- เลเบลยุคแรกนี้เริ่มตั้งแต่เปิดตัว Red Seal LP ในปี 1950 จนถึงปี 1954. พื้นฉลากจะเป็นสีแดง maroon รูปโลโก้ Dog-Gramophone เป็นลายเส้นขอบ รหัสหมายเลขแผ่นนำหน้าด้วยอักษร LM เป็นระบบ mono เท่านั้น ใช้กับแผ่นชนิด Long Play Microgroove. แผ่นรุ่นแรกๆจะหนักและแข็ง รุ่นหลังจะเบากว่าและบิดงอได้เล็กน้อย
a. เริ่มปี 1950 ถึงราวปี 1951 เป็นเลเบลที่มีผิวฉลากมัน โลโก้ Dog-Gramophone เป็นลายเส้นขอบ ตัวพิมพ์สีทองหรือทองออกเงิน
b. เริ่มจากปี 1951 ถึงปี 1954 เป็นเลเบลที่มีผิวฉลากด้าน โลโก้ Dog-Gramophone เป็นลายเส้นขอบ ตัวพิมพ์เป็นสีเงิน
อัลบัมแรกที่ออกในยุคนี้คือ:
- Wagner, Richard. Siegfried: Act III, Scene III (1876). Eileen Farrell, soprano. Set Svanholm, tenor. Rochester Philharmonic. Erich Leinsdorf, conductor. RCA Victor Red Seal LM 1000 12″ (1950).
- Dvôrák, Antonin. Husitská Overture, Op. 67 (1883). Smetana, Bedrich. The Moldau (1879). Boston Pops. Arthur Fiedler, conductor. RCA Victor Red Seal LM 1 10″ (1950).
2. เลเบลรุ่นนี้เริ่มใช้ในปี 1951 ถึงปลายปี 1954. สีพื้นฉลากเป็นสีทองหรือสีเงินออกมาทางทอง โลโก้ Dog-Gramophone เป็นลายเส้นขอบสีแดง maroon ตัวพิมพ์ก็สีแดง maroon เช่นกัน รหัสเลขที่แผ่นนำหน้าด้วยอักษร LCT เป็นระบบ mono รุ่นที่ทำบันทึกใหม่มาจากรุ่นที่ทำแผ่นครั่ง 78 RPM เสียงจึงไม่สามารถจะเทียบกับแผ่นรหัสเลขที่นำหน้าด้วย LM ได้ รุ่นที่ออกแรกๆจะเป็นอผ่นที่หนักและแข็ง ส่วนรุ่นที่ออกทีหลังเนื้อแผ่นจะเบากว่าและบิดงอได้เล็กน้อย
อัลบัมแรกที่ออกในยุคนี้คือ:
- Genius at the Keyboard: A Treasury of Immortal Performances. RCA Victor Red Seal LCT 1000 12″ (1951).
- Composers’ Favorite Interpretations: A Treasury of Immortal Performances. RCA Victor Red Seal LCT 1 10″ (1951).
ในปี 1954 recordings on this label became part of Label No. 4, with some of them having their prefix changed to LVT.
3. เลเบลนี้ใช้ตั้งแต่ต้นปี 1954 ตลอดจนถึงปี 1956. สีพื้นฉลากจะป็นสี แดงและสีเงิน โลโก้ Dog-Gramophone เป็นภาพสี โดยมีพื้นหลังสีแดงน้ำตาลล้อมรอบเรียกว่า shaded dog ตัวพิมพ์เป็นสีเงินบนส่วนพื้นที่เป็นสีแดง และตัวพิมพ์สีแดงบนส่วนพื้นที่เป็นสีเงิน รหัสนำหน้าเลขแผ่นขึ้นต้นด้วย LHMV เป็นระบบ mono ทุกการบันทึกในรุ่นนี้เป็นการแสดงที่มาจากแค๊ตตาล๊อคของ English HMV ทั้งสิ้น ซึ่งทำเฉพาะเจาะจงดดยใช้เลเบลนี้
หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคนี้คือ:
Stravinsky, Igor. Rite of Spring (1913). Philharmonia Orchestra. Igor Markevitch, conductor. RCA Victor Red Seal LHMV 1 (1954).
4. เลเบลนี้ออกใช้ในปี 1954 ถึงปี 1958. พื้นสีฉลากเป็นสีแดงกล่ำหรือน้ำตาลออกม่วง โลโก้ Dog-Gramophone เป็นภาพสี โดยมีพื้นหลังสีแดงน้ำตาลล้อมรอบ ตัวพิมพ์เป็นสีเงินบนส่วนพื้นที่เป็นสีแดง และตัวพิมพ์สีเงิน รหัสนำหน้าเลขแผ่นมักขึ้นต้นด้วย LM เป็นระบบ mono
a. เลเบลนี้มีข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้ดลโก้ Dog-Gramophone ที่แสดงให้ทราบว่าเป็นการบันทึกเสียงด้วยระบบที่ให้คุณภาพดี
b. เลเบลนี้มีข้อความ HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone ที่แสดงให้ทราบว่าเป็นการบันทึกเสียงด้วยระบบที่ให้คุณภาพดี มักจะบันทึกการแสดงสดใน studio หรือแสดงสดจาก concert
c. เลเบลนี้ไม่มีอะไรพิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone เป็นการแสดงให้ทราบว่าเป็นการบันทึกใหม่มาจากรุ่นแผ่นครั้ง 78 RPM คุณภาพเสียงด้อยกว่าทั่วไป
หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคนี้คือ:
- Strauss, Richard. Also sprach Zarathustra, Op. 30 (1896). Chicago Symphony. Fritz Reiner, conductor. RCA Victor Red Seal LM 1806 (1954).
5. เลเบลนี้ออกใช้ในปลายปี 1958 ถึงปลายปี 1964 พื้นสีฉลากเป็นสีแดงส้ม โลโก้ Dog-Gramophone เป็นภาพสี โดยมีพื้นหลังสีแดงน้ำตาลล้อมรอบ(Shaded Dog) ตัวพิมพ์เป็นสีทอง รหัสนำหน้าเลขแผ่นมักขึ้นต้นด้วย LM (ระบบ mono) และ LSC (ระบบ Stereo) นอกจากนั้นยังมีรหัสขึ้นต้นด้วย LS, LD, LSS, LDS และ LVT.
- จากปลายปี 1958 ถึงราวปี 1960 แผ่น mono จะมีข้อความ : TRADE MARKS ® REGISTERED · MARCUS REGISTRADAS · . . . . . MADE IN U.S.A.. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. และข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และข้อความ LONG 33 1/3 PLAY พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลาง
- จากประมาณปี 1958 ถึงปี 1962 แผ่น mono จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. และข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และข้อความ LONG 33 1/3 PLAY พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลาง
- ในปี 1962 แผ่น mono จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. และข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และข้อความ LONG 33 1/3 PLAY พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลาง
- จากปี 1962 ถึงปลายปี 1964 แผ่น mono จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY ที่เคยมีอยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone นั้นถูกตัดทิ้งไป และมีคำว่า MONO พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลาง
- ในปี 1963 และปี 1964 แผ่น mono จะมีคำว่า DYNAGROOVE เป็นอักษรตัวหนาพิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลางโดยมีคำว่า MONO เป็นตัวอักษรเล็กพิมพ์ติดอยู่ทั้งซ้ายและขวา
- ในปี 1958 และปี 1959 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TRADE MARKS ® REGISTERED · MARCUS REGISTRADAS · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และมีคำว่า LIVING STEREO ตัวอักษรขนาด 5/32 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
- ในปี 1959 และปี 1960 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TRADE MARKS ® REGISTERED · MARCUS REGISTRADAS · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และมีคำว่า LIVING STEREO ตัวอักษรขนาด 13/64 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
- เริ่มตั้งแต่ราวปี 1960 จนถึงปี 1962 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และมีคำว่า LIVING STEREO ตัวอักษรขนาด 13/64 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
- ในปี 1962 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY ที่เคยมีพิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone นั้น ถูกยกเลิกไป แต่ยังมีคำว่า LIVING STEREO ตัวอักษรขนาด 13/64 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
- ตั้งแต่ปี 1962 จนถึงปี 1964 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY ที่เคยมีพิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone นั้น ถูกยกเลิกไป และมีคำว่า STEREO ตัวอักษรขนาด 13/64 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคเลเบลข้อ 5 นี้คือ:
Tchaikovsky, Peter Ilyich. Symphony No. 6 in B Minor, Op. 74 “Pathétique” (1893). Boston Symphony. Pierre Monteux, conductor. RCA Victor Red Seal LM/LSC 1901 (1958).
(In about 1962, recordings with the LD and LDS prefixes became Label No. 6.)
6. พอเริ่มจากปี 1962 คลอดจนถึงปลายปี 1968 พื้นฉลากจะเปลี่ยนเป็นสีแดงมะเขือเทศ โลโก้ Dog-Gramophone ได้ถูกยกเลิกไป ตัวพิมพ์เป็นสีเงิน รหัสหมายเลขแผ่นนำหน้าด้วยอักษร LD หรือ LDS น่าจะมาจากคำว่า Long Play Deluxe และ Long Play Deluxe Stereophonic. แผ่นในยุคนี้มีทั้ง monaural และ stereophonic.
- สำหรับแผ่นในระบบ Mono นั้นในปี 1962 จะมีพิมพ์คำว่า LONG 33 1/3 PLAY ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
- สำหรับแผ่นในระบบ Mono นั้นในปี 1963 และปี 1964 จะมีพิมพ์คำว่า MONO ขนาดตัวอักษร 13/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
- สำหรับแผ่นในระบบ Stereo นั้นในปี 1962 จะมีพิมพ์คำว่า LIVING STEREO ขนาดตัวอักษร 13/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
- สำหรับแผ่นในระบบ Stereo นั้นในปี 1963 และปี 1964 จะมีพิมพ์คำว่า STEREO ขนาดตัวอักษร 13/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก แผ่นเหล่านี้มีหลายอัลบัมที่ทำการบันทึกจากต่างประเทศ
7. แผ่นยุคเลเบลตั้งแต่ปลายปี 1964 ถึงปลายปี 1968 พื้นฉลากจะเป็นสีแดงมะเขือเทศ โลโก้ Dog-Gramophone เป็นรูปสีเต็ม แต่ไม่มีสีพื้นหลังล้อมรอบเหมือนรุ่น Shade Dog ตัวพิมพ์เป็นสีดำ ยกเว้นรุ่นเลเบลที่มีโลโก้อักษร RCA Victor ตัวใหญ่พิมพ์อยู่ด้านบนของฉลาก ซึ่งตัวพิมพ์ในฉลากจะเป็นสีขาว รหัสหมายเลขแผ่นมักนำหน้าด้วยอักษร LM หรือ LSC แผ่นในยุคนี้มีทั้ง monaural และ stereophonic.
- สำหรับแผ่นในระบบ Mono นั้น จะมีพิมพ์คำว่า MONO ขนาดตัวอักษร 9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
- หลังจากปี 1965 แผ่นในระบบ Mono นั้น จะมีพิมพ์คำว่า MONAURAL ขนาดตัวอักษร 9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
- ยังมีแผ่นในระบบ Mono ที่มีพิมพ์คำว่า MONO DYNAGROOVE ขนาดตัวอักษร 9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
- สำหรับแผ่นในระบบ Stereo นั้น จะมีพิมพ์คำว่า STEREO ขนาดตัวอักษร 9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
- สำหรับแผ่นในระบบ Stereo ที่มีพิมพ์คำว่า STEREO DYNAGROOVE ขนาดตัวอักษร 9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
- ในปี 1967 และ 1968 ที่มีพิมพ์คำว่า DYNAGROOVE STEREO MIRACLE SURFACE ขนาดตัวอักษร 9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคเลเบลนี้คือ:
Beethoven, Ludwig v. String Quartet No. 15 in A Minor, Op. 132 (1825). Juilliard String Quartet. RCA Victor Red Seal LM/LSC 2765 (1964).
8. สำหรับเลเบลที่ใช้ในปลายปี 1968 ถึงกลางปี 1976 พื้นฉลากจะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม โลโก้ Dog-Gramophone ได้ถูกยกเลิกไป จะมีโลโก้ใหม่เป็นตัวอักษร RCA ใหญ่ตัวขอบสีขาวพิมพ์อยู่ในแนวตั้งทางด้านซ้ายของฉลาก และมีคำว่า Red Seal ตัวอักษรสีขาวพิมพ์อยู่ในตำแหน่งด้านขวาของรูกลางแผ่นเสียงจนจรดขอบขวาของฉลาก ตัวพิมพ์นอกเหนือจากนั้นทั้งหมดเป็นสีดำ รหัสหมายเลขแผ่นดดยทั่วไปนำหน้าด้วยอักษร LSC แผ่นในยุคนี้เกือบทั้งหมดเป็นระบบ stereophonic
- เลเบลรุ่นที่ออกในปลายปี 1968 ถึงกลางปี 1971:
จะมีคำว่า TMK(s) ®REGISTERED · MARCA(s) . . . . . MADE IN U.S.A. ตัวเล็กๆพิมพ์อยู่ด้านใต้สุดของฉลากในแนวนอน 2 บรรทัด แผ่นยุคนี้จะมีน้ำหนักและความหนาอย่างเดียวกับแผ่นในยุคเลเบลข้อ 7 - เลเบลรุ่นที่ออกในปลายปี 1971 ถึงกลางปี 1972:
จะมีคำว่า TM(s) ®RCA CORP – MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้สุดของฉลากในแนวนอน และมีคำว่า dynaflex อยู่ด้วย แผ่นยุคนี้จะบางมาก และเบา สามารถบิดไปมาได้ง่ายดเหมือน floppy และจากปี 1972 ต่อเนื่องกัน มีพิมพ์วันที่ออกจำหน่ายที่ฉลากด้วย
- เลเบลรุ่นที่ออกในปลายปี 1972 ถึงกลางปี 1975:
จะมีคำว่า TM(s) ®RCA CORP – MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้สุดของฉลากในแนวนอน และมีคำว่า dynaflex อยู่ด้วย และในช่วงกลางปี 1973 ก็มีแผ่นรหัส ARL เพิ่มเข้ามาด้วย พอถึงปี 1974 ตัวแผ่นเริ่มหนาขึ้นและแข็งขึ้น - เลเบลรุ่นที่ออกในกลางปี 1975 ถึงกลางปี 1976:
- จะมีคำว่า TM(s) ®RCA CORP – MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้สุดของฉลากในแนวนอน และ ส่วนคำว่า dynaflex ถูกยกเลิกเอาออกไป
- เลเบลรุ่นที่ออกในกลางปี 1975 ถึงกลางปี 1976:
ออกแผ่นในระบบ Quadraphonic จึงมีคำว่า quadradisc พิมพ์ลงบนฉลาก
หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคเลเบลนี้คือ:
Bach, J.S. Trio Sonata No. 1 in E Flat Major, BWV 525. Trio Sonata No. 5 in C Major, BWV 529. Vivaldi, Antonio. Sonata for Lute and Continuo in C Minor, P.7 No. 2. Sonata for Lute and Continuo in C Major, P.7 No. 3. Julian Bream, lute. George Malcolm, harpsichord. RCA Victor Red Seal LSC 3100 (1969).
9. ต่อมาก็เป็นยุคเลเบลที่ใช้ตั้งแต่กลางปี 1976 จนถึงสิ้นสุดยุคของการผลิตแผ่นเสียง พื้นฉลากจะเป็นสีแดง มีโลโก้ Dog-Gramophone รูปสีเต็ม พิมพ์อยู่ชิดกับขอบฉลากในตำแหน่ง 1 นาฬิกา อักษร RCA ตัวขอบสีขาวพิมพ์อยู่ด้านบน และคำว่า Red Seal สีขาวพิมพ์อยู่ในแนวตั้งชิดกับขอบฉลากด้านซ้ายมือ ตัวพิมพ์นอกเหนือจากนั้นเป็นสีดำทั้งหมด รุ่นนี้เรียกว่า Side Dog.
RCA Victor Number-Letter Codes
คือรหัสที่พิมพ์อยู่ในเนื้อแผ่น vinyl ซึ่งอยู่ระหว่างร่องสุดท้ายของ track กับขอบเลเบลของแผ่นเสียง
1. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างปี 1950 และ 1951.
E1 LRC 13 on side one.
E1 LRC 14 on side two.
อักษรตัวแรกเป็นการระบุช่วงทศวรรษที่ผลิต ซึ่งตัวอักษร E ระบุเป็นช่วงทศวรรษปี 1950s.
ตัวที่ 2 จะเป็นตัวเลขระบุปีที่ผลิต เลข 1 คือระบุปี 1951.
ตัวที่ 3 ระบุความเร็วในการบันทึกและขนาดของร่องเสียง (groove size) ซึ่งอักษร L คือสปีด 33 1/3 RPM และบันทึกแบบร่องละเอียด (fine groove recording)
ตัวที่ 4 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี เช่นอักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.
ตัวที่ 5 จะแสดงถึงขนาดของแผ่น โดยอักษร C คือแผ่นขนาด 12″
อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 13 เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 14 คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2
ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:
Berlioz, Hector. Symphonie fantastique, Op. 14 (1830). San Francisco Symphony. Pierre Monteux, conductor. RCA Victor Red Seal LM 1133 (1951).
2. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างปี 1951 จนถึงปี 1954
E3RP 5077 on side one.
E3RP 5078 on side two.
อักษรตัวแรกเป็นการระบุช่วงทศวรรษที่บันทึกและผลิต ซึ่งตัวอักษร E ระบุเป็นช่วงทศวรรษปี 1950s.
ตัวที่ 2 จะเป็นตัวเลขระบุปีที่ผลิต เลข 3 คือระบุปี 1953.
ตัวที่ 3 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี เช่นอักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.
ตัวที่ 4 ระบุความเร็วในการบันทึก ,ขนาดของร่องเสียง (groove size) และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผ่น(diameter) ซึ่งอักษร P คือสปีด 33 1/3 RPM , บันทึกแบบร่องละเอียด (fine groove recording) และเป็นชนิดแผ่นขนาด 12”
อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 5077 เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 5078 คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2
ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:
Respighi, Ottorino.Fountains of Rome (1917). Pines of Rome (1924).NBC Symphony. Arturo Toscanini, conductor. RCA Victor Red Seal LM1768 (1953).
3. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างปี 1954 จนถึงปี 1963
Code เหล่านี้คือ
K2RY 0808 on side one.
K2RY 0809 on side two.
อักษรตัวแรกจะเป็นตัวอักษรระบุปีที่ผลิต K คือระบุปี 1959
ตัวที่ 2 จะเป็นตัวเลขระบุตัวเลเบลและแหล่งที่บันทึก เลข 2 คือ RCA Victor Label
ตัวที่ 3 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี อักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.
ตัวที่ 4 ระบุความเร็วในการบันทึก ,ขนาดของร่องเสียง (groove size) และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผ่น(diameter) ซึ่งอักษร Y คือสปีด 33 1/3 RPM , บันทึกแบบ stereo universal groove และเป็นชนิดแผ่นขนาด 12”
อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 0808 เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 0809 คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2
ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:
Ravel, Maurice. Daphnis et Chloé (1912). New England Conservatory Chorus. Robert Shaw, director. Boston Symphony. Charles Munch, conductor. Leslie Chase, recording engineer. John Pfeiffer, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 1893 (1960).
4. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างปี 1963 จนถึงปี 1973
Code เหล่านี้คือ
PRRS 3305 on side one.
PRRS 3306 on side two.
อักษรตัวแรกจะเป็นตัวอักษรระบุปีที่ผลิต P คือระบุปี 1963
ตัวที่ 2 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี อักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.
ตัวที่ 3 ระบุความเร็วในการบันทึก และขนาดแผ่น ซึ่งอักษร R คือสปีด 33 1/3 RPM และเป็นชนิดแผ่นขนาด 12”
ตัวที่ 4 จะเป็นตัวแสดงว่าเป็น stereo หรือ mono ซึ่งตัวอักษร S แสดงว่าเป็นระบบ Stereo
อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 3305 เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 3306 คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2
ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:
Dello Joio, Norman. Fantasy and Variations. Ravel, Maurice. Concerto for Piano and Orchestra in G Major (193031). Lorin Hollander, piano. Boston Symphony. Erich Leinsdorf, conductor. Lewis Layton, recording engineer. Richard Mohr, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 2667 (1963).
5. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างและหลังปี 1973
Code เหล่านี้คือ
ARD1 0026A on side one.
ARD1 0026B on side two.
อักษรตัวแรกจะระบุแหล่งที่มาของมาสเตอร์( master tape source) ซึ่ง A ระบุว่าเป็นแหล่งจาก RCA Victor.
ตัวที่ 2 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี อักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.
ตัวที่ 3 ระบุความเร็วในการบันทึก และขนาดแผ่น ซึ่งอักษร R คือสปีด 33 1/3 RPM และเป็นชนิดแผ่นขนาด 12”
ตัวที่ 4 จะเป็นตัวเลขระบุจำนวนหน่วยที่บันทึก ซึ่งเลข 1 แสดงว่าเป็น single record
อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 0026A เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 0026B คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2
ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:
Bach, J.S. Fugue in E Flat Major, BWV 522. Fugue in D Major from BWV 532. Fugue in G Minor, BWV 542. Fugue in A Minor from BWV 543. Fugue in C Minor from BWV 549. Fugue in C Major from BWV 564. Fugue in G Minor, BWV 578.Philadelphia Orchestra. Eugene Ormandy, conductor. Paul Goodman, recording engineer. Max Wilcox, record producer. RCA Victor Red Seal ARD1 0026 (1973).
นอกจากนั้นยังมีรหัสเพิ่มเติมจากรหัสที่กล่าวมาข้างต้นของ Number-Letter Codes
โดยตัวอักษร S ตามด้วยตัวเลขก็จะเป็นการแสดงถึงลำดับครั้งในการทำ master ฉะนั้น เลข 1 จะเป็นการแสดงว่าผลิตมาจาก 1st master ของ master tape.
ส่วนตัวอักษร A ตามด้วยตัวเลข จะแสดงถึงการผลิตมาจาก mother ถ้า A1 ก็คือผลิตมาจาก mother ที่ 1
และยังมีอักษรที่จะแสดงแหล่งผลิตอีก โดยจะเป็นอักษรตัวเดียวอยู่ในตำแหน่ง 180 องศาของ Number-Letter Codes เช่น I ระบุว่าผลิตที่ Indianapolis, Indiana plant.
หมายเหตุ
RCA แผนก Red Seal Division( แผนก classic) ว่าจ้างผู้ผลิตและวิศกรมากมายหลากหลายสไตร์ของแต่ละคน ฉะนั้นเพลง classic ของ RCA จึงแตกต่างกันในแต่ละยุคแต่ละเลเบล มีเป็นจำนวนมากเช่นกันที่ผลิตออกมาคุณภาพเสียงดีได้อย่างเด่นชัด หนึ่งในนั้นน่าจะมาจากทีมของ Richard Mohr (producer) และ recording engineer- Lewis Layton.
ตัวอย่างอัลบัมที่เสียงดีเช่น
Respighi, Ottorino. Fountains of Rome (1917). Pines of Rome (1924). Chicago Symphony. Fritz Reiner, conductor. Lewis Layton, recording engineer. Richard Mohr, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 2436 (1960). Recorded on October 24, 1959, in Orchestra Hall, Chicago.
and
Rimsky-Korsakov, Nikolai. Schéhérezade, Op. 35 (1888). Chicago Symphony. Fritz Reiner, conductor. Lewis Layton, recording engineer. Richard Mohr, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 2446 (1960). Recorded on February 8, 1960, in Orchestra Hall, Chicago.
บางอัลบัมของ RCA ในรุ่นแรกๆที่บันทึกเสียงได้ดีมาจาก recording engineer ชื่อ Leslie Chase. ตัวอย่างอัลบัมจากผลงานที่ดีของเขาคือ:
Offenbach, Jacques. Gaîté Parisienne (1938). Boston Pops. Arthur Fiedler, conductor. Leslie Chase, recording engineer. RCA Victor Red Seal LSC 1817 (1958). Recorded in June 1954 at Symphony Hall, Boston.
และ
Ravel, Maurice. Daphnis et Chloé (1912). New England Conservatory Chorus. Robert Shaw, director. Boston Symphony. Charles Munch, conductor. Leslie Chase, recording engineer. John Pfeiffer, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 1893 (1960).
นักบันทึกเสียงชั้นแนวหน้าผู้หนึ่งชื่อ Kenneth E. Wilkinson ซึ่งสังกัดอยู่กับ Decca แห่งอังกฤษ งานของเขาบางชิ้นก็มาปรากฎบรแผ่นของ RCA ตัวอย่างที่ดีของแผ่นดหล่านี้คือ
Elgar, Edward. Enigma Variations, Op.36 (1899).Brahms, Johannes. Variations on a Theme by Haydn, Op. 56a (1873). London Symphony. Pierre Monteux, conductor. Kenneth E. Wilkinson, recording engineer. RCA Victor Red Seal LSC 2418 (1960). Recorded in Kingsway Hall, London.
และ
Sibelius, Jean. Symphony No. 2 in D Major, Op. 43 (1901). London Symphony. Pierre Monteux, conductor. James Walker, record producer. Kenneth E. Wilkinson, recording engineer. RCA Victor Red Seal LSC 2342 (1959). Recorded in Kingsway Hall, London.