juliet” กำกับโดย Eva LaGallienne และ Richard Waring.

สำหรับแผ่น 10” อัลบั้มแรกของ Atlantic คือ ALS-108, ลักษณะฉลากเป็นพื้นสีเทาตัวพิมพ์สีแดง มีชื่อ Atlantic สีขาวขอบแดง และคำว่า “FULL RANGE RECORDING” สีขาวอยู่ใต้ชื่อบริษัท มีข้อความโค้งด้านบนว่า “LONG PLAYING” และข้อความโค้งด้านล่างฉลากว่า “MICRO-GROOVE RECORD” เป็นสีขาว

ลักษณะ Label ที่ใช้ในแผ่น 10” (เกือบทั้งหมด) และแผ่น 12” บางแผ่นในช่วงแรกๆ ก่อนปี 1950 ของ Atlantic จะมีพื้นฉลากสีเหลือง พิมพ์ด้วยสีดำ มีชื่อ Atlantic พร้อมขีดเส้นใต้ อยู่ด้านบนฉลาก และมีลายเส้นวงกลมสีดำรอบฉลากเว้นเฉพาะตำแหน่งที่มีโลโกอยู่ ส่วนตำแหน่งด้านล่างฉลากมีคำว่า “LONG PLAYING” และ “UNBREAKABLE” โดยระหว่างกลางข้อความทั้งสอง มีรูปวงกลมเล็กๆภายในมีคำว่า 33 1/3 RPM. เลเบลนี้ใช้ในแผ่นเสียง 10” ทั้งหมดและแผ่น 12” อัลบัมแรกจนถึง LP-1211

Atlantic เป็นค่ายที่มีความคิดก้าวไกลพยายามหานวัตกรรมใหม่ๆมาพัฒนาแผ่นเสียงของตนเอง อย่างเช่นมีแผ่นที่บันทึกพิเศษออกมาคือ album AL-1208 เป็นระบบใหม่ที่เรียกว่า Binaural sound. ใช้ microphones 2 ตัววางอยู่ห่างกันเท่ากับตำแหน่งหูของมนุษย์ ระบบนี้เกิดขึ้นก่อนที่จะพัฒนาเป็น Stereo ถึง 5 ปี

เมื่อ Nesuhi เข้ามารับผิดชอบการผลิตเพลงประเภทแจ๊ซ เขายกเลิกแผ่น 10” ทั้งหมด และผลิตแผ่น 12” แทน ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นมาตรฐานในตลาดแผ่นเสียง เขาเริ่มเปลี่ยนมาใช้รหัสใหม่เริ่มจากแผ่นเลขที่ 1212 ของซีรี่ 1200 (ตั้งขึ้นใหม่) เป็นอัลบัมที่มีทั้ง Jazz และ R&B ติดราคาขาย $4.98 และในปี 1956 ก็มาใช้ซีรี่ 8000 ติดราคาขายที่ $3.98. บางอัลบัมของ rhythm and blues ในซี่รี่ 1200 กลับมาทำใหม่ (reissued) โดยใช้ซี่รี่ 8000 นี้ ส่วนในซีรี่ 1200ใช้สำอัลบัม แจ๊ซ อย่างเดียว

ในปี 1955, ซีรี่1200 เปลี่ยนเลเบลจากเดิมสีเหลืองไปเป็นสีดำแทน และตัวพิมพ์ สีเงิน โดยรูปกราฟฟิคไม่มีการเปลี่ยนแปลง เลเบลนี้เริ่มที่หมายเลข 1212 ถึง 1332, รวมถึงเลเบลพิเศษที่เป็น binaural issue หมายเลข 1208 ด้วย และในช่วงเวลานี้ยังมีออกเลเบลสำหรับใช้กับแผ่นที่เป็นสเตอริโอด้วย จะเปลี่ยนสีพื้นเป็นสีเขียวอ่อนแทนและมีคำว่า “STEREO” อยู่ในกรอบสีดำ วางอยู่ตำแหน่งเหนือโลโก Atlantic

ในเวลาถัดมาเป็นเลเบลของ Atlantic ที่ใช้กับแผ่นที่เป็นชนิดmono จะมีพื้นสีแดงครึ่งบนและสีชมพูอมม่วงอยู่ครึ่งล่างโดยมีแถบสีขาวคาดอยู่ตรงกลาง และมีคำว่า “ATLANTIC” สีดำพิมพ์อยู่ในตำแหน่งด้านซ้ายของแถบขาว ส่วนด้านขวาของแถบเดียวกันมีอักษรสีดำ “A” ตัวใหญ่ และรูปใบพัดสีขาว (เรียกเลเบลนี้ว่า white fan Atlantic label) ส่วนแผ่นในระบบสเตอริโอ ก็มีลักษณะฉลากเหมือนกันแต่สีพื้นเปลี่ยนไป โดยครึ่งบนเป็นสีเขียว ครึ่งล่างสีฟ้า และเพิ่มคำว่า “STEREO” สีขาวอยู่ส่วนบนของฉลาก ส่วนฉลากที่ใช้กับแผ่นโปรโมชั่น ก็ใช้พื้นสีขาวทั้งหมด และตัวพิมพ์สีดำ เลเบลนี้ใช้ในแผ่นตั้งแต่หมายเลข 1333 จนถึงประมาณเลขที่ 1378.

ในเวลาถัดมาอีก ก็เปลี่ยนเป็นเลเบลใหม่ซึ่งเหมือนกับของเดิมเกือบทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนรูปพัดลมสีขาวมาเป็นสีดำแทน และมีคำว่า Atlantic ขนาดเล็กพิมพ์ในแนวตั้งอยู่ระหว่างอักษร “A” และรูปใบพัด เรียก Label ใหม่นี้ว่า “black fan Atlantic label.” แผ่นโปรโมชั่น ก็มีลักษณะเดียวกันเพียงแต่สีพื้นเป็นสีขาวทั้งหมด เลเบลนี้ใช้กับในลำดับแผ่นที่ 1379 ถึงประมาณลำดับที่ 1463.

Atlantic ได้เปลี่ยน Label design ใหม่ตั้งแต่แผ่นหมายเลขที่ SD-1464 โดยให้อักษร A ใหญ่ และรูปใบพัดสีดำ รวมทั้งมีคำ Atlantic ขนาดเล็กอยู่ข้างใต้ ทั้งหมดอยู่รวมภายในกรอบสี่เหลี่ยมเป็นโลโก้ใหม่เรียกว่า “logo box” label. แผ่นระบบ Mono จะมีสีแดงครึ่งบนและชมพูอมม่วงครึ่งล่าง ส่วนแผ่น Stereo จะเป็นสีเขียวและฟ้าแทน ส่วนแผ่นpromotional issues จะเป็นสีขาว พิมพ์สีดำ เลเบลนี้ใช้ตั้งแต่แผ่นหมายเลข 1464 ถึง 1499.

รูปแบบเลเบลได้เปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งปลายปี 1973ตั้งแต่แผ่นหมายเลข SD-1500 เป็นต้นมา โดยรูปโลโก้เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเป็นกรอบสีแดงที่มีอักษร A และใบพัดสีดำ และคำว่า Atlantic สีดำอยู่กรอบล่างสีเหลือง โลโก้ใหม่นี้ย้ายไปอยู่ด้านบนของฉลาก พื้นฉลากมีสีเขียวครึ่งบนและสีแดง-ส้มครึ่งล่างโดยมีแถบขาวคาดกลาง ส่วนด้านล่างฉลากมีข้อความที่อยู่ 1841

จากปลายปี 1973 ถึงปี 1975 ก็ยังคงใช้แบบเลเบลเดิมนี้เพียงแต่เปลี่ยนที่อยู่ที่พิมพ์อยู่ด้านล่างฉลากเป็น 73 Rockefeller Plaza แทนเลขที่เดิม.

และหลังจากปี 1975 เป็นต้นมา ก็ยังคงเป็นรูปแบบเดิม แต่จะมีโลโก้ Warner Brothers ขนาดเล็กแทรกอยู่ตำแหน่งด้านล่างฉลาก.

Atlantic ยังมีออก Label ของบรริษัทในเครื่อ อย่าง Atco label และ แผ่นเสียง label อีกมากมายที่เป็นตัวแทนจำหน่ายด้วย เช่น Clarion label, Cotillion label, Alston label, Astro label, Big tree label, Brooklyn label, Capricon label, Emeral label, Vortex label เป็นต้น

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

ประวัติเลเบลแผ่นเสียง Dot Records โดย ลุงพง

แรนดี้ วู๊ด: เรื่องราวความเป็นมา และประวัติของ Dot Records

Dot Records

ช่วงระยะแรกๆ (1950-1955)

Randolph C. Wood เกิดในปี 1918 ที่ McMinnville, Tennessee, คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังของ Dot Records. หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจรับใช้กองทัพแล้ว เขาก็ทำมาหากิน ตั้งถิ่นฐานที่ Gallatin, Tennessee, เป็นเมืองเล็กๆใกล้ Nashville. โดยเริ่มต้นจากกิจการร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อร้าน Randy’s, นอกจากขายเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปแล้ว เขายังเริ่มนำสินค้าแผ่นเสียงมาขายด้วยในปี 1947. เป็นแผ่นประเภท classical music และ popular music ในสมัยนั้น แต่ปรากฎว่า ขายได้ช้ามาก ลูกค้าที่เข้ามาหาซื้อส่วนใหญ่จะมองหาแต่ศิลปินประเภท rhythm and blues เช่น Joe Liggins, Roosevelt Sykes, หรือ Cecil Gant, ซึ่งเป็นเพลงที่นิยมฟังกันในเมือง Nashville. แผ่นประเภทนี้มีจำนวนน้อยและไม่มีขายในบริเวณนี้เลย เขาจึงเริ่มเปิดบริการ mail-order สำหรับให้ลูกค้าสั่งจองแผ่นประเภท 78 rpm.ในปี 1948 โดยลงประกาศโฆษณา ก็ประสบความสำเร็จมี orders หลั่งไหลเข้ามามากจนกระทั่งในปี 1950, จึงเลิกขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในร้านทั้งหมด ขายแต่แผ่นเสียงอย่างเดียว โดยเปลี่ยนชื่อร้านใหม่ว่า “Randy’s Record Shop.” เขาสต๊อคแผ่นไว้กว่า 20,000 อัลบัม และได้ร่วมกับ Gene Nobles ผลิตอัลบัมเป็นของตนเองภายใต้เลเบล Randy’s, และบางเลเบลใช้ชื่อ “Gene Nobles’ Boogie” โดยบันทึกเพลงจากศิลปิล Cecil Gant. เป็นหลัก ซึ่งเป็นกิจการต่อเนื่องจากร้านขายแผ่นเสียง จนต่อมากลายเป็น กิจการ Dot. ในภายหลัง

Wood ยังได้เป็นหุ้นส่วนกิจการสถานีวิทยุท้องถิ่น ซึ่งออกอากาศช่วงกลางวันเท่านั้น เขาและ Nobles ตัดสินใจทำแผ่นเสียงในเลเบลของตนเองขึ้นอย่างจริงจัง และบันทึกเสียงของศิลปินในถิ่นนั้น ศิลปินคนแรกคือเด็กหนุ่มแพ๊คของและจัดแผ่นเสียงที่ร้านเขาเองชื่อ Johnny Maddox. Maddox กลายเป็นศิลปินที่ทำให้ Dot Records ดูมีคุณค่าและสังกัดอยู่ที่นี่เกือบ 20 ปี นอกนั้นยังมีศิลปิน the Fairfield 4 (“Jesus Met the Woman at the Well,” Dot 1003), the Gateway Quartet, the Golden Voice Trio, Rosa Shaw, Joe Warren, the Singing Stars, และ the Brewsteraires. และแน่นอนว่าต้องมีศิลปิน rhythm and blues

หนึ่งในศิลปิน rhythm and blues (R&B groups) ที่บันทึกเป็นวงคอมโบเรียกว่า the Griffin Brothers ประกอบไปด้วย Margie Day และ Tommy Brown. 5 อัลบั้มแรกที่บันทึกได้ติดอันดับ Billboard R&B top-10 ในปี 1950-51. 3 อัลบั้มแรก (Dot 1010, 1019, และ 1060) บันทึกบนแผ่นครั่ง 78 rpm เท่านั้น ขณะที่อีก 2 อัลบั้มหลัง (Dot 1070, 1071) ได้บันทึกบนแผ่นไวนิล 45 rpm. ด้วย อัลบั้มที่ฮิตสุดคือ “Weepin’ & Cryin'” (Dot 1071), ซึ่งขึ้นถึงอันดับ 1 ของ Rhythm and Blues charts ในต้นปี 1951.

เดอะ เค้าทส์

ศิลปิน R&B ในยุคแรกๆของ Dot ประกอบไปด้วย Ivory Joe Hunter, Joe Liggins, the Four Dots, the Big Three Trio, Brownie McGhee, Shorty Long, และ the Counts. (เป็นวงจากเด็กหนุ่มผิวดำ 5 คน จาก Indianapolis ประกอบด้วย Robert Wesley, Robert Penik, James Lee, lead singer Chester Brown, และ Robert Young). The Counts ได้ขึ้นติด top-10 R&B ของปี 1954 ด้วยเพลง “Darling Dear” (Dot 1188), ส่วนอัลบัมต่อมาไม่ประสบผลสำเร็จ

นอกจากนี้แล้วยังมีศิลปินแนว country เช่น Big Jeff, Mac Wiseman, Bob Lamm, Andy Wilson, Tommy Jackson, Jam Up & Honey, the Tennessee Drifters, Lonzo and Oscar, และ Jimmy Newman.

แรนดี้ วู๊ด

Randy Wood ประสบผลสำเร็จในเพลงป๊อปครั้งแรก จากศิลปินกลุ่มคนขาวเรียกว่า Hilltoppers, หัวหน้าวงเป็นนักแต่งเพลงชื่อ Billy Vaughn มี Jimmy Sacca. เป็นนักร้องนำ และที่เหลือในวงคือ Don McGuire และ Seymour Spiegelman. ทั้ง 4 คนคือนักเรียนจาก Western Kentucky College ใน Bowling Green, และนำเอาชื่อทีมบาสเก็ตบอลของโรงเรียนมาใช้ตั้งเป็นชื่อวง เพลงที่บันทึกกับ Dot ในครั้งแรกคือ “Trying” (Dot 15018 ในปี1952) ส่วนเพลงที่ฮิตที่สุดคือ “P.S. I Love You” บันทึกในปี1953

หลังจากไม่กี่ปีที่ Billy Vaughn อยู่กับวง Hilltoppers นี้ เขากลับรู้สึกว่าตนเองมีรสนิยมทางด้าน orchestral arrangements มากกว่าการประพันธ์เพลงร้อง ในปลายปี 1954 เขาได้ลองประพันธ์แนวดนตรีใหม่ให้กับเพลง”Melody of Love” ซึ่ง Wayne King ได้บันทึกไว้กับ Victor ในปี 1940 (Victor 26695). ได้รับความนิยมพุ่งขึ้นมาสู่อันดับที่ 2 ในต้นปี 1955, Vaughn จึงตัดสินใจอนาคตตนเองมาสู่การเป็นหัวหน้าวง orchestra โดยลาออกจากวง the Hilltoppers มาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายดนตรีของ Dot, เป็นหัวหน้าผู้กำกับวงออร์เคสตร้าแบ็คอับให้กับนักร้องในสังกัดของ Dot เช่น Pat Boone, Gale Storm, the Fontane Sisters, และอื่นๆ. เขาได้สร้างอัลบัมที่ยอดเยี่ยมถึง 36 อัลบัมโดยวง orchestra ของเขามาตั้งแต่ปี 1958 ถึง 1970.

ในช่วงต่อมา 1955-1957

แรนดี้ วู๊ด

ในปั 1955, เมื่อ Randy Wood พยายามที่จะให้เพลงที่ตนเองบันทึกได้ออกอากาศในสถานีวิทยุ เขาพยายามทำการบันทึกเพลงทุกประเภท แต่ก็ตระหนักดีว่าเพลง ป๊อป จะเป็นประเภทเพลงที่จะนำทางไปสู่ความสำเร็จ จึงได้เซ็นสัญญารับนักร้องหนุ่มเสียงนุ่มชื่อ Pat Boone เข้าในสังกัด และก็ไม่ผิดหวังสำหรับนักร้องเสียงกล่อมผู้ฟังแนวเดียวกับ Bing Crosby และ Perry Como กลายเป็นนักร้องที่มีรูปอยู่ที่หน้าปกแผ่นเสียงมากกว่าศิลปินทุกคน

เริ่มตั้งแต่ปี 1957, Boone ประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องจากเพลงของวัยรุ่น เช่น “Don’t Forbid Me”, “April Love” และ “Love Letters in the Sand”. Pat Boone สังกัดอยู่กับ Randy Wood’s ใน Dot Records เป็นเวลาหลายปี ได้สร้างเพลงติดชาร์ตให้กับ Dots มากกว่า 60 เพลงที่ฮิตติดตลาด จนกระทั่งถึงปลายปี 1968. เมื่อ Randy Wood ได้ลาจาก Dot ไปสร้างชื่อใหม่ของตนเองคือ Ranwood Records ช่วงนั้นเอง Boone ก็ได้จากไปเช่นกัน

ค่ายแผ่นเสียง Dot Records มีจุดเด่นตรงที่ความจงรักภักดีของศิลปินที่มีต่อสังกัด ศิลปินหลายคนอาทิ Johnny Maddox, Pat Boone, Billy Vaughn, the Fontane Sisters, และ Lawrence Welk อยู่กับ Dot. เป็นเวลานานนับสิบปี เหตุผลคือ Randy Wood เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูงมีความยุติธรรม

Fontane Sisters

ศิลปินอีกกลุ่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงกลางปี 1950s คือ Fontane Sisters (Marge, Bea, และ Geri Rosse). เป็นพี่น้อง 3 คนจากเมือง Milford, New Jersey, ซึ่งเป็นกลุ่มนักร้องที่ร้องเป็น background ให้กับ Perry Como ตั้งแต่ปลายปี 1940s. ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำด้วยเพลง “Hearts of Stone” ในปี 1955. และยังมีเพลงที่ฮิตติดตลาดโดยร่วมกับ Teen Queens’ ด้วยเพลง “Eddie My Love,” ร่วมกับ the Drifters’ ด้วยเพลง “Adorable,” ร่วมกับ the Marigolds’ ด้วยเพลง “Rollin’ Stone,” และร่วมกับ Fats Domino’s ด้วยเพลง “Please Don’t Leave Me,” เพลงทั้งหมดนี้อยู่ในช่วงปี 1955-1956 และบันทึกผลิตออกจำหน่ายในช่วงปี 1956-1958,

เกล สตอร์ม

ในปี 1955 Wood ได้เซ็นต์สัญญารับ Gale Storm เข้ามาในสังกัด Gale เคยโด่งดังมาจากรายการทีวีหนึ่งชื่อ “My Little Margie” starting ในปี 1952. Wood ได้บันทึกเพลงที่เธอร้องชื่อ “I Hear You Knockin'” ติดอันดับที่ 2 ของ national hit และกลายเป็นนักร้องที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูงในค่าย Dots รวมทั้งเพลง “Why Do Fools Fall in Love.” อัลบัมที่ฮิตอีกแผ่นหนึ่งคือ “Ivory Tower” ออกในฤดูใบไม้ผลิของปี 1956 (Dot 15458)

อัลบัมอื่นๆที่ออกโดย Dot ในระยะนี้ได้แก่ the Hilltoppers’ อัลบัม “Only You” (Dot 15423), “Ka- Ding-Dong” (Dot 15489), และ “Marianne” (Dot 15537), Nick Todd’s อัลบัม “Plaything” (Dot 14643) และ “At The Hop” (Dot 15675), Jim Lowe’s อัลบัม “Blue Suede Shoes” (Dot 15456) และ “Maybelline” (Dot 15407).

สนใจหาแผ่นเสียงมือสอง Dot Records? ลองดูในบอร์ดซื้อขายแผ่นเสียงที่นี่

Dot Album Discography

10-inch LPs and 7-inch EPs

เลเบลแผ่นเสียง Dot Records 10″

สมัยก่อนและกลางทศวรรษของปี 1950 แผ่นเสียงขนาด 10″ คือมาตรฐานที่นิยมเล่นกัน ก่อนที่จะหมดความนิยมไปหลังจากที่มีแผ่น 12” เข้ามาแทนที่ ก็เหมือนกับบริษัทผู้ผลิตแผ่นเสียงอื่นๆ Dot ออกแผ่น 10” จนกระทั่งถึงปี 1955 ก็เลิกจำหน่ายไป แต่ช่วงนี้กลับมีแผ่น 7″ extended play 45 rpm กลายเป็นที่นิยมแทนที่ ในช่วงสั้นๆของปลายทศวรรษ 1950s, จนถึงต้นทศวรรษ 1960s ก็เลิกลาไปอีกเช่นกัน

ฉลากของ Dot ในแผ่น 10 นิ้วจะเป็นสีพื้นออกแดงที่เรียกว่า maroon ส่วนตัวพิมพ์เป็นสีเงิน. มีโลโก้คำว่า “Dot” เป็นตัวเขียนสีเงินด้านบนฉลาก และมีข้อความ “LONG 33 1/3 PLAY” และ “DOT RECORDS, INC. * GALLATIN, TENNESSEE” ที่ด้านล่างสุดของฉลาก แผ่น 10” นี้จะมี format หมายเลขเป็น 100 โดยเริ่มอัลบัมแรกที่เลข 101

 12-inch LPs

เลเบลแผ่นเสียง Dot Records 12″

ฉลากรุ่นแรกของแผ่น 12 นิ้ว ก็เหมือนกันกับฉลากรุ่นที่ใช้กับแผ่น 10 นิ้ว คือสีพื้นจะเป็นสีแดงที่เรียกว่า maroon ส่วนตัวพิมพ์เป็นสีเงิน. มีโลโก้คำว่า “Dot” เป็นตัวเขียนสีเงินด้านบนฉลาก และมีข้อความ “LONG 33 1/3 PLAY” และ “DOT RECORDS, INC. * GALLATIN, TENNESSEE” อยู่ที่ด้านล่างสุดของฉลากจนถึงหลังเดือนสิงหาคม ปี1956 ที่อยู่ด้านล่างเปลี่ยนเป็น “HOLLYWOOD 28, CALIF.”

โลโกใหม่ และ เก่า Dot Records

สำหรับ โลโก ที่ใช้ในแผ่นเสียงรุ่นแรกเดิม จะเป็นลายเส้นวงกลม มีตัวเขียน Dot อยู่ภายใน พร้อมด้วยเลขหมายแผ่น ซึ่งอยู่ภายในวงกลมเช่นเดียวกัน ใช้มาตั้งแต่ปี1955 จนถึงกลางปี 1957, ประมาณแผ่นที่มีเลขหมายที่ DLP-3030. หลังจากนี้จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่หลังจากที่ Randy Wood ขาย Dot ไปให้แก่ Paramount Pictures, ในปี 1957.

เลเบล Dot Records ใหม่ ปี 1957

ในปี 1957, ฉลากใหม่จะมีลักษณะเหมือนที่รู้จักคุ้นเคยกันดี คือพื้นสีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน มีโลโก้ Dot เป็นตัวเขียนด้วยสีเหลือง แดง และ น้ำเงิน อยู่ในตำแหน่งเหนือรูกลางแผ่นเสียง และมีข้อความตามโค้งด้านล่างว่า “DOT RECORDS, INC., HOLLYWOOD 28, CALIF. TRADEMARK REGISTERED IN U.S. PAT. OFF.” ฉลากรูปแบบนี้ใช้มาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เลขหมายแผ่นที่ DLP 3031 ในปี1957 ถึง DLP 25856 ในปี 1968. และยังมี Reissues ของอัลบัมแรกๆ ประมาณ DLP 3000- 3030 ก็ใช้ฉลากนี้เช่นกัน

ส่วนซีรี่ สเตอรีโอ (stereo series) ก็ใช้เลขหมายแผ่นเลขเดียวกันกับ mono series, นอกจากตัวเลขนำหน้าที่ใช้แตกต่างกันโดยมีหมายเลขนำหน้า 25xxx แทน 3xxx. แผ่นสเตอริโออัลบัมแรกออกในปี 1958 ประมาณเลขหมาย 3123

รวมกับ Paramount

ในปี 1960, อัลบัมส่วนใหญ่จะทำออกมาทั้ง สเตอริโอ และ โมโน รูปโลโกที่ใช้ ส่วนใหญ่ก็เป็นรูป Dot ในวงกลม แต่บางครั้งก็ใช้เป็นโลโกที่ร่วมระหว่างชื่อ Dot และ Paramount

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

ประวัติโดยย่อ Grand Award และ เลเบลแผ่น โดย ลุงพง

บริษัทแผ่นเสียง Grand Award กำเนิดขึ้นในปี 1955 ที่เมือง Harrison รัฐ New Jersey ประธานบริษัทเคยเป็นหัวหน้าวงออร์เคสตร้า ชื่อ Enoch Light. เพลงที่บันทึกจากค่ายนี้ก็มีทั้ง pop, jazz และ gospel music(ดนตรีแนวที่บรรเลงในโบส) และยังมีออกเลเบลในเครืออีกคือ Audition, Colortone, Command Performance และ Waldorf Music Hall.

ในปี 1959 เดือน ตุลาคม บริษัท Grand Award และเลเบลในเครือได้เปลี่ยนมือไปอยู่กับเจ้าของใหม่ Am-Par Record Corporation ซึ่งก็คือ ABC-Paramount

เลเบลของ Grand Award ยังคงใช้ต่อไปหลังจากมาอยู่กับ ABC-Paramount แต่ไม่บ่อยนักจนกระทั่งถึงปี 1966 จึงเลิกใช้ไป

เลเบลรุ่นแรกของ Grand Award จะมีพื้นสีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน จนกระเมื่อมาอยู่กับ ABC paramount จึงเปลี่ยนเป็นสีพื้นน้ำเงิน ตัวพิมพ์สีเงิน มีหลายอัลบัมที่ทำซ้ำใหม่เป็น reissued โดยมีสีพื้นเป็นสีส้ม ตัวพิมพ์สีดำแทนซึ่งจะใช้หมายเลขเป็นซีรี่ 200

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

ประวัติ และ เลเบลแผ่นเสียง A&M Records

ประวัติ A & M Records

A & M Records ก่อตั้งโดย Herb Alpert และ Jerry Moss ในปี 1962 ที่ Los Angeles California เริ่มกิจการจากที่ไม่มีอะไรมาก่อน ด้วยเงินของทั้ง 2 คนรวมกันเพียง 200 dollars บันทึกเพลงประเภท pop music เพียงอย่างเดียวในช่วงเริ่มแรก จนกระทั่งต่อมาจึงมีกลุ่มร๊อคของอังกฤษ และอเมริกันเข้าในสังกัด เขาทั้งคู่ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งและยืนอยู่ในธุรกิจแผ่นเสียงด้วยตัวของตัวเอง จนกระทั่งในปี 1989 จึงได้ขายไปให้กับ PolyGram เป็นจำนวนเงินถึงครึ่งล้าน dollars

Herb Alpert เกิดเมื่อ 31 มีนาคม ปี 1935 ในเมือง Los Angeles California เป็นลูกชายคนที่ 2 ของ Louis Alpert (เชื้อสายรัสเซีย) มีความช่ำชองในการเล่น mandolin ส่วนภรรยาของ Louis ชื่อ Tillie ชอบเล่น violin พี่ชายของ Herb ชื่อ David ชอบตีกลอง แต่ Herb กลับไม่มีความสนใจในดนตรีเลย จนกระทั่งอายุได้ 8 ขวบ เขาขอเบิกเงินไปเช่า trumpet มาเล่น พ่อแม่รู้เข้าเลยส่งเสริมเป็นการใหญ่ จ้างนักเป่า jazz trumpet ชื่อ Harold “Pappy” Mitchell ให้มาสอนให้ และเมื่ออายุได้ 13 ปี Herb ได้รับการฝึกสอนจาก Ben Klazkin  มือทรัมเป็ตอันดับหนึ่งของ San Francisco Symphony เป็นผู้ที่พยายามส่งเสริมให้เขาเป็นนักดนตรีคลาสสิก แต่ฝึกได้ไม่นานเขาก็เบื่อแนวเพลงคลาสสิก จนเมื่ออายุได้ 15 ปี เขาได้จัดตั้งรวมตัวเป็นกลุ่มนักดนตรี ชื่อว่าวง the Colonial Trio ประกอบไปด้วยมือกลอง ทรัมเป็ต และนักเปียโน หลังจากฝึกปรือจนเชี่ยวชาญแล้ว วงนี้ก็ได้รับชัยชนะในการเข้าร่วมการแข่งขัน TV talent contest program

Alpert เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย Southern California และเป็นนักดนตรีตัวหลักของมหาวิทยาลัย แต่หลังจากนั้นเพียง 1 ปี เขาก็ถูกส่งเข้าประจำการทหารใน Fort Ord ที่ Monterey California  เขาเป่าทรัมเป็ตได้ประทับใจของกองทัพ จนกระทั่งทางกองทัพให้เขาจัดตั้งวงมาร์ชขึ้น ระหว่างที่อยู่ในกองทัพ ได้แต่งงานกับคนรักสมัยที่เคยเรียนอยู่ high school ด้วยกัน จากนั้นก็เริ่มมาสนใจในดนตรีแจ๊ซ โดยชอบฟังการเล่นของ Clifford Brown, Charlie Parker และ Miles Davis  หลังจากที่ปลดประจำการจากกองทัพในปี 1956 เขาก็กลับมาที่ Los Angeles ตั้งวงดนตรีขึ้นอีกครั้งหนึ่งเล่นตามงาน บอลล์ และงานปาร์ตี้ตามโรงแรม สม่ำเสมอเรื่อยมา

ในเวลาเดียวกันนี้ เขาเริ่มเขียนบทเพลง และก็บังเอิญได้พบกับ Lou Adler ซึ่งเป็นคนที่เคยขายประกันชีวิตให้เขา คนผู้นี้ได้ปรารภกับ Herb Alpert ว่า ชอบเขียนบทกวี และอยากจะเป็นนักแต่งเนื้อเพลงอาชีพ ทั้ง 2 คนก็เลยร่วมกันแต่งเพลง เพลงแรกที่ออกจำหน่ายคือ “Circle Rock” บันทึกโดย Keen records ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี จนต่อมาในปี 1959 Keen records จึงรับ Alpert และ Adler เข้าเป็นพนักงานร่วมทีมประพันธ์เพลงของบริษัทด้วยค่าจ้าง $35 ต่อสัปดาห์ เขาได้ร่วมกันแต่งเพลงให้กับศิลปินในสังกัด Keen recording คือ Sam Cooke และประสบความสำเร็จระดับหนึ่งด้วยเพลง “All of My Life” และที่ประสบผลสำเร็จมากคือเพลง “Wonderful World” ต่อมา Cooke ได้ลาออกจาก Keen ไปอยู่ในสังกัด RCA, Alpert และ Adler ก็ลาออกจาก Keen records เช่นกัน ไปจัดตั้งเป็นบริษัทผลิตเพลงของตนเอง เขาผลิตผลงานเพลงของศิลปิน Jan และ Dean โดยไปผลิตที่ Dore Records แต่เมื่อ Jan และ Dean ถูกซื้อตัวไปโดยค่าย Challenge (และต่อมาก็ไปยังLiberty records) Alpert และ Adler จึงไม่มีศิลปินเหลือให้ผลิตผลงานอีก  จากจุดนี้เองเขาทั้งสองก็ตัดสินใจแยกจากกันอย่างฉันเพื่อน

Adler ก่อตั้ง Dunhill Records ในปี 1964 ทำเงินได้มหาศาลจากการขายภายในไม่กี่ปี และหลังจากนั้นก็มาเริ่มตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Ode label

ส่วน Herb Alpert มีภรรยาและเพิ่งได้ลูกชายซึ่งเขาต้องรับภาระเลี้ยงดู เลยไปรับงานเป็นครูฝึกสอนกรีฑา และพยายามจะเข้าเป็นนักแสดงกับ Paramount  เขาได้เข้าศึกษาวิชาการแสดง ขณะเดียวกันก็แต่งเพลงไปด้วย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จสักเท่าไร จนถึงกับจะยอมแพ้ และเตรียมหางานประจำทำเป็นงานหลักต่อไป

ในปี 1961 Jerry Moss เป็นผู้หนึ่งที่ประสบผลสำเร็จในวงการบันทึกเสียงและยังเป็นนักการตลาดตัวยง ได้พบกับ Herb Alpert และด้วยความประทับใจกับการเล่นทรัมเป็ตของ Herb เขาจึงว่าจ้างขอให้เล่นเพลงที่จะผลิตขึ้นมาชื่อว่า “Love Is Back In Style”  Herb รู้สึกซาบซึ้งถึงกับมอบเพลงที่เขาแต่งไว้ชื่อ “Tell It To the Birds” ให้ไปด้วย ต่อมาทั้งคู่จึงตกลงเป็นหุ้นส่วนกันโดยร่วมทุนครั้งแรกคนละ $100 ตั้งชื่อว่า Carnival Records   ต้นปี 1962 ได้ออกอัลบัม Carnival 701 “Tell It To the Birds” และได้สร้างความประทับใจให้กับ Dot Records จนขอซื้อ master ไปเป็นเงิน $750 และผลิตออกจำหน่ายภายใต้ Dot label

Herb Alpert นำเงินที่ได้จาก Dot ไปตกแต่งห้องสตูดิโอในโรงรถเขาที่บ้านเลขที่ 419 Westbourne Drive จากนั้น Moss และ Alpert ก็เริ่มงานชิ้นแรกในเพลง “Twinkle Star” แต่งโดยเพื่อนชื่อ Sol Lake ซึ่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีวงหนึ่ง  ก่อนจะเริ่มงานเขาทั้งสองหยุดพักผ่อนไปดูกีฬาชนวัวกระทิงที่ Tijuana Mexico ได้ยินเพลงจากวง Mariachi band ที่บรรเลงอยู่ที่นั่น ทำให้เกิดความคิดใหม่ขึ้นมาทันที ที่จะใช้เพลง “Twinkle Star” เพิ่มเข้าไป โดยให้ Alpert เป่า trumpet ซึ่งจะไปเพิ่มเสียง trumpet อีกหนึ่งชิ้น(เดิมก็มีอยู่แล้ว)ทับไปบนเพลงเดิม แต่ให้เสียงเหลื่อมกันเล็กน้อย Alpert เรียกว่า “Spanish Flair” ทำให้เพลง “Twinkle Star” ฟังแล้วรู้สึกคล้ายๆกับฟังจากวง Mariachi

Jerry Moss ได้ตั้งชื่อเพลงใหม่นี้ว่า “The Lonely Bull” ส่วนวิศวกรฝ่ายผลิต Ted Keep ได้เพิ่มเสียงของกระดิ่งวัวกระทิงเป็น sound effects ลงไปอีก และแล้ว “The Lonely Bull” โดย Herb Alpert และ the Tijuana Brass ก็พร้อมที่จะออกตลาดในเดือน สิงหาคม ปี 1962 แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องชื่อบริษัท ไม่สามารถใช้ชื่อ Carnival ได้ เพราะมีบริษัทแผ่นเสียงอื่นใช้ก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งคู่จึงเปลี่ยนชื่อใหม่โดยเอาอักษรนำหน้านามสกุลของทั้งสองมาเป็นชื่อบริษัทแทนว่า A & M Records

ในเดือนตุลาคม อัลบั้ม “The Lonely Bull” ได้ไต่ขึ้นอันดับชาร์ทเพลงจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เพลงนี้ติดอันดับของ Top 10 ขายไปกว่า 700,000 แผ่น และไม่นาน  A & M records ก็มี 2 อัลบั้มที่ติดชาร์ทยอดขายสูงสุด คือ The Lonely Bull และ Herb Alpert’s Tijuana Brass, Volume 2 จากนั้นสำนักงานของ A & M Records ย้ายออกจากโรงรถไปอยู่ที่ 8255 Sunset Boulevard ใน Hollywood

แนวดนตรีของ Alpert จัดว่าอยู่ในสายกลาง ๆ ฟังได้ทั้งผู้สูงอายุ และผู้นิยมเพลงป๊อปกลุ่มใหญ่(ในกลุ่มที่ไม่ชอบแนวเพลงร๊อกที่หนักหน่วง) เพื่อเป็นการรักษายอดขายให้คงอยู่ ทำให้ต้องออกทัวร์แสดงดนตรีและออกโชว์ตัวทางทีวี ในการออกแสดงนี้ได้ทำให้เพลงของเขาฮิตเพิ่มขึ้นอีก 2 เพลงคือ “The Mexican Shuffle” และ “A Taste of Honey” ผลักดันให้ Tijuana Brass ทั้ง 3 albums ขึ้นติด chart พร้อมกันในปี 1965 และในปีเดียวกัน Alpert ก็ได้รับรางวัล Grammy awards ถึง 4 รางวัล ต่อมาในเดือนเมษายน ปี 1966 album ที่ 5 ของเขาชื่อ Going Places ก็ได้ก้าวขึ้นมาอยู่อันดับ 1 และอีก 4 albums ต่างก็อยู่ในลำดับ Top Twenty ทำให้แผ่นเสียงเขาขายได้ถึง 13 ล้านแผ่นอย่างเหลือเชื่อ นอกจากนั้นในปี 1968 อัลบัม “This Guy’s In Love With You” ซึ่งเป็นแผ่น single จากเพลงร้องของ Alpert ก็ได้ติดอันดับหนึ่งอีกด้วย

จากความสำเร็จของ Tijuana Brass ได้สร้างรายได้เป็นฐานการเงินให้แก่ A & M ผลิตอัลบั้มอื่นออกตามมาอีก จากศิลปินต่าง ๆที่อยู่ในสังกัดช่วงกลาง ยุค ’60 เช่น Baja Marimba Band, Sergio Mendes & Brasil ’66, Chris Montez, Claudine Longet, the Sandpipers และ We Five  อัลบัมของศิลปินเหล่านี้ต่างประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างความยิ่งใหญ่แก่ A & M จนกระทั่งในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี 1966 จึงได้ย้ายที่ทำการใหม่ ไปยัง Charlie Chaplin movie studio ที่ La Brea และ Sunset Boulevard

A & M ได้เตรียมเงินทุนออกทัวร์คอนเสิร์ต Joe Cocker ใช้ชื่อว่า “The Mad Dogs and Englishmen Tour” (หลังจากที่ประสบความสำเร็จในงาน Woodstock) และอัลบั้ม Mad Dogs and Englishmen ขายไปได้กว่าล้านแผ่น

ระหว่างปี 1970 ถึง 1980 A & M เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง รับศิลปินเข้ามาในสังกัดมากมาย ทั้งนักร้อง นักแต่งเพลง rhythm & blues singers, comedy acts และกลุ่มร๊อคเช่น Styx และ Supertramp อัลบั้ม Frampton Comes Alive! โดยนักร้อง Peter Frampton ในสังกัด ขายได้มากกว่า 10 ล้านแผ่นในปี 1976  นอกนั้นยังมี Carpenters, Cat Stevens, Carole King (ใช้เลเบลของ Lou Adler’s Ode ฃึ่ง A & M เป็นผู้จัดจำหน่าย), Quincy Jones, Captain and Tennille, Bryan Adams(นักร้องและนักแต่งเพลงชาวแคนาดา), the Police, Sting, Amy Grant and Janet Jackson

Herb Alpert ยังประสบความสำเร็จจากแผ่น single ที่ผสมแนวดนตรี disco อ่อนๆ ชื่ออัลบั้ม “Rise” ขายได้กว่า 1 ล้านแผ่น และได้รับรางวัล Grammy award ครั้งที่ 7 สำหรับแนวดนตรี best pop instrumental performance แห่งปี

หลังจากที่ได้คลุกคลีบริหารบริษัท A & M มาเป็นเวลานานถึง 27 ปี Alpert และ Moss ได้ตกลงกันขายกิจการให้กับ PolyGram Corporation ในเดือนมิถุนายนปี 1989 เป็นเงินถึง 500 ล้านดอลล่า นับว่าได้ผลตอบแทนที่งดงาม จากการเริ่มต้นลงทุนเพียง 200 ดอลล่า

ในปี 1998 PolyGram รวมตัวเข้าไปอยู่ใน Universal Music Group จนกระทั่งในเวลาต่อมา เจ้าของ Universal คือ Segrams ตัดสินใจตัดรายจ่าย โดยปลดพนักงานของ A&M ออกทั้งหมดในวันที่ 21 มกราคมปี 1999 เหลือไว้แต่ความภาคภูมิใจ ว่า ครั้งหนึ่งในอดีต เลเบลนี้ เคยยิ่งใหญ่ไม่ได้น้อยหน้า เลเบลใด

A&M Album Discography

เลเบลแผ่น A&M Records เลเบลแรก

เลเบลแรกของ A&M ใช้กับแผ่นหมายเลข LP 100/SP 4100 และ LP 101/SP 4101. ตัวอักษรในฉลากเป็นสีน้ำตาล มีชื่อ A&M อยู่บนสุด. เหมือนกับฉลากของอัลบัม “The Lonely Bull” โดย Herb Alpert’s Tijuana Brass.

เลเบลแผ่น A&M Records

ช่วงที่ออกอัลบัมแผ่นที่ 3 ก็ได้เปลี่ยนแปลงฉลากเป็นรุ่นที่ 2 พื้นฉลากเป็นสีน้ำตาล มีโลโก อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ในตำแหน่งด้านบนของฉลาก

เลเบลแผ่น A&M Records ช่วงปี 1964

ในช่วงระยะเวลาสั้นๆต่อมา ก็เปลี่ยนแปลงใหม่ โดยย้ายโลโกไปอยู่ในตำแหน่งด้านซ้ายมือ รูปแบบฉลากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งที่ 3 นี้ ใช้ต้นเป็นแบบของฉลากรุ่นต่อๆมาตั้งแต่ปี 1964 จนถึงกลางปี 1970

เลเบลแผ่น A&M Records รุ่นที่ 3

ฉลากที่ใช้กับแผ่นโปรโมชั่นของเลเบลรุ่นที่ 3 นี้ จะมีพื้นสีขาว ตัวพิมพ์สีดำ บางแผ่นจะมี โลโกภายในกรอบ สี่เหลี่ยม แต่บางแผ่นจะไม่มีกรอบ

เลเบลแผ่น A&M Records ช่วงปี 1973

ฉลากรุ่นนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1973 จนถึงปี 1988

เลเบลแผ่น A&M Records ช่วงปี 1988

ฉลากรุ่นนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1988 จนกระทั่งขายให้กับ Polygram ซึ่งก็ยังคงใช้ฉลากรุ่นนี้ต่อ ส่วนพื้นสีขาวเป็นเลเบลแผ่นโปรโมชั่น

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

ประวัติความเป็นมา และ วิธีดู เลเบลแผ่นเสียง ค่าย Command records โดย ลุงพง

ประวัติความเป็นมา ค่ายแผ่นเสียง Command Records

ค่าย แผ่นเสียง Command (จากชื่อดั้งเดิม Command Performance) กำเนิดขึ้นในปี 1951โดยนาย Enoch Light และ George Schwager ที่เมือง Harrison ในรัฐ New Jersey. เป็นบริษัทในเครือของ Grand Award label. ซึ่งเป็นค่ายเพลงที่บันทึกดนตรีทั้งประเภท popular, classical และ jazz ต่อมาในปี 1959 ก็ถูกบริษัท Am-Par ซื้อไปทั้งหมด แต่กิจการของ Command ก็ยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้บริษัท Am-Par Corp. และ Enoch Light ดำรงตำแหน่ง Executive Vice President และ Managing Director ของ Command และ Grand Award Labels.

Command ดำเนินการผลิตแผ่นเฉพาะประเภท audiophile record ด้วยวิธีการผลิตที่แยก Track ของระบบสเตอริโอออกอย่างชัดเจน และบรรจุในซองแข็งชนิด Gatefold พิเศษด้วยวัสดุคุณภาพสูง อัลบัมในชุดของ Persuasive Percussion ได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นบริษัทแรกที่นำฟิลม์ภาพยนต์ 35 มม. มาใช้เป็นวัสดุบันทึกสำหรับทำเป็นมาสเตอร์ แทนที่จะใช้เทปเหมือนทั่วๆไป เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดที่สามารถจะเสาะแสวงหามาได้

Enoch Light นอกจากจะบริหารและดำเนินงานของบริษัท Command แล้ว เขายังเป็นศิลปินที่ออกผลงานเองบันทึกภายใต้ชื่อ Enoch Light Orchestra, Enoch Light and the Light Brigade และ Enoch Light and the Charleston City All Stars. ประกอบด้วยหลายอัลบัมที่มีนักดนตรี Charles Magnante เล่น Accordion และ Tony Mottola เล่น guitar ส่วนนักเปียโน Dick Hyman ได้บันทึกออกอัลบัมภายใต้ชื่อของตนเอง

ในปี 1966 Enoch Light ได้อำลาจาก Command label มาสร้างใหม่ภายใต้ชื่อ Project 3 Label. หลังจากนั้น คุณภาพของ Command album ก็ตกต่ำ จนกระทั่งเลิกไปในปี 1970 แต่บริษัท ABC กลับมาใช้ชื่อ “Command Quadraphonic” ในปี1971 ถึง 1976 สำหรับอัลบัมที่บันทึกในระบบ quadraphonic

Command Album Discography

เลเบลแผ่นเสียง Command Record รุ่นที่ 1

เลเบล แรกของ Command record มีพื้นสีเทา ตัวพิมพ์สีดำ และมีโลโก้เป็นตัวเขียนสีขาวอยู่ด้านบนเหนือรูแผ่นเสียง ส่วนด้านล่างฉลากมีข้อความ “MFG. BY GRAND AWARD RECORD CO, INC., U.S.A” ฉลากนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 1959 จนกระทั่งถึงปี 1961

เลเบลแผ่นเสียง Command Record รุ่นที่ 2

เลเบล รุ่นที่ 2 ของ Command จะมีพื้นฉลากสีขาวตัวพิมพ์สีดำ และโลโก้เป็นตัวเขียน Command สีทองอยู่เหนือรูแผ่นเสียง ส่วนด้านล่างฉลากมีข้อความ “MFG. BY GRAND AWARD RECORD CO, INC., U.S.A” ฉลากนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 1961 จนกระทั่งถึงกลางยุค 60’s. ส่วนอัลบัมที่ออกหลังจากนี้จนถึงปี 1969 จะมีข้อความ “A Subsidiary of ABC Records” ที่ด้านล่างฉลาก

เลเบลแผ่นเสียง Command Record รุ่นที่ 3

เลเบล รุ่นที่ 3 จะมีพื้นสีครีม ตัวพิมพ์สีดำ และโลโก้เป็นตัวเขียนคำว่า Command สีดำอยู่ในกรอบ 4 เหลี่ยมหลากสี และข้างๆโลโก้ดังกล่าวมีโลโก้ของ ABC Records.อยู่ด้วย ส่วนด้านล่างฉลากมีข้อความ “Grand Award Record Co. Inc. Is a subsidiary and trademark licensee of ABC Records, Inc. New York, N.Y. 10019 Made in USA” ฉลากนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 1969 ถึงราวปี 1972. และจากปี1972 จวบจนถึงอัลบัมสุดท้าย ขอบ 4 เหลี่ยมหลากสีก็ถูกเปลี่ยนเป็นสีดำ และไม่มีข้อความ Grand Award Record Co. อีกต่อไป

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

ประวัติ แผ่นเสียง และ เลเบล Capital records โดย ลุงพง

ประวัติแผ่นเสียง Capitol records

ผู้ก่อตั้ง Capitol Records เป็นนักประพันธ์เพลงชื่อ Johnny Mercer ในปี 1942 โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก Buddy DeSylva (โปรดิวเซอร์ผลิตภาพยนต์) และ Glenn Wallichs นักธุรกิจผู้ชาญฉลาด เจ้าของอาคาร Music City ซึ่งขณะนั้นเปิดดำเนินกิจการร้านแผ่นเสียงที่ใหญ่ที่สุดใน Los Angeles, California มีชื่อว่า Wallichs Music City record store ตั้งแต่ปี 1940  สถานที่อยู่ในย่าน Hollywood เป็นร้านแผ่นเสียงที่ดีที่สุดยาวนานนับสิบ ๆปี ในคาลิฟอเนียตอนล่างจนกระทั่งปิดตัวลงในปี 1978 และสำนักงาน Capitol Records ก็อยู่ที่ด้านหน้าของอาคาร Music City.

Capitol เป็นบริษัทแผ่นเสียงแห่งแรกที่เปิดดำเนินกิจการในย่านฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา แข่งขันกับ RCA-Victor, Columbia และ Decca ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวนี้ตั้งอยู่ใน นิวยอร์ค นอกจากจะมีสตูดิโอห้องบันทึกแผ่นเสียงใน Los Angeles แล้ว Capital ยังมี สตูดิโอแห่งที่ 2 ในเมืองนิวยอร์คอีกด้วย อีกทั้งใช้รถเป็นสตูดิโอเคลื่อนที่ ทำการบันทึกตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น New Orleans, Louisiana และที่อื่น ๆ อีกเป็นครั้งคราว

ศิลปินที่สังกัดและบันทึกกับ Capitol มี Paul Whiteman (popular American orchestral leader ) Martha Tilton,

และ Ella Mae Morse ( American Popular singer) อัลบั้มแรกของ Capitol เป็น gold single ชื่ออัลบัม Morse’s “Cow Cow Boogie” บันทึกในปี 1942  จนกระทั่ง ปี 1946 ได้จำหน่ายได้ถึง 42 ล้านแผ่น กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ติดอันดับ the Big Six record labels  ในปีเดียวกันนี้เอง Alan W. Livingston ผู้ประพันธ์เพลงและผู้ผลิต ได้ทำอัลบั้ม Bozo the Clown สำหรับเด็ก

อัลบั้มที่ออกในปี 1940 ประกอบด้วยศิลปิน Les Baxter, Bing Crosby, Les Paul, Peggy Lee, Les Brown และ Nat King Cole.

ในปี 1949 Capitol ได้เปิดสาขาขึ้นที่ประเทศ คานาดา และยังได้เข้าซื้อกิจการของ KHJ Studios ซึ่งตั้งอยู่ที่ Melrose Avenue ติดกับ Paramount Studios ใน Hollywood จนกระทั่งถึงกลางปี 1950 Capitol กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ มุ่งทำตลาดเพลง popular music. ศิลปินที่อยู่ในสังกัดในปี 1950 ประกอดด้วย Frank Sinatra, Judy Garland, The Andrews Systers, Jackie Gleason, Ray Anthony, Andy Griffith, Shirley Bassey, The Kingston Trio, Dean Martin, The Four Freshmen, Al Martino และ Nancy Wilson.

ในปี 1957 บริษัทแผ่นเสียงจาก อังกฤษคือ EMI เข้าครอบครองหุ้นของ Capitol records 96% คิดเป็นจำนวนเงินเงิน 8.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากนั้นไม่นาน EMI ก็สร้างสตูดิโอแห่งใหม่ที่ Hollywood & Vine ในรูปลักษณ์ที่เข้ากันกับรูปลักษณ์สตูดิโอระดับศิลปะชั้นสุดยอด (State-of-the-art)ของ Abbey road Studios ที่สร้างไว้ใน London และได้นำเอาอัลบัม Classics ที่บันทึกในเลเบลของ Angel records (ภายใต้ EMI) มารวมเข้าไว้ใน Capitol ในปี 1957 นี้ด้วย

ปี 1960 Capitol เป็นบริษัทอเมริกันที่มีทั้งศิลปินในสังกัด (รวมทั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอัลบั้มของศิลปินต่าง ๆ) มากมาย เช่น  Badfinger(วง Rock/ Pop จากแคว้น Wales), The Band (Canadian-American Rock & Roll group) , The Beach Boys, The Beatles, Joe Cocker, Grand Funk Railroad, Bobby Darin, Steve Miller band, People, Pink Floyd, Linda Ronstadt, The Human Beinz, และ Peter Tosh

ในยุคปี ’70 Capitol ได้ออกอัลบัมสู่ตลาดให้เลือกได้มากขึ้นอีกโดยเพิ่มอีก 2 เลเบลคือ EMI American records และ EMI Manhattan records จำหน่ายเพลงที่บันทึกจากศิลปินรุ่นใหม่ เช่น April Wine, Blondie, Burning Spear, Buzzcocks, David Bowie, Kim Carnes, Rosanne Cash, George Clinton, Natalie Cole, Sammy Hagar, Heart, John Hiatt, The Knack, Maze, Queen, Bonnie Raitt, The Raspberries, Minnie Riperton, Diana Ross, Bob Seger, The Spacials, Ten Wheel Drive, The Stranglers, Tavares, George Thorogood และ Wings จนกระทั่งในปี 1979 Capitol กลายเป็นแผนกหนึ่งของ EMI Music Worldwide.

Capitol ยังมีศิลปินเพิ่มเติมหลากหลายอีกในปี 1980 ประเภทวง pop music และนักร้องเดียว เช่น Crowded House, Duran Duran, Glass Tiger, Katrina & The Waves, Grace Jones, Kylie Minogue, Lloyd Cole, Pet Shop Boys, R.E.M., Roxette, Brian Setzer, The Smithereens, Spandau Ballet, Tina Turner, และ Paul Westerberg ประเภทวง punk/hard rock เช่น Butthole Surfers, Concrete Blonde, Billy Idol และ Red hot Chili Peppers วง heavy metal เช่น Megadeth, Great White, Poison, และ Queensryche, วง rap เช่น Beastie Boys, Eazy-E, N.W.A ศิลปิน Jazz เช่น Dave Koz นักร้องเพลง soul เช่น Freddie Jackson

ศิลปินยุคปี 90 มี Blind Melon, Garth Brooks, Meredith Brooks, Coldplay, The Dandy Warhols, Dilated Peoples, Doves, Everclear, Geri Halliwell, Ice Cube, Idlewild, Jane’s Addiction, Jimmy Eat World, Ras Kass, Kottonmouth Kings, Ben Lee, Less Than Jake, Luscious Jackson, Tara MacLean, Marcy Playground, Mazzy Star, MC Eiht, MC Hammer, MC Ren, The Moffatts, Moist, Liz Phair, Lisa Marie Presley, Radiohead, Snoop Dogg, Spearhead, Starsailor, Supergrass, Télépopmusik, Television, Richard Thompson, และ  Robbie Williams.

ในปี 2001, อัลบัมของ EMI ออกรวมกับ Capitol Records label ด้วยการใช้เลเบลใหม่ชื่อว่า Priority Records label. ใช้สำหรับอัลบัมเพลง rap มีศิลปินที่บันทึกเช่น Cee-Lo, Ice Cube, Snoop Dogg, and C-Murder, Lil Romeo และ Lil Zane. ส่วนศิลปินอื่น ๆในปี 2000 เช่น Jiggolo, LeToya, Zay, Red Cafe, Alexz Johnson, Aslyn, Auf Der Maur, Big Moe, Borialis, Chingy, The Decemberists. Dexter Freebish, Dirty Vegas, Ebony Eyez, From First To Last, The F-ups, Faith Evans, Faultline, Fischerspooner, Jonny Greenwood, Ed Harcourt, Houston, Van Hunt, Javier, Matthew Jay, Marjorie Fair, Methrone, Dave Navarro, OK Go, Otep, Pru, Relient K, Roscoe, Saosin, Squad Five-0, The Star Spangles, Steriogram, Supervision, Skye Sweetnam, The Vines, Yellowcard, Young Bleed,((young life)) Don Yute, Cherish, Shout Out Louds, Hurt, Corinne Bailey Rae, The Magic Numbers, Hedley, End of Fashion และ Morningwood.

Capitol records Discography

เนื่องจากมีข้อมูลน้อยมากจากเลเบลของ Capitol records จึงได้รวบรวมไว้เฉพาะช่วงที่ยังเป็นเลบเลของบริษัท Capitol records เดิม ที่นักสะสมเสาะแสวงหากัน

เลเบลแรก ประมาณปี 1952-1955 เป็นการบันทึกในระบบ Mono พื้นฉลากสีเขียวอมฟ้าหรือที่เรียกว่า Turquoise ตัวพิมพ์สีเงิน มีโลโก้ของ Capitol อยู่ด้านบน พร้อมด้วยเส้นวงกลมอยู่เสมอด้านล่างของโลโก้ และข้อความ LONG PLAYING อยู่ด้านล่างตามแนวโค้ง

เลเบลต่อมา ในปี 1956 ลายเส้นวงกลมได้หายไป

ต่อมาในปลายปี 1958 รูปแบบเลเบลได้เปลี่ยนใหม่อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการบันทึกในระบบสเตอริโอ กันแล้ว

ในยุคนี้ เลเบลจะเป็นพื้นสีดำ ตัวพิมพ์สีขาว มีวงแหวนสีรุ้งอยู่ขอบนอกของฉลาก และโลโก้เป็นตรา Capitol อยู่ในวงรี และมีข้อความ “STEREO” อยู่ถัดลงไปด้านล่าง

เลเบลแรก โลโก้ อยู่ด้านซ้ายมือ มีข้อความ “LONG PLAYING . HIGH FIDELITY” เขียนตามแนวตั้งพาดผ่านโลโก่

เลเบลที่ 2 ประมาณปี 1960 เปลี่ยนจากข้อความตามแนวตั้ง เป็นเส้นปลายแหลมแทน

เลเบลที่ 3 ประมาณปี 1965 รูปโลโก้ Capitol ย้ายไปอยู่ด้านบน

ในระหว่างนี้ ยังมีเลเบลพิเศษที่ออกมาสำหรับแผ่นบันทึกในระดับ Premium เรียกว่า Full Dimensional Sound (FDS)

แผ่นที่มีเลเบลหลังจากยุคนี้แล้ว ก็ถือเป็นแผ่นธรรมดา ไม่มีใครให้ความสำคัญในการสะสมกัน

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง