Dolton records กำเนิดขึ้นในปี 1959 โดย Bob Reisdorff ร่วมกับ Lou Lavinthal และ Bonnie Guitar เริ่มจากบริษัทเล็กๆที่ Seattle ในชื่อดั้งเดิมว่า Dolphin Records เลเบลแรกจะประกอบไปด้วยรูปปลาพร้อมชื่อของปลาโลมา “Dolphin” แต่ต่อมาไม่นานก็พบว่าชื่อนี้ไปซ้ำกับเลเบลแผ่นเสียงอื่น จึงได้รีบเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “Dolton” โดยที่รูปลักษณ์อื่นยังคงเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก อัลบัมแรกจึงยังคงมีเลเบลที่ใช้ชื่อ Dolphin อยู่เป็นซิงเกิลแรก “Come Softly to Me” โดยวง the Fleetwoods กลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก อัลบัมนี้จึงได้ทำขึ้นใหม่ในเลเบล Liberty 55188. เนื่องจากให้ Liberty เป็นผู้จัดจำหน่าย
Dolton ได้พยายามเสาะหาศิลปิน rock and roll ในท้องถิ่นย่าน Seattle และบริเวณใกล้เคียง นอกจากจะทำสัญญารับวง the Fleetwoods (จาก Olympia) เข้าในสังกัดแล้ว ยังรับวง the Ventures, the Frantics, และ Little Bill and the Bluenotes. พร้อมทั้งศิลปินเอก Bonnie Guitar แม้ว่าจะมีอัลบัมติด chart ไม่มากนัก นอกจาก Fleetwoods, the Ventures และ Vic Dana ก็นับว่าเป็นความสำเร็จของบริษัทเล็กๆ โดยเฉพาะ The Ventures กลายเป็นเสมือนสถาบันประจำค่าย Dolton เลยทีเดียว ได้มีอัลบัมแล้วอัลบัมเล่าที่ทะยอยติดอันดับยอดนิยมอยู่เนืองๆจนถึงปี 1970s ส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นที่บันทึกในระบบ Stereo
ต้นปี 1960 จากข้อตกลงของสัญญาที่ให้ Liberty เป็นตัวแทนจำหน่าย มาในภายหลังกลับกลายเป็นขายให้แก่ Liberty ไป ฉะนั้น Dolton จึงกลายเป็นบริษัทในเครือของ Liberty ไป และต้องย้ายไปอยู่ที่ Los Angeles
ต่อมาในปี1967 Liberty ตัดสินใจเลิกใช้เลเบลนี้ แต่ยังคงใช้หมายเลขแผ่นเรียงตามเดิม สำหรับอัลบัมของ The Ventures และ Vic Dana ไปอีกกว่า 2 ปี และแล้วหลังจานั้น Liberty ก็ถูกซื้อกิจการไปโดย United Artists อัลบัมทั้งหมดของศิลปินจาก Dolton จึงออกมาในเลเบลของ UA.
หากมองย้อนกลับไป จะพบกับบางสิ่งที่น่าสนใจเรียกว่า “Guitar Phonics” ส่งผลให้เป็นอัลบัมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการใช้นิ้วดีดกีตาร์ด้วยทักษะมากกว่าการเล่นตามตัวโน้ท ในปี 1990 อัลบัมเกือบทั้งหมดของ the Ventures (รวมทั้งอัลบัม “Guitar Phonics”) ได้มีการทำขึ้นมาใหม่(reissue) ในรูปแบบของ CD.
- สนใจหาแผ่นเสียงมือสอง Doltont Records? ลองดูในบอร์ดซื้อขายแผ่นเสียงที่นี่
เลเบลแรกจะเป็นแผ่น Single ซึ่งในฉลากใช้ชื่อ Dolphin No. 1 (รูปด้านบน) มีสีฟ้าเป็นพื้นและตัวพิมพ์สีน้ำเงิน มีรูปปลาหลายตัวอยู่เหนือรูแผ่นเสียง มีอักษร “DOLPHIN” ตัวพิมพ์ใหญ่เรียงตามแนวตั้งและเส้นตรงตามแนวดิ่งอยู่ด้านซ้ายมือของฉลาก ต่อมาเปลี่ยนเป็น Liberty เป็นตัวแทนจำหน่าย (รูปขวามือ)หลังจากทราบว่าชื่อเดิมไปซ้ำกับค่ายอื่นที่มีใช้มาก่อน
ชื่อ “Dolphin” ได้ถูกแทนที่ด้วยชื่อ “Dolton” อย่างรวดเร็ว โดยมีรูปลักษณ์แบบเดิม และมีรายละเอียดที่อยู่พิมพ์อยู่ด้านล่างฉลากสำหรับเลเบลแรกๆ ปี 1959 (รูปบน) คือ 708 6th Avenue North, Seattle 9, Washington. ส่วนเลเบลในปี 1960 คือ 622 Union Street, Seattle 1, Washington.
Dolton ยังได้ออกอัลบัม Single ชนิด Stereo ระหว่างปี 1959 ด้านซ้ายมือเป็นฉลากสีเขียวใช้สำหรับ Dolton S-22-3 เป็นอัลบัมระบบ Stereo คล้ายๆกับรูปแบบของเลเบลแรก แต่เปลี่ยนตำแหน่งชื่อ Dolton ไปอยู่ด้านบนเหนือรูแผ่นเสียง ส่วนด้านซ้ายมือไม่มีเส้นตรงดิ่งแต่เป็นบริเวณเฉดสีแทนและคำว่า STEREO มาแทนที่ขื่อ และรูปแบบนี้ก็ใช้กับอัลบัมยุคแรกๆ (รูปขวามือ) โดยระบบ stereo มีสีพื้นน้ำเงินเข้ม ส่วนระบบ Mono สีพื้นจะเป็นสีฟ้าแทน
สำหรับเลเบลรุ่นที่ 3 จะมีรูปปลาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลายเส้นขอบ อยู่ติดเหนือรูแผ่นเสียง ใน version Mono จะเป็นตัวพิมพ์สีน้ำเงินเข้มบนพื้นสีฟ้าอ่อนๆ (รูปซ้ายมือ) ส่วน version Stereo (รูปขวามือ) จะเป็นตัวพิมพ์เทาอ่อนบนพื้นเทาแก่ เลเบลรุ่นนี้ใช้ที่อยู่ของ Liberty Records ใน Los Angeles พิมพ์อยู่รอบขอบฉลากด้านล่าง
เมื่อ Dolton ถูกซื้อกิจการไปโดย Liberty จึงมีการเปลี่ยนรูปแบบฉลากอีกครั้งเป็นเลเบลรุ่นที่ 4 มีสีพื้นฉลากเป็นทั้งมีสีน้ำเงิน และน้ำเงินเข้ม มีรูปโลโก DOLTON หลากสีอยู่ซ้ายมือ มีข้อความตามแนวขอบล่างฉลากว่า “A Division of Liberty Records, Inc.” รูปแบบนี้ใช้ทั้ง version mono และ stereo เริ่มจาก catalog number 8015.
ส่วนเลเบลรุ่นที่ 5 ถูกใช้ในกลางปีถึงปลายปี 1960 เริ่มจาก catalog number 8036 มีพื้นฉลากสีดำอยู่บริเวณส่วนใหญ่และสีฟ้าอยู่ติดกันด้านซ้ายมือ รูปแบบฉลากรุ่นนี้จะคล้ายกับรูปแบบฉลากของบริษัทแม่คือ Liberty ในช่วงระยะเดียวกัน มีโลโกแบบใหม่รูปตัว “D” ขนาดใหญ่ และด้านใต้รูปตัว “D” มีข้อความ “Dolton, A Product of Liberty Records.”
อัลบัมหลังจากหมายเลข BST-8050 จะใช้เป็นเลเบลปกติของ Liberty โดยยังคงหมายเลขตามแบบเดิมของ Dolton
BLP-8001/BST-8001 – Mr. Blue – Fleetwoods [1959] Confidential/The Three Caballeros/Raindrops Teardrops/You Mean Everything To Me/Oh Lord Let It Be/Come Softly To Me//Serenade Of The Bells/Unchained Melody/We Belong Together/Come Go With Me/I Care So Much/Mr. Blue
BLP-8003/BST-8003 – Walk Don’t Run – Ventures [1960] (12-60, #11) Morgen (S)/Raunchy (S)/Home (S)/My Own True Love (Tara’s Theme) (S)/The Switch (S)/Walk Don’t Run (E)//Night Train (S)/ No Trespassing (E)/Caravan (S)/Sleep Walk (S)/The McCoy (S)/Honky Tonk (S)
BLP-8004/BST-8004 – The Ventures – Ventures [1961] (9-61, #105) The Shuck (S)/Detour (S)/Ram-Bunk-Shush (S)/Hawaiian War Chant (S)/Perfidia (S)/Harlem Nocturne (S)//Blue Tango (S)/Ups ‘N Downs (S)/Lonesome Road (S)/Torquay (S)/Wailin’ (S)/Moon Of Manakoora (S)
BLP-8007/BST-8007 – Deep in a Dream – Fleetwoods [1961] Lavender Blue/Poor Little Girl/Daddy’s Home/A Teenager In Love/Paradise Lost/Hey Little Tear//Little Girl Blue/Great Impostor/Lah-Dee-Dah/Blues Go Away/Lonely Cup Of Coffee/One Little Star
BLP-8017/BST-8017 – Going to the Ventures’ Dance Party – Ventures [1962] (11- 62, #93) Mr. Moto (S)/Theme From “Come September” (S)/Ya Ya Wobble (S)/Night Drive (S)/Venus (S)/The Intruder (S)//Gandy Dancer (S)/Sweet And Lovely (S)/Limbo Rock (S)/Lolita Ya-Ya (S)/Loco-Motion (S)/Gully-ver (S)
BLP-8019/BST-8019 – The Ventures Play Telstar, The Lonely Bull and Others – Ventures [1962] (1-63, #8) Telstar (S)/The Lonely Bull (S)/Mexico (S)/Calcutta (S)/Apache (S)/Never On Sunday (S)//Tequila (S)/Green Onions (S)/Percolator (S)/Red River Rock (S)/Let There Be Drums (S)/Last Night (S)
BLP-8024/BST-8024 – Let’s Go!! – Ventures [1963] (8-63, #30) Memphis (S)/Let’s Go (S)/More (S)/El Watusi (S)/Walk Right In (S)/Sukiyaki (S)//New Orleans (S)/So Fine (S)/Wipe Out (S)/Hot Pastrami (S)/Runaway (S)/Over The Mountain Across The Sea (S)
BLP-8027/BST-8027 – The Ventures in Space – Ventures [1963] (1-64, #27) Out Of Limits (S)/He Never Came Back (S)/Moon Child (S)/Fear (S)/Exploration In Terror (S)/War Of The Satellites (S)//The Bats (S)/Penetration (S)/Love Goddess Of Venus (S)/Solar Race (S)/The Fourth Dimension (S)/The Twilight Zone (S)
BLP-8029/BST-8029 – The Fabulous Ventures – Ventures [1964] (7-64, #32) Needles And Pins (S)/Runnin’ Wild (S)/Eleventh Hour (S)/The Cruel Sea (S)/Scratchin’ (S)/Tall Cool One (S)//Only The Young (S)/Journey To The Stars (S)/Fugitive (S)/Ravin’ Blue (S)/Walkin’ With Pluto (S)/The Pink Panther Theme (S)
BLP-8031/BST-8031 – Walk Don’t Run, Volume 2 – Ventures [1964] (10-64, #17) The House Of The Rising Sun (S)/Diamond Head (S)/Night Train ’64 (S)/Peach Fuzz (S)/Rap City (S)/Blue Star (S)//Walk Don’t Run ’64 (S)/Night Walk (S)/One Mint Julep (S)/Pedal Pusher (S)/The Creeper (S)/Stranger On The Shore (S)
BLP-8037/BST-8037 – The Ventures a Go-Go – Ventures [1965] (9-65, #16) Satisfaction (S)/Go-Go Slow (S)/ Louie Louie (S)/Night Stick (S)/La Bamba (S)/The “In” Crowd (S)//Wooly Bully (S)/A Go-Go Guitar (S)/A Go-Go Dancer (S)/The Swingin’ Creeper (S)/Whittier Blvd. (S)/I Like It Like That (S)
LRP-8052/LST-8052 – Super Psychedelics – Ventures [1967] (6-67, #69) Strawberry Fields Forever (S)/Psychedelic Venture (S)/Western Union (S)/Guitar Psychedelics (S)/Kandy Koncoction (S)/Reflections (S)//A Little Bit Me A Little Bit You (S)/Endless Dream (S)/Vibrations (S)/Psyched-Out (S)/1999 A.D. (S)/Happy Together (S)
บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง