เลเบลแผ่นเสียง และ ประวัติ London Classical ffrr/ffss Labelography (1949-1970s) โดย ลุงพง

แผ่นเสียงค่าย London ffrr เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจจากช่วงสงครามโลก  ที่สมัยนั้นเครื่อง Sonar ของทางการทหารไม่สามารถที่จะแยกแยะเรือดำน้ำของฝ่ายพันธมิตรหรือศัตรูออกจากกันได้  งานนี้จึงได้มอบหมายให้ Arthur Haddy  หัวหน้าวิศวกรของ  Decca. แห่งอังกฤษ เขาสามารถเพิ่มความถี่ของสัญญาณ sonar ไปได้ถึง 15000 cycles, ซึ่งไวพอที่จะสามารถแยกแยะชนิดเรือดำน้ำได้อย่างชัดเจน และยังได้รับมอบหมายให้ผลิตแผ่นเสียงสำหรับการสอนฝึกหัดปฎิบัติการด้วย ในการนี้ Haddy ต้องสร้างความถี่ 15000 cycles ลงใน  master discs ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนาเสียงที่ครอบคลุมความถี่ได้กว้างหรือ wide-range ffrr sound.

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง  Decca จึงมี technology ในการบันทึกความถี่ที่กว้างในเชิงพาณิชย์ ( wide-range commercial recordings.) ช่วงเริ่มแรกผลิตเป็นแผ่นครั่ง 78 RPM ผู้ฟังตื่นตลึงจากเสียงที่บรรเลงออกมาในอัลบัม Aram Khachaturian’s Concerto for Piano and Orchestra in D Flat Major with Moura Lympany, piano, and the London Symphony conducted by Anatole Fistoulari (Decca 1145/8).

แม้นว่า  English Decca (American London) ผลิตแผ่นครั่ง 78s หลังสฃครามโลก แต่แผ่นที่ผลิตมาก่อนหน้านี้ก็ใช้เท็คโนโลยี่เดียวกันมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นเสียงในยุค Monaural ที่สุดยอด (astonishing)

เลเบลแรก ใช้ในช่วงที่เริ่มแนะนำแผ่นเสียง London records ในปี 1949 ถึงปี 1950 พื้นฉลากเป็นสีแดงส้ม ตัวพิมพ์ทั้งหมดเป็นสีเงินออกทอง ผิวฉลากออกมันวาว และมีรูป logo เป็น ffrr-ear logo อยู่ในตำแหน่ง 12 น. โดยไม่มีการแสดงเครื่องหมายจดทะเบียน และมีคำว่า MADE IN ENGLAND พิมพ์อยู่ในแนวนอนเหนือรูกลางแผ่นเสียง มีข้อความ UNAUTHORIZED PUBLIC PERFORMANCE, BROADCASTING AND COPYING OF THIS RECORD PROHIBITED พิมพ์อยู่ที่ริมนอกต่มแนวโค้งของฉลากในตำแหน่งเริ่มจาก 8:30 น. ถึง 3:30 น. หมายเลขแผ่นจะนำหน้าด้วย LLP สำหรับ long play 12” และ LPS สำหรับแผ่น 10” หมายเลขเรียงลำดับจะตรงกันทั้งสองขนาด ฉลากนี้จะไม่มีร่องปั้มเป็นเส้นรอยลึกหรือที่เรียกว่า deepgroove แต่จะมีมีรอยปั้มวงกลมเล็กๆที่บุ๋มลงไปตรงกลางแผ่นเสียงห่างจากรูกลางแผ่นเสียง  3/8 นิ้ว โดยรอบ  ขอบแผ่นจะมนเรียว แผ่นรุ่นนี้มีเฉพาะ monaural เท่านั้นและบันทึกภายใต้มาตรฐาน equalization-curve. ปกแผ่นเสียงจะไม่มีข้อความพิมพ์ที่ขอบปก แต่จะพบคำว่า Printed in U.S.A. อยู่ตำแหน่งมุมล่างซ้ายของปกหลัง

Coates, Eric. The Dance of the Orange Blossoms. The Three Bears Suite. The Three Men Suite. New Symphony Orchestra. Eric Coates, conductor. London ffrr LPS 27-10″ (c1949). Recorded in Kingsway Hall.

c1949

เลเบลที่ 2. เลเบลนี้ใช้ในปี 1950 ถึงปี 1951. เหมือนรุ่นแรกแต่จะมีเครื่องหมายจดทะเบียน ® อยู่ซ้ายมือของ ffrr-ear logo ส่วนคำว่า MADE IN ENGLAND ย้ายตำแหน่งพิมพ์อยู่ที่ด้านใต้ฉลากในแนวนอน  หมายเลขแผ่นขึ้นต้นด้วยอักษร LLP ของแผ่น 12 นิ้ว และ  LPS สำหรับแผ่น10 นิ้ว (อย่างไรก็ตามยังมีพบอักษรนำหน้า LD ในบางเลเบล และ อักษร LLPA ใช้เฉพาะกับแผ่น Bizet/Carmen) 

Bach, J.C. Sinfonia for Double String Orchestra in E Flat, Op.18 No. 1. Schubert, Franz. Symphony No. 3 in D (c1815). Cincinnati Symphony. Thor Johnson, conductor. London ffrr LLP 405 (c1951). Recorded in Cincinnati Music Hall, Ohio.

c1951

แผ่นเลเบลที่ 3. นำมาใช้ในปี 1952 และ 1953. รูปแบบฉลากเหมือนกับเลเบลรุ่นที่ 2 แต่หมายเลขแผ่นนำหน้าด้วยอักษร LL สำหรับแผ่น 12 นิ้ว และ LS สำหรับแผ่น 10 นิ้ว (อย่างไรก็ตาม ยังมีใช้อักษรนำหน้าด้วย LLA เฉพาะกับแผ่น Debussy/Pelléas et Mélisandé ที่วางจำหน่าย) ลักษณะ vinyl และขอบแผ่นก็เหมือนเดิมและมีแต่ monoral เท่านั้น ปกก็เหมือนเดิม การเปลี่ยนอักษรนำหน้าลำดับเลขแผ่นจาก LLP เป็น LL พบในแผ่นลำดับท้ายๆของเลขที่ 400s. และยังพบถึงเลขที่ 512 อัลบั้ม: Greig, Edvard; Concerto for Piano and Orchestra in a, Op. 16; Clifford Curzon, piano; London Symphony; Anatole Fistoulari, conductor. และบางครั้งก็พบอักษรนำหน้า LL ในลำดับเลขที่แผ่น 300s. เช่น LL 320 ในอัลบั้ม Boccherini, Luigi; String Quartet in D, Op. 6 No. 1; Haydn, Franz Josef; String Quartet in E Flat, Op. 64 No. 6; New Italian Quartet.

Dvorak, Antonin. Concerto for ‘Cello and Orchestra in b, Op. 104 (c1894). Zara Nelsova, ‘cello. London Symphony. Joseph Krips, conductor. London ffrr LL 537 (c1952).

c1952

แผ่นเลเบลที่ 4. เลเบลนี้ใช้ในปี 1951. พื้นสีฉลากเป็น แดงนำตาล ตัวพิมพ์สีเงินทั้งหมด ผิวฉลากกึ่งมันกึ่งด้าน เครื่องหมาย ffrr-ear logo พร้อมเครื่องหมายจดทะเบียน ® อยู่ในตำแหน่ง 12:00 น. ข้อความ made in u.s.a. พิมพ์ในแนวนอนอยู่ขวามือบนของรูกลางแผ่นเสียง  และข้อความ UNAUTHORIZED PUBLIC PERFORMANCE, BROADCASTING AND COPYING OF THIS RECORD PROHIBITED พิมพ์อยู่ตามแนวล่างขอบฉลากในตำแหน่ง 8:30 น. ถึง 3:30 น.  ใช้อักษรนำหน้าเลขที่แผ่น LLP สำหรับ 12” และ LPS สำหรับ 10” หมายเลขเรียงลำดับอันเดียวกัน ริมขอบแผ่นจะบางคม แผ่นรุ่นนี้จะผลิตในอเมริกา และมีเฉพาะ monaural เท่านั้น 

Strauss, Johann. Egyptian Polka. Eljen a Magyar. Im Kapfenwald’L. Pizzicato Polka. Tales from the Vienna Woods. Train Polka. Strauss, Josef. The Dragon Fly. Jockey. Mein Lebenslauf ist Lieb und Lust. Vienna Philharmonic. Clemens Krauss, conductor. London ffrr LL 484 (c1951).

c1951

แผ่นเลเบลที่ 5. ใช้ในปี 1953 จนถึงปี 1955. พื้นฉลากจะเป็นสีส้มออกแดง ตัวพิมพ์เป็นสีเงินออกทอง ผิวมัน มีโลโก้  The ffrr-ear (พร้อมเครื่องหมายจดทะเบียนอยุ่ใต้ ffrr,) อยู่ในตำแหน่ง 12:00 น. ข้อความ MADE IN ENGLAND พิมพ์อยู่ใต้สุดของฉลากตรงกลางตามแนวโค้ง  และข้อความ All rights of the manufacture and the Owner of the recorded work reserved. Unauthorized public performance, broadcasting and copying of this record prohibited พิมพ์อยู่ที่ขอบฉลากในตำแหน่ง 10:00 น. ถึง 2:00 น. อักษรนำหน้าเลขที่แผ่นจะเป็น LL ในแผ่น 12 นิ้ว และ LS ในแผ่น 10 นิ้ว เรียงลำดับล้อกันเช่นเดิม มีปั้มร่องวงกลมห่างออกมาจากรูกลางแผ่นเสียง ¼ นิ้ว และปั้มร่องวงกลมรอบฉลากห่างจากขอบฉลาก 1/8 นิ้ว ขอบแผ่นมน  ขอบแผ่นรุ่นนี้จะมน มีเฉพาะ monaural เท่นั้น ตัวปกไม่มีพิมพ์ข้อความ แต่มีคำว่า Printed in U.S.A. พิมพ์อยู่ที่ด้านหลังปกที่ตำแหน่งมุมขวา 

Strauss, Richard. Don Quixote, Op. 35 (c1897). Pierre Fournier, ‘cello. Vienna Philharmonic. Clemens Krauss, conductor. London ffrr LL 855 (c1954).

c1953

Britten, Benjamin. A Ceremony of Carols, Op. 28 ( c1942). Copenhagen Boys Choir. Mogens Wöldike, director. Benjamin Britten, conductor. London ffrr LD 9102-10″ (c1954).

c1954

Mozart, Wolfgang Amadeus. Divertimento No. 11 in D, K. 251. Schubert, Franz. Five German Dances. Five Minuets. Stuttgart Chamber Orchestra. Karl Münchinger, conductor. London ffrr LL 1393 (c1956).

c1956

ในฤดูใบไม้ร่งในปี 1958 London นำแผ่นที่บันทึกแบบ ffss หรือ FULL FREQUENCY STEREOPHONIC SOUND  เข้าในตลาดสหรัฐอเมริกา

เลเบลรุ่นนี้เริ่มแนะนำสู่ตลาดในระบบ stereo ตั้งแต่ปี 1958 ถึง 1962. พื้นฉลากสีแดง ตัวพิมพ์สีเงินออกทอง ผิวฉบากกึ่งมันกึ่งด้าน มีโลโก้ ffss อยู่ภายใต้วงกลมที่มีข้อความ FULL FREQUENCY STEREOPHONIC SOUND ในตำแหน่ง 12:00 น. และคำว่า Made in England พิมพ์อยู่ด้านล่างฉลากตำแหน่งตรงกลางตามโค้ง ข้อความ ALL RIGHTS OF THE MANUFACTURE AND THE OWNER OF THE RECORDED WORK RESERVED UNAUTHORIZED PUBLIC PERFORMANCE BROADCASTING AND COPYING OF THIS RECORD PROHIBITED พิมพ์อยู่ตามโค้งของขอบฉลากในตำแหน่งจาก 9:00 น. ถึง 3:00. อักษรนำหน้าเลขแผ่นขึ้นต้นด้วย CS  มีปั้มร่องวงกลมห่างออกมาจากรูกลางแผ่นเสียง ¼ นิ้ว และปั้มร่องวงกลมรอบฉลากห่างจากขอบฉลาก 1/8 นิ้ว ขอบแผ่นมน รุ่นนี้บันทึกในระบบ stereo เท่านั้น 

Falla, Manuel de. El Retablo de Maese Pedro. Julita Bermejo, soprano. Carlos Munguia, tenor. Raimundo, Torres, baritone. National Orchestra of Spain. Concerto for Harpsichord, Flute, Oboe, Clarinet, Violin and ‘Cello.National Orchestra of Spain Soloists. Ataulfo Argenta, conductor. London ffss CS 6028 (c1958).

c1958

ส่วนเลเบลรุ่นนี้ออกมาในเวลาเดียวกันคือช่วงแนะนำแผ่นเสียงในระบบ stereo ปี 1958 ถึงปี 1962. แต่แตกต่างกันที่รอยปั้มร่องวงกลมห่างออกมาจากรูกลางแผ่นเสียง ¼ นิ้ว และปั้มร่องวงกลมรอบฉลากห่างจากขอบฉลาก 5/8 นิ้ว และขอบแผ่นจะบางคม

Frescobaldi, Girolamo and Giorgio Ghedini. Quattro Pezzi. Petrassi, Goffredo. Concerto for Orchestra No. 1. Orchestra of Accademia di Santa Cecilia, Rome. Fernando Previtali, conductor. London ffss CS 6112 (c1960).

c1960

Searle, Humphrey. Symphony No. 1. Seiber, Matyas. Elegy for Viola and Small Orchestra. Cecil Aronowitz, viola. London Symphony. Three Fragments for “A Portrait of an Artist as a Young Man.” Peter Pears, speaker. Dorian Singers. Melos Ensemble. Matyas Seiber, conductor. London ffss CS 6196 (c1961).

c1961

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

ประวัติ และ เลเบลแผ่นเสียง Dolton Records โดย ลุงพง

Dolton records กำเนิดขึ้นในปี 1959 โดย Bob Reisdorff ร่วมกับ Lou Lavinthal และ Bonnie Guitar เริ่มจากบริษัทเล็กๆที่ Seattle ในชื่อดั้งเดิมว่า Dolphin Records เลเบลแรกจะประกอบไปด้วยรูปปลาพร้อมชื่อของปลาโลมา “Dolphin” แต่ต่อมาไม่นานก็พบว่าชื่อนี้ไปซ้ำกับเลเบลแผ่นเสียงอื่น จึงได้รีบเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “Dolton” โดยที่รูปลักษณ์อื่นยังคงเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก อัลบัมแรกจึงยังคงมีเลเบลที่ใช้ชื่อ Dolphin อยู่เป็นซิงเกิลแรก “Come Softly to Me” โดยวง the Fleetwoods กลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก อัลบัมนี้จึงได้ทำขึ้นใหม่ในเลเบล Liberty 55188. เนื่องจากให้ Liberty เป็นผู้จัดจำหน่าย

วง Fleetwoods

Dolton ได้พยายามเสาะหาศิลปิน rock and roll ในท้องถิ่นย่าน Seattle และบริเวณใกล้เคียง นอกจากจะทำสัญญารับวง the Fleetwoods (จาก Olympia) เข้าในสังกัดแล้ว ยังรับวง the Ventures, the Frantics, และ Little Bill and the Bluenotes. พร้อมทั้งศิลปินเอก Bonnie Guitar แม้ว่าจะมีอัลบัมติด chart ไม่มากนัก นอกจาก Fleetwoods, the Ventures และ Vic Dana ก็นับว่าเป็นความสำเร็จของบริษัทเล็กๆ โดยเฉพาะ The Ventures กลายเป็นเสมือนสถาบันประจำค่าย Dolton เลยทีเดียว ได้มีอัลบัมแล้วอัลบัมเล่าที่ทะยอยติดอันดับยอดนิยมอยู่เนืองๆจนถึงปี 1970s ส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นที่บันทึกในระบบ Stereo

Vic Dana

ต้นปี 1960 จากข้อตกลงของสัญญาที่ให้ Liberty เป็นตัวแทนจำหน่าย มาในภายหลังกลับกลายเป็นขายให้แก่ Liberty ไป ฉะนั้น Dolton จึงกลายเป็นบริษัทในเครือของ Liberty ไป และต้องย้ายไปอยู่ที่ Los Angeles

วง the Ventures

ต่อมาในปี1967 Liberty ตัดสินใจเลิกใช้เลเบลนี้ แต่ยังคงใช้หมายเลขแผ่นเรียงตามเดิม สำหรับอัลบัมของ The Ventures และ Vic Dana ไปอีกกว่า 2 ปี และแล้วหลังจานั้น Liberty ก็ถูกซื้อกิจการไปโดย United Artists อัลบัมทั้งหมดของศิลปินจาก Dolton จึงออกมาในเลเบลของ UA.

หากมองย้อนกลับไป จะพบกับบางสิ่งที่น่าสนใจเรียกว่า “Guitar Phonics” ส่งผลให้เป็นอัลบัมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการใช้นิ้วดีดกีตาร์ด้วยทักษะมากกว่าการเล่นตามตัวโน้ท ในปี 1990 อัลบัมเกือบทั้งหมดของ the Ventures (รวมทั้งอัลบัม “Guitar Phonics”) ได้มีการทำขึ้นมาใหม่(reissue) ในรูปแบบของ CD.

เลเบล Dolphin No. 1

เลเบลแรกจะเป็นแผ่น Single ซึ่งในฉลากใช้ชื่อ Dolphin No. 1 (รูปด้านบน) มีสีฟ้าเป็นพื้นและตัวพิมพ์สีน้ำเงิน มีรูปปลาหลายตัวอยู่เหนือรูแผ่นเสียง มีอักษร “DOLPHIN” ตัวพิมพ์ใหญ่เรียงตามแนวตั้งและเส้นตรงตามแนวดิ่งอยู่ด้านซ้ายมือของฉลาก ต่อมาเปลี่ยนเป็น Liberty เป็นตัวแทนจำหน่าย (รูปขวามือ)หลังจากทราบว่าชื่อเดิมไปซ้ำกับค่ายอื่นที่มีใช้มาก่อน

ชื่อ “Dolphin” ได้ถูกแทนที่ด้วยชื่อ “Dolton” อย่างรวดเร็ว โดยมีรูปลักษณ์แบบเดิม และมีรายละเอียดที่อยู่พิมพ์อยู่ด้านล่างฉลากสำหรับเลเบลแรกๆ ปี 1959 (รูปบน) คือ 708 6th Avenue North, Seattle 9, Washington. ส่วนเลเบลในปี 1960 คือ 622 Union Street, Seattle 1, Washington.

แผ่น 12″ green มีตัว dolton ด้านบน

Dolton ยังได้ออกอัลบัม Single ชนิด Stereo ระหว่างปี 1959 ด้านซ้ายมือเป็นฉลากสีเขียวใช้สำหรับ Dolton S-22-3 เป็นอัลบัมระบบ Stereo คล้ายๆกับรูปแบบของเลเบลแรก แต่เปลี่ยนตำแหน่งชื่อ Dolton ไปอยู่ด้านบนเหนือรูแผ่นเสียง ส่วนด้านซ้ายมือไม่มีเส้นตรงดิ่งแต่เป็นบริเวณเฉดสีแทนและคำว่า STEREO มาแทนที่ขื่อ และรูปแบบนี้ก็ใช้กับอัลบัมยุคแรกๆ (รูปขวามือ) โดยระบบ stereo มีสีพื้นน้ำเงินเข้ม ส่วนระบบ Mono สีพื้นจะเป็นสีฟ้าแทน

สำหรับเลเบลรุ่นที่ 3 จะมีรูปปลาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลายเส้นขอบ อยู่ติดเหนือรูแผ่นเสียง ใน version Mono จะเป็นตัวพิมพ์สีน้ำเงินเข้มบนพื้นสีฟ้าอ่อนๆ (รูปซ้ายมือ) ส่วน version Stereo (รูปขวามือ) จะเป็นตัวพิมพ์เทาอ่อนบนพื้นเทาแก่ เลเบลรุ่นนี้ใช้ที่อยู่ของ Liberty Records ใน Los Angeles พิมพ์อยู่รอบขอบฉลากด้านล่าง

เมื่อ Dolton ถูกซื้อกิจการไปโดย Liberty จึงมีการเปลี่ยนรูปแบบฉลากอีกครั้งเป็นเลเบลรุ่นที่ 4 มีสีพื้นฉลากเป็นทั้งมีสีน้ำเงิน และน้ำเงินเข้ม มีรูปโลโก DOLTON หลากสีอยู่ซ้ายมือ มีข้อความตามแนวขอบล่างฉลากว่า “A Division of Liberty Records, Inc.” รูปแบบนี้ใช้ทั้ง version mono และ stereo เริ่มจาก catalog number 8015.

ส่วนเลเบลรุ่นที่ 5 ถูกใช้ในกลางปีถึงปลายปี 1960 เริ่มจาก catalog number 8036 มีพื้นฉลากสีดำอยู่บริเวณส่วนใหญ่และสีฟ้าอยู่ติดกันด้านซ้ายมือ รูปแบบฉลากรุ่นนี้จะคล้ายกับรูปแบบฉลากของบริษัทแม่คือ Liberty ในช่วงระยะเดียวกัน มีโลโกแบบใหม่รูปตัว “D” ขนาดใหญ่ และด้านใต้รูปตัว “D” มีข้อความ “Dolton, A Product of Liberty Records.”

อัลบัมหลังจากหมายเลข BST-8050 จะใช้เป็นเลเบลปกติของ Liberty โดยยังคงหมายเลขตามแบบเดิมของ Dolton

BLP-8001/BST-8001 – Mr. Blue – Fleetwoods [1959] Confidential/The Three Caballeros/Raindrops Teardrops/You Mean Everything To Me/Oh Lord Let It Be/Come Softly To Me//Serenade Of The Bells/Unchained Melody/We Belong Together/Come Go With Me/I Care So Much/Mr. Blue

BLP-8003/BST-8003 – Walk Don’t Run – Ventures [1960] (12-60, #11) Morgen (S)/Raunchy (S)/Home (S)/My Own True Love (Tara’s Theme) (S)/The Switch (S)/Walk Don’t Run (E)//Night Train (S)/ No Trespassing (E)/Caravan (S)/Sleep Walk (S)/The McCoy (S)/Honky Tonk (S)

BLP-8004/BST-8004 – The Ventures – Ventures [1961] (9-61, #105) The Shuck (S)/Detour (S)/Ram-Bunk-Shush (S)/Hawaiian War Chant (S)/Perfidia (S)/Harlem Nocturne (S)//Blue Tango (S)/Ups ‘N Downs (S)/Lonesome Road (S)/Torquay (S)/Wailin’ (S)/Moon Of Manakoora (S)

BLP-8007/BST-8007 – Deep in a Dream – Fleetwoods [1961] Lavender Blue/Poor Little Girl/Daddy’s Home/A Teenager In Love/Paradise Lost/Hey Little Tear//Little Girl Blue/Great Impostor/Lah-Dee-Dah/Blues Go Away/Lonely Cup Of Coffee/One Little Star

BLP-8017/BST-8017 – Going to the Ventures’ Dance Party – Ventures [1962] (11- 62, #93) Mr. Moto (S)/Theme From “Come September” (S)/Ya Ya Wobble (S)/Night Drive (S)/Venus (S)/The Intruder (S)//Gandy Dancer (S)/Sweet And Lovely (S)/Limbo Rock (S)/Lolita Ya-Ya (S)/Loco-Motion (S)/Gully-ver (S)

BLP-8019/BST-8019 – The Ventures Play Telstar, The Lonely Bull and Others – Ventures [1962] (1-63, #8) Telstar (S)/The Lonely Bull (S)/Mexico (S)/Calcutta (S)/Apache (S)/Never On Sunday (S)//Tequila (S)/Green Onions (S)/Percolator (S)/Red River Rock (S)/Let There Be Drums (S)/Last Night (S)

BLP-8024/BST-8024 – Let’s Go!! – Ventures [1963] (8-63, #30) Memphis (S)/Let’s Go (S)/More (S)/El Watusi (S)/Walk Right In (S)/Sukiyaki (S)//New Orleans (S)/So Fine (S)/Wipe Out (S)/Hot Pastrami (S)/Runaway (S)/Over The Mountain Across The Sea (S)

BLP-8027/BST-8027 – The Ventures in Space – Ventures [1963] (1-64, #27) Out Of Limits (S)/He Never Came Back (S)/Moon Child (S)/Fear (S)/Exploration In Terror (S)/War Of The Satellites (S)//The Bats (S)/Penetration (S)/Love Goddess Of Venus (S)/Solar Race (S)/The Fourth Dimension (S)/The Twilight Zone (S)

BLP-8029/BST-8029 – The Fabulous Ventures – Ventures [1964] (7-64, #32) Needles And Pins (S)/Runnin’ Wild (S)/Eleventh Hour (S)/The Cruel Sea (S)/Scratchin’ (S)/Tall Cool One (S)//Only The Young (S)/Journey To The Stars (S)/Fugitive (S)/Ravin’ Blue (S)/Walkin’ With Pluto (S)/The Pink Panther Theme (S)

BLP-8031/BST-8031 – Walk Don’t Run, Volume 2 – Ventures [1964] (10-64, #17) The House Of The Rising Sun (S)/Diamond Head (S)/Night Train ’64 (S)/Peach Fuzz (S)/Rap City (S)/Blue Star (S)//Walk Don’t Run ’64 (S)/Night Walk (S)/One Mint Julep (S)/Pedal Pusher (S)/The Creeper (S)/Stranger On The Shore (S)

BLP-8037/BST-8037 – The Ventures a Go-Go – Ventures [1965] (9-65, #16) Satisfaction (S)/Go-Go Slow (S)/ Louie Louie (S)/Night Stick (S)/La Bamba (S)/The “In” Crowd (S)//Wooly Bully (S)/A Go-Go Guitar (S)/A Go-Go Dancer (S)/The Swingin’ Creeper (S)/Whittier Blvd. (S)/I Like It Like That (S)

LRP-8052/LST-8052 – Super Psychedelics – Ventures [1967] (6-67, #69) Strawberry Fields Forever (S)/Psychedelic Venture (S)/Western Union (S)/Guitar Psychedelics (S)/Kandy Koncoction (S)/Reflections (S)//A Little Bit Me A Little Bit You (S)/Endless Dream (S)/Vibrations (S)/Psyched-Out (S)/1999 A.D. (S)/Happy Together (S)

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง