ประวัติ และ เลเบลแผ่นเสียง Hickory Album โดย ลุงพง

Hickory Album Discography

แผ่นเสียงเลเบล Hickory มีกำเนิดมาจากเมือง Nashville โดยบริษัทธุรกิจยักษ์ใหญ่ชื่อว่า Acuff-Rose music publishing เริ่มมาตั้งแต่ราวปี 1955 โดยออกเป็นแผ่น Single ก่อนเป็นเวลาหลายปี เนื่องเพราะจำหน่ายอยู่เฉพาะในเมืองชนบทเท่านั้น เป็นเพลงจากศิลปินประเภท pop และ light-rock เช่น Sue Thompson, Kris Jensen, the Newbeats, Donovan, Frank Ifield, และ B.J. Thomas. และยังมีผลงานระยะแรกของ Doug Kershaw ร้องคู่กับน้องชายชื่อว่า Rusty

วัสดุที่ใช้บันทึกก็เป็นวัสดุในยุคปี 1960 ซึ่งบันทึกเป็นระบบ stereo ส่วนใหญ่ใช้สตูดิโอของ RCA ที่อยู่ในเมือง Nashville. ตัวมาสเตอร์สเตอริโอเหล่านั้นก็มิได้ทำเป็นแผ่นในระบบสเตอริโอทันที แผ่นเสียง Hickory ระยะแรกๆทำมาเป็นระบบ โมโน เท่านั้นทั้งๆที่บันทึกเป็นมาสเตอร์ระบบสเตอริโอ จนกระทั่งมาถึงปี 1965 อัลบัมส่วนใหญ่จึงมีออกทั้งระบบโมโน และสเตอริโอ ต่อมาจนถึงปี1970 อัลบัมของศิลปินต่างๆทั้งหลายในเลเบล Hickory จึงออกมาในระบบสเตอริโอแท้ๆอย่างเดียว อัลบัมเหล่านี้ได้กลายเป็นอัลบัมสะสมที่เสาะหากันและมีค่ามากในปัจจุบัน

ในปี1970 นี่เองที่ Hickory ทำข้อตกลงกับ MGM ให้เป็นผู้จัดจำหน่าย และต่อมาก็เปลี่ยนมาให้ ABC เป็นผู้จัดจำหน่ายแทน แต่สุดท้ายทั้ง ABC และ MGM ต่างก็ถูกผนวกเข้าไปอยู่ในครอบครองของ MCA/Universal Music แต่ Hickory ซึ่งยังคงดำรงสถานะความเป็นอิสระของตนเองในองค์กรของ Acuff-Rose ก็ได้ขายกิจการให้แก่ Gaylord Broadcasting ในปี 1985

เลเบลแผ่น Hickory Records

เลเบลดั้งเดิมของ Hickory มีพื้นฉลากเป็นสีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน

ต่อมา (หลังจากแผ่นเลขที่ 111 ) ฉลากคงยังมีสีพื้นเป็นสีดำ แต่มีโลโก้เป็นสีรุ้ง(rainbow logo)

แผ่นสำหรับ Promotion จะมีพื้นสีขาว

MGM/HICKORY ALBUMS:

ในปี 1973, Hickory เริ่มเข้าไปสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ MGM โดยให้เป็นผู้ทำตลาดอยู่ 3 ปี ก่อนที่จะหันไปร่วมกับ ABC แทน ฉลากรุ่นนี้จะมีสีพื้นน้ำตาล พร้อมโลโก้ Hickory สีรุ้ง ด้านบนฉลาก และมีโลโก้หัวสิงห์โตของ MGM อยู่ด้านขวามือ

ABC/HICKORY ALBUMS:

เริ่มตั้งแต่ปี 1977, Hickory ให้ ABC เป็นผู้จัดจำหน่าย อัลบัมเดิมตั้งแต่ปลายปี. 1960 เป็นต้นมาจะมี 11 tracks แต่ขณะนี้เหลือแค่ 10 tracks เท่านั้น ฉลากของ ABC/Hickory จะเป็นพื้นไล่สีเป็นวงจากวงนอกสีเหลืองไปยังวงในเป็นสีม่วง ช่วงแรกเป็นโลโก้ ABC เป็นรูปบล๊อกอยู่ด้านบนและโลโก้ Hickory อยู่ด้านซ้ายมือของรูแผ่นเสียง แต่ฉลากรุ่นหลัง (ปี 1979) จะมีโลโก้ทั้งของ ABC และ Hickory อยู่ด้วยกันที่ด้านบนของฉลาก แต่โลโก้ของ ABC ได้เปลี่ยนเป็นรูปตัวโน้ทเพลงแล้ว สำหรับแผ่น Mono ใช้ระหัสนำหน้า “LPM-” ส่วนอัลบัมที่เป็น stereo ใช้ระหัสนำหน้า “LPS-“.

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

แผ่นเสียง Duck Records – ประวัติโดยย่อ และ เลเบลแผ่น โดย ลุงพง

ประวัติ Duck Records

โลโก้ Duck Records

Duck เป็นเลเบลแผ่นเสียงที่ทำขึ้นมาเฉพาะกับ Eric Clapton จะมีพื้นเป็นสีเงินตัวพิมพ์สีดำ และรูปเป็ดใหญ่เป็นโลโก้อยู่กลางฉลาก โดยทั่วๆไปก็ใช้หมายเลขเรียงของ Warner Brothers

เลเบลแผ่น Duck Records

DUCK ALBUM DISCOGRAPHY

Number – Title – Artist – [Release Date] (Chart) Contents

7599-2 3773-1 – Money and Cigarettes – Eric Clapton [1983] (2/83, #16) Everybody Oughta Make A Change/The Shape You’re In/Ain’t Going Down/I’ve Got A Rock N’ Roll Heart/Man Overboard//Pretty Girl/Man In Love/Crosscut Saw/Slow Down Linda/Crazy Country Hop

7599-2 5186-1 – Behind the Sun – Eric Clapton [1985] She’s Waiting/See What Love Can Do/Same Old Blues/Knock On Wood/Something’s Happening/Forever Man/It All Depends/Tangled In Love/Never Make You Cry/Just Like A Prisoner/Behind The Sun

7599-2 5476-1 – August – Eric Clapton [1986] It’s In The Way That You Use It/Run/Tearing Us Apart [with Tina Turner]/Bad Influence/Walk Away/Hung Up On Your Love//Take A Chance/Hold On/Miss You/Holy Mother/Behind The Mask/Grand Illusion

7599-2 6074-1 – Journeyman – Eric Clapton [1989] Pretending/Anything For Your Life/Bad Love/Running On Faith/Hard Times/Hound Dog//No Alibis/Run So Far/Old Love/Breaking Point/Lead Me On/Before You Accuse Me

W1-26420 – 24 Nights – Eric Clapton [1991] Vinyl is available on Columbia House issue only. Badge/Running On Faith/White Room/Sunshine Of Your Love/Watch Yourself/Have You Ever Loved A Woman/orried Life Blues/Hoodoo Man//Pretending/Bad Love/Old Love/Wonderful Tonight/Bell Bottom Blues/Hard Times/Edge Of Darkness

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

เลเบลแผ่นเสียง Blue Note โดย ลุงพง

เลเบลแผ่นเสียง Blue Note ต่างๆ

เลเบลที่ 1

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

เลเบลนี้ใช้ในช่วงแนะนำแผ่นเสียง Blue Note ในปี 1951 ถึง 1957 สีพื้นเกือบทั้งหมดจะเป็นสีขาว เฉพาะด้านซ้ายมือขนาด 1 ใน 6 ส่วนของฉลากจะมีสีน้ำเงินปานกลาง และมีตัวพิมพ์สีขาวคำว่า  BLUE อยู่ในแนวตั้ง และคำว่า NOTE ในแนวนอน นอกเหนือจากนี้ตัวพิมพ์จะเป็นสีน้ำเงิน มีข้อความ 33 1/3 MICROGROOVE LONG PLAYING พิมพ์อยู่ที่ขอบฉลากตามโค้งจาก 11 นาฬิกา ถึง 4 นาฬิกา

ส่วนข้อความ  BLUE NOTE RECORDS 767 LEXINGTON AVE NYC  พิมพ์อยู่ในตำแหน่ง 3/4 นิ้วจากขอบฉลากตามโค้งเช่นกัน เลเบลรุ่นแรกนี้จะเป็นแผ่นค่อนข้างแข็งและหนัก ส่วนรุ่นหลังจากนี้จะเบากว่าและงอได้บ้างเล็กน้อย 

อัลบั้มที่ออกมาในช่วงระหว่างนี้ เช่น  :

Sidney Bechet. Blue Note Jazzmen with Wild Bill Davison. Sidney Bechet, soprano saxophone. Wild Bill Davison, cornet. Jimmy Archey or Ray Diehl, tuba. Art Hodes or Joe Sullivan, piano. George “Pops” Foster or Walter Page, bass. “Slick” Jones, drums. Blue Note BLP 7001 10″ (1951).

Bud Powell. Trio. Bud Powell, piano. Curley Russell, bass. Max Roach, drums. Blue Note BLP 1503 12″ (1951).

เลเบลที่ 2

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

เลเบลนี้เริ่มใช้ในปี 1958 จนถึง 1962 คล้ายกับเลเบลแรก แต่ต่างกันที่ข้อความที่อยู่บนเลเบลเปลี่ยนเป็น BLUE NOTE RECORDS · 47 WEST 63rd · NYC  ระหัสเลขที่แผ่นมีทั้งนำหน้าด้วย BLP น่าจะมาจากคำว่า Blue Note LP หรือ  BST น่าจะมาจากคำว่า Blue Note stereoใน issue หลังๆจะพบคำว่า INC เพิ่มอยู่หลังคำว่า RECORDS การบันทึกในแผ่นเลเบลนี้มีทั้ง monaural และ stereo

หนึ่งอัลบั้มในยุคเลเบลนี้ คือ :

John Coltrane. Blue Train. John Coltrane, tenor saxophone. Kenny Drew, piano. Paul Chamber, bass. Philly Joe Jones, drums. Dr. Rudy van Gelder, recording engineer. Blue Note BLP/BST (8)1577 (1958).

เลเบลที่ 3

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

เลเบลนี้ใช้ตั้งแต่ปี 1962 ถึง 1966 สังเกตที่คำว่า 33 1/3MICROGROOVE LONG PLAYING พิมพ์อยู่ตรงขอบฉลาก จะใช้สำหรับแผ่นที่บันทึกแบบ monaural แต่ถ้าพิมพ์คำว่า 33 1/3 STEREO LONG PLAYING เลเบลนี้จะใช้กับแผ่นที่เป็น stereo ส่วนข้อความที่อยู่(แอดเดรส)จะเป็น BLUE NOTE RECORDS INC · NEW YORK USA

หนึ่งอัลบั้มในยุคเลเบลนี้ คือ :

Dexter Gordon. Go. Dexter Gordon, tenor saxophone. Sonny Clark, piano. Butch Warren, bass. Billy Higgins, drums. Dr. Rudy van Gelder, recording engineer. Blue Note BLP/BST (8) 4112 (1962).

เลเบลที่ 4

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

เลเบลนี้ใช้ตั้งแต่ปี 1966 ถึง 1970 เหมือนกับเลเบลที่ 3 มีทั้ง 33 1/3MICROGROOVE LONG PLAYING  สำหรับ monaural และ  33 1/3 STEREO LONG PLAYING  สำหรับ stereo ต่างกันตรงที่อยู่(แอดเดรส)จะเปลี่ยนเป็น BLUE NOTE RECORDS · A DIVISION OF LIBERTY RECORDS, INC. เลเบลนี้ส่วนใหญ่จะเป็น re-issue เนื่องจากถูกซื้อกิจการไปแล้ว

หนึ่งอัลบั้มในยุคเลเบลนี้ คือ:

Jackie McLean. New and Old Gospel. Jackie McLean, alto saxophone. Ornette Coleman, trumpet. Lamont Johnson, piano. Scotty Holt, bass. Billy Higgins, drums. Dr. Rudy van Gelder, recording engineer. Blue Note BLP/BST (8) 4262 (1967).

เลเบลที่ 5

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

ใช้ในปี 1970 ถึงราวปี 1973  หมือนกับเลเบลยุคที่ 4  มีทั้ง mono และ Stereo ที่อยู่(แอดเดรส)บนฉลากได้เปลี่ยนไป เป็น BLUE NOTE RECORDS · A DIVISION OF UNITED ARTISTS RECORDS, INC. แผ่นยุคนี้เกือบทั้งหมดจะเป็น re-issue

หนึ่งอัลบั้มในยุคเลเบลนี้ คือ :

Donald Byrd. Electric Byrd. Donald Byrd, trumpet. Bill Campbell, trombone. Jerry Dodgion, alto and soprano saxophone and flute. Frank Foster, tenor and alto saxophone and flute. Lew Tabackin, tenor saxophone and flute. Hermeto Pascoal, flute. Pepper Adams, baritone saxophone and clarinet. Duke Pearson, piano. Wally Richardson, guitar. Ron Carter, bass. Mickey Roker, drums. Airto Moreira, percussion. Dr. Rudy van Gelder, recording engineer. Blue Note BST 84349 (1970).

เลเบลที่ 6

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

เลเบลนี้ไช้อยู่ในราวปี 1973 ถึง 1976 สีพื้นหลังฉลากจะเป็นสีน้ำเงินเข้มกรมท่า มีโลโก้ตัวอักษร b ที่มีรูปตัวโน้ตพิมพ์อยู่ที่ตำแหน่ง 2 นาฬิกา คำว่า BLUE NOTE สีดำอยู่ใต้ blogo ระหัสหมายเลขแผ่นขึ้นต้นด้วย BST และมีข้อความ BLUE NOTE RECORDS-A DIVISION OF UNITED ARTIST RECORDS, INC. · MADE IN THE USA · ALL RIGHTS RESERVED สีดำพิมพ์อยู่บนขอบใน ตำแหน่ง 8 นาฬิกา ถึง 4 นาฬิกา ส่วนตัวพิมพ์นอกเหนือจากนี้จะเป็นสีเงิน แผ่นยุคนี้เป็น stereo และเป็นแผ่น re-release

เลเบลที่ 7

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

เลเบลนี้นำมาใช้ในราวปี 1977 ถึง 1978  เหมือนเลเบลที่ 6 แต่เปลี่ยนที่อยู่เป็น BLUE NOTE RECORDS · MANUFACTURED BY UNITED ARTIST MUSIC AND RECORDS GROUP INC. · LOS ANGELES CALIFORNIA · MADE IN THE USA

เลเบลที่ 8

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

เลเบลนี้ใช้ในระยะสั้นๆหลังปี 1970  สีพื้นหลังเกือบทั้งหมดเป็นสีดำ เฉพาะด้านซ้ายประมาณ 1 ใน 6 ของพิ้นที่ฉลากจะเป็นสีฟ้า มีโลโก้  Blue Note ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ในตำแหน่งซ้ายมือของรูแผ่นเสียง เส้นเดินกรอบเป็นสีดำ ส่วนตัวพิมพ์อื่นเป็นสีเงินยกเว้น  LIBERTY UA. INC., LOS ANGELES CALIFORNIA เป็นสีขาว พิมพ์อยู่ในตำแหน่ง 7:30 น.ถึง 4:30 น.  เป็น re-issue ทั้งหมด

เลเบลที่ 9

เลเบล แผ่นเสียง Blue Note

ใช้ในช่วงกลางปี 1970s พื้นฉลากจะเป็นสีน้ำเงินเข้ม มีโลโก้อักษร b ในวงกลมสีดำตำแหน่ง 11 น.  รูปตัวโน้ตพิมพ์ทับที่โลโก้  b มีคำว่า THE BLUE NOTE พิมพ์อยู่บนวงกลมสีดำ ส่วนคำว่า RE-ISSUE SERIES พิมพ์อยู่ด้านล่าง เป็นตัวอักษรสีขาว นอกจากนั้นเป็นตัวพิมพ์สีเงิน ระหัสเลขที่แผ่นจะเป็น BN  มีข้อความ  [Pdate] United Artists Music And Records Group, Inc. All Rights Reserved พิมพ์เป็น 3 บรรทัดอยู่ที่ด้านล่างตรงกลางฉลาก

Notes

Blue Note records on Label No. 1 have extremely fine sound and are beautifully made. This is particularly true of those with a circular groove pressed into the label 1 1/4 inch from the center of the disq. These pressings are known as ‘(Dennis Davis) Deep Groove’ Blue Notes and are sought after.

Blue Note Label No. 2 can also have extremely fine sound, though there is more variation in pressing quality than is found on the earlier Label No. 1.

Even Blue Notes of Label No. 3 can sound good, though their sound quality varies greatly. A clue to this Label’s better-sounding disqs is the imprint RVG or VAN GELDER which is found stamped between the last groove and the label, in the lead-out area. This imprint is sometimes found on Label No. 3, and it indicates that the disq was mastered by Dr. Rudy van Gelder. It also indicates that the disq was pressed from an older stamper. Often this stamper has been overused, and its pressing is rough and noisy. Only through playing the record in question can its quality be determined.

Blue Note’s new label designs do not seem to have been placed on the new disqs as promptly as Columbia or RCA changed graphics on their new records. Blue Note does not seem to have changed its labels as efficiently as the majors did. I have, for instance, found labels of adjacent periods affixed to the same record. I have recently seen a Sidney Bechet record with Label No. 1b on one side and Label No. 1c on the other. I have also seen Dexter Gordon’s Doin’ Allright with Label No. 2a on side one and Label No. 2b on side two. I have also seen a later label carelessly glued over an earlier one.

This mixing of labels, however, is not common, and these records are rare. Though oddities, they should command higher prices than the same record with identical labels on both sides.

Blue Note records, particularly Labels No. 1 and No. 2a, are as close to art as the recording process comes.

The ‘Blue Note sound’ is very much influenced by Rudy van Gelder’s recording style. He often gives us a recording and music of a ‘blowing session.’ The structure of the recording and that of the music is simple. Both provide a basic framework for improvised solos. In the music, the ‘tune’ or theme is first introduced by the lead soloist. The piece from then on is made up of the players improvising on this theme. Excitement comes largely from the musicians’ creative imagination, that is, from the way they improvise their solos. Van Gelder’s recording is constructed to best present this. The performance setting is often a smallish one which convincingly portrays musicians playing after hours. As in the music, the recording features the soloists. Van Gelder often places some soloists well forward on the left, with other soloists on the right and forward. The members of the rhythm section are usually placed back and toward the center. This arrangement of musicians serves the music well. This arrangement is very much the signature of Rudy van Gelder, and with it he beautifully captures ‘the session.’

Jazz, especially the creating of jazz, is intimately linked with the LP. As an improvisational form, jazz has little written literature. Naturally there are written arrangements, and much jazz follows written or implied progressions. But, jazz’s essence, improvisation, is fleeting. Recording, particularly with the LP, has captured this essence and preserved it. Fortunately, many of the most creative forces in jazz recorded regularly, making their work available not only to those who could see and hear them in clubs, but to all who could hear a record. Jazz’s movements and changes could be heard through the recording sessions: the LP preserved great solos, compositions and ensembles for all to hear. History then, has chosen the LP as the instrument that has captured jazz’s fleeting moments-its essence-improvisation.

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

Liberty Records – ประวัติความเป็นมา และ เลเบลแผ่นเสียง โดย ลุงพง

ประวัติความเป็นมา และ ศิลปิน ของ Liberty Records

Liberty Records กำเหนิดก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 โดย Simon Waronker ใน Hollywood, California.

Liberty Records

Simon Waronker เกิดในปี ค.ศ. 1915 ในถิ่นของคนยากจนย่าน Los Angeles เมื่ออายุได้ 5 ขวบ พ่อของเขาให้เขาเริ่มหัดเล่นไวโอลิน. เขาเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์อย่างน่าอัศจรรย์ เข้าเรียนชั้นไฮสคูลเมื่ออายุได้ 11 ปี และจบเมื่ออายุแค่ 13 ปี เขาจึงได้รับทุนการศึกษาเรียน ไวโอลินใน Philadelphia และต่อในประเทศฝรั่งเศษ. จนกระทั่งจบหลักสูตรในประเทศเยอรมันช่วงระหว่างฮิตเลอร์ครองอำนาจ เนื่องจากเขาเป็นพวกเชื้อสายยิว จึงต้องหนีออกมาจากกลุ่มเยาวชนนาซี กลับมายังประเทศอเมริกาอยู่ใน Los Angeles ในที่สุด, เขาทำงานด้านดนตรีประกอบภาพยนต์ให้กับ 20th Century Fox จากปี ค.ศ. 1939 จนถึง 1955

ในปี ค.ศ. 1955, Herb Newman ซึ่งเป็นญาติห่างๆของเขาได้ชักชวนให้มาร่วมกันทำธุรกิจแผ่นเสียงด้วยกัน หลังจากได้ครุ่นคิดและปรึกษากับ Alfred และ Lionel Newman ที่20th Century Fox แล้ว เขาจึงตัดสินใจยอมทิ้งรายได้ค่าจ้างที่สูงมากมาประกอบธุรกิจเองร่วมกันกับเขา แต่ทำไปทำมา Herb Newman กลับลำเปลี่ยนไปทำธุรกิจของเขาเองใช้ชื่อว่า Era, ดังนั้น Simon Waronker จึงต้องดำเนินธุรกิจโดยลำพัง. แผ่นเสียงชุดแรกๆจะเป็นประเภทที่มีวง orchestra บันทึกโดย Lionel Newman. จะสังเกตุได้ว่าในแผ่นเสียง 100 ชุดแรกของ Liberty, จะเป็นประเภท big band music, movie music, orchestral music และมี jazz บ้าง การพิมพ์หมายเลขที่แผ่น ซิงเกิลจะเริ่มที่หมายเลข 55000 ซึ่งคงหมายถึงปีที่ผลิต 55 (เลขลงท้ายของปี 1955) และเติมศูนย์ลงไป แผ่นซิงเกิลแผ่นแรกเริ่มที่หมายเลข Liberty 55001 และเรียงหมายเลขมาเรื่อยๆ เขาใช้ระบบเรียงเลขหมายนี้เป็นเวลานานถึง 16 ปี ก่อนจะเปลี่ยน

จูลี่ ลอนดอน

Waronker ติดต่อทาบทาม ศิลปินแจ๊ซท่านหนึ่งชื่อ Bobby Troup ในปี ค.ศ. 1955 พยายามให้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด แต่ทำไม่ได้เนื่องจาก Troup ยังอยู่ในสัญญาของสังกัดอื่น เขาจึงได้แนะนำให้ Waronker ทำสัญญากับเพื่อนเขาแทนคือ Julie London. ต่อมา Julie London กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของ “Liberty Girl” เนื่องจากอัลบั้มที่เธอบันทึก ได้ติดตลาดเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วด้วยฃุด “Cry Me a River” (Liberty 55006, 1955) และประสบความสำเร็จในชุดต่อๆมา. ส่วน Troup เองก็ได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัดในเวลาต่อมาไม่นานนัก และออกอัลบั้มในนาม Liberty


Ross Bagdasarian

Liberty ยังได้เซ็นสัญญากับ Ross Bagdasarian ในปี ค.ศ. 1956 นักแต่งเพลงที่เคยประสบความสำเร็จมา เช่นเคยแต่งเพลงให้ Rosemary Clooney ฮิตติดตลาดในปี 1951 ในเพลง “Come On-A My House”

เขาได้ออกอัลบั้มแรกโดยใช้ชื่อ “Alfi and Harry” (“The Trouble With Harry,” Liberty 55008, 1956), อัลบั้มต่อมาใช้ชื่อเขาเองคือ “The Bold and the Brave”/”See a Teardrop Fall” (Liberty 55013), แค่อัลบั้มเดียวแต่แล้วก็กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกคือ Alfi and Harry (“Persian on Excursion”/”Word Game Song,” Liberty 55016)

ต่อมา Bagdasarian ออกอัลบั้มใหม่เป็นดนตรีบรรเลง “Armen’s Theme” ใช้ฃื่อ David Seville (Liberty 55041, 1956). และประสบความสำเร็จในอีก 2-3 ปีต่อมาเช่น “Gotta Get to Your House” (Liberty 55079, 1957), “The Bird On My Head” (Liberty 55140, 1958), “Little Brass Band” (Liberty 55153, 1958), and “Judy” (Liberty 55193, 1959).

ในปี ค.ศ.1958 เขาเกิดความคิดที่จะสร้างเสียงที่แปลกออกไปโดยเพิ่มสปีดความเร็วของเทปในการอัดเสียง ทำให้ได้เสียงที่ผิดธรรมชาติ ขำขันดี ชุดแรกชื่อ “Witch Doctor” (Liberty 55132). และตามมาด้วย “The Chipmunk Song” ในปลายปี ค.ศ. 1958 (Liberty 55168), และยังมีแผ่น Single ต่อมาอีกเรื่อยๆเป็นระยะเวลานาน Chipmunks กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกผู้บริหาร Liberty ท่านหนึ่งคือ Alvin Bennett อย่างเหน็บแนมปนขบขัน

Bagdasarian เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1972, แต่ลูกชายเขา Ross, Jr., ได้รื้อฟื้นเพลงประเภท Chipmunks ขึ้นมาอีกในปี 1980 สำหรับแฟนเพลงรุ่นใหม่.

ในปี 1956, Liberty ออกอัลบั้มประเภท “pop” โดยนักร้อง 2 คนพี่น้อง Patience และ Prudence McIntyre, อายุ 11 and 14 ปี ขึ้นติดอันดับที่ 4 ของชาร์ตเพลงด้วยเพลง “Tonight You Belong To Me” (Liberty 55022) และตามด้วยอันดับที่ 11 ในเพลง “Gonna Get Along Without Ya Now” (Liberty 55040)

และในปีนี้เอง Liberty ได้เซ็นสัญญากับ Margie Rayburn ออกอัลบั้มมา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนักมีเฉพาะอัลบั้มที่ 5 (ซิงเกิล) “I’m Available” (Liberty 55102, #7, 1957), ที่ติด Chart เพลงเท่านั้น

ในปีเดียวกันนี้ Liberty ยังได้เซ็นสัญญากับ Henry Mancini ซึ่งขณะนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ออกอัลบั้ม Single 2 อัลบั้ม เป็นเพลงประกอบภาพยนต์ “Main Theme”/”Cha Cha Cha for Gia” จากเรื่อง Four Girls in Town (Liberty 55045), และ “Hot Rod”/”Big Band Rock And Roll” (Liberty 55060) จากเรื่อง Rock Pretty Baby และยังมีออกอีกหลายอัลบั้มต่อมา จริงๆแล้ว Mancini เคยเขียนเพลงประกอบภาพยนต์มาหลายเรื่องทีเดียว จนได้บรรจุเป็นสต๊าฟในทีมเขียนเพลงประกอบภาพยนต์สังกัด Universal Studios. แต่ช่วงที่อยู่กับ Liberty ยังไม่เป็นที่รู้จัก จนกระทั่งย้ายมาอยู่กับ RCA ปี 1959 เขาจึงโดดเด่นจนเป็นที่ต้องการของทุกค่าย และชื่อ Mancini กลายเป็นตำนานของเพลงประกอบภาพยนต์ แน่นอนมันเป็นความโชคไม่ดีของWaronker แต่เขาก็ไม่อายที่จะกลับมาผลิตอัลบั้มของ Mancini ซ้ำใหม่ออกสู่ตลาดเป็นเวลาอีกยาวนาน แม้ Mancini จะออกไปจากสังกัดนานแล้ว

Eddie Cochran

Liberty มีศิลปิน Rock & Roll ในสังกัดรุ่นแรกๆ คือ Eddie Cochran. อัลบั้มแรกที่ฮิตติดตลาดคือ “Sittin’ in the Balcony” (Liberty 55056) ในปี 1957 หลังจากนั้นก็มีอัลบั้ม “Summertime Blues” (Liberty 55144) ออกมาตามด้วย “C’mon Everybody” (Liberty 55144) เป็นสไตล์ rock and roll ที่เร่าร้อนหนักหน่วงขึ้นกลายเป็นตำนาน และเป็นต้นกำเหนิดของ rock and roll รุ่นต่อๆมา

เขาได้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุรถยนต์ในปี 1960 ที่ประเทศอังกฤษ อัลบั้มของเขาในระยะหลังไม่เป็นที่นิยมและไม่ติด Chart เพลง(Top 40) มาเป็นเวลากว่าปี แม้ว่าเขาจะเป็นที่นิยมบนเวทีแสดงสด แต่สุดท้ายอัลบั้มของเขากลับมาโด่งดังเป็นที่นิยมเอาเมื่อตอนที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว มีอยู่อัลบั้มเดียวที่ Liberty ออกผลงานเขาก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงคือ Singin’ To My Baby, เป็นอัลบั้มที่น่าสะสมมาก แต่หลังจากเขาเสียชีวิตลงแล้ว ยังมีออกอีก 2 อัลบั้มคือ Eddie Cochran: 12 of his Biggest Hits และ Never to Be Forgotten,

Billy Ward and his Dominoes

ในปี 1957 Billy Ward and his Dominoes ได้เซ็นสัญญาอยู่ในสังกัดของ Liberty เป็นวงดนตรีที่เคยโด่งดังสร้างปรากฎการติดชาร์ต R&B ชนิดถล่มทลาย ติดอยู่อันดับหนึ่งเป็นเวลายาวนานถึง 14 สัปดาห์ และติดอยู่ใน Pop top 20. แต่ช่วงที่อยู่กับ Liberty เขาได้เปลี่ยนแนวเป็น pop orchestra อัลบั้มที่ฮิตในทันทีเป็น old pop standards ชุด “Star Dust” (Liberty 55071, #12 pop, 1957) และ “Deep Purple” (Liberty 55099, #20 pop, 1957) เป็น 2 อัลบั้มที่น่าสะสมรวมทั้งอัลบั้มที่เขาโด่งดังมาก่อนหน้านี้คือ “St. Therese of the Roses” (Decca 29933)





มาร์ติน เดนนี่

ในปีเดียวกันนี้ หัวหน้าวงดนตรีอีกผู้หนึ่งคือ Martin Denny ได้เข้ามาอยู่ในสังกัดของ Liberty ผลงานของเขาเป็นที่นิยมฮิตติดตลาดอย่างไม่คาดคิดมาก่อนคือ อัลบั้ม “Quiet Village” (Liberty 55162) in 1959, เป็นอัลบั้มที่มีการบันทึกเสียงธรรมชาติในป่า “jungle sound effects” ร่วมเข้าไปกับดนตรี เมื่อเป็นที่นิยม จึงมีการออกอัลบั้มต่อมาอีกมากมายเหมือนไม่รู้จักจบสิ้น สำหรับอัลบั้ม “Quiet Village” ซึ่งเดิมบันทึกเป็นแบบ mono ในปี1957 นั้น เมื่อเป็นที่นิยมสูง จึงได้มีการบันทึกใหม่เป็นสเตอริโอและ juke box stereo singles. หนึงในสมาชิกวง Denny’s band ชื่อ Julius Wechter ต่อมาได้มาตั้งวงของตนเองชื่อ Baja Marimba Band และได้สร้างผลงานติดตลาดให้กับ Herb Alpert’s A&M label ในปี 1960s.







วิลลี่ เนลสัน หรือ เทกซัส ดีเจย์

มีศิลปินอีกท่านหนึ่งในสังกัด Liberty ที่น่าสนใจ แต่ไม่ประสบความสำเร็จคือ Willie Nelson (Texas Deejey) เริ่มในปี 1961 ด้วยอัลบั้ม “The Part Where I Cry”/”Mr. Record Man” (Liberty 55386), Nelson ได้แต่งเพลงและออกอัลบั้มให้กับ Liberty จนถึงปี 1964. เพลงของเขาในยุคนี้เป็นแนวคันทรีธรรมดา (country standards) ซึ่งก็มีทั้งอัลบั้ม “Hello Walls,” “Crazy,” และ “Funny How Time Slips Away.” อัลบั้มของเขาไม่ติดตลาดจนกระทั่งในปี 1962 เมื่อออกอัลบั้ม “Willingly” (Liberty 55403) ร้องคู่กับ Shirley Collie ได้ติดอันดับ Country top-10. และมีบางอัลบั้มต่อมาเท่านั้นที่ฮิตติดตลาดบ้าง จากนั้นเขาก็ย้ายไปสังกัด RCA. ช่วงที่อยู่กับ RCA นี้ แม้ว่าจะมีอัลบั้มจำนวนพอสมควรที่เป็นที่นิยมบ้างในช่วงปลายปี 1960 แต่ก็ยังไม่โด่งดัง จนกระทั่งต่อมาในปี 1970 Nelson ได้กลายเป็นนักร้อง country ระดับ superstar

ในระหว่างปี 1959-61 เป็นช่วงที่ Liberty ต้องการหัวหน้าวงอย่างเช่น Si Zentner, Felix Slatkin, และ Spike Jones ซึ่งมีสไตล์เฉพาะตัว ไม่มีผู้เลียนแบบได้ และช่วงนี้ Liberty ได้ก้าวเข้าสู่แนวดนตรีพื้นเมือง (folk music scene) โดยได้เซ็นสัญญากับ Bud & Travis และ Jackie DeShannon ในเวลาต่อมา ซึ่งขณะนั้น Willie Nelson ก็เป็นหนึ่งในบรรดารายชื่อศิลปินคันทรีทั้งหลายรวมทั้ง Floyd Tillman, June Carter, Ralph Emery, Bob Wills and Tommy Duncan มีอัลบัมที่ติดตลาดเช่น “Come Softly to Me” (Liberty 55188), อัลบัมฮิตของ Troy Shondell “This Time” (Liberty 55353), อัลบั้ม “Chaos, Parts 1 & 2” ของ Arbogat & Ross (Liberty 55197)

บ๊อบบี้ วี

ศิลปินที่มีอัลบั้มฮิตติดตลาดอย่างสม่ำเสมอที่สุดของ Liberty ช่วงต้นปี 1960 คือ Bobby Vee (Robert Velline). ประวัติเขามาจากเมือง Fargo ในรัฐ North Dakota เข้าร่วมเป็นสมาชิกวงที่เรียกว่า Shadows (ประกอบไปด้วยพี่ชายและเพื่อนอีก 2 คน). มีอยู่ครั้งหนึ่งวงของเขาได้ขึ้นแสดงแทนวงของ Buddy Holly ซึ่งเสียชีวิตกระทันหันจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกเมื่อวันที่ 3 กพ. 1959 วงเขาจะต้องร้องเพลงของ Boddy Holy ในเย็นวันนั้น แต่ปรากฎว่าตรงกันข้ามเขาไม่ได้ร้องเพลงของ Buddy Holly เลย ซึ่งเหมือนเป็นการไม่ให้เกียรติแก่ผู้ล่วงลับ แต่ผู้ชมกลับชื่นชอบเขา จากนั้น Bobby Vee และวง the Shadows ได้บันทึกอัลบัมให้กับ Minneapolis-based Soma label, ต่อจากนั้นเพียงไม่กี่เดือนเพลง “Suzy Baby” (Soma 1110). ก็ติดอันดับหนึ่งของท้องถิ่น

ทาง Liberty ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากถึงกับขอซื้อ master อัลบั้มนั้นมาผลิตเป็น เวอร์ชั่น re-issue ออกจำหน่าย (Liberty 55208) ขณะเดียวกันก็ทำสัญญารับ Vee เข้าในสังกัดแต่ผู้เดียว โดยปราศจากวงของ the Shadows. อัลบัมของเขาได้ติดอันดับ top-10 national hit เป็นครั้งแรกในเพลง “Devil or Angel” (Liberty 55270) ในฤดูใบไม้ผลิปี 1960 และมีอัลบัมอีกมากมายต่อมาที่ติดตลาดจนถึงปลายปี 1960 ซึ่งมีมากกว่า 20 อัลบัม ในสังกัด Liberty

ในปี 1960 นี้ Liberty ยังได้เซ็นสัญญากับ Johnny Burnette. เดิมที Burnette เป็นสมาชิกของวง “Rock and Roll Trio” โดยร่วมกับน้องชาย Dorsey และ Paul Burlison. เขาเป็นนักร้องเพลงป๊อป ขณะเดียวกันก็แต่งเพลงมากมายหลายเพลงให้กับ Ricky Nelson จนฮิตติดตลาด และขณะเดียวกันก็แต่งเพลงซึ่งล้วนแล้วแต่ฮิตติดตลาดให้กับ Liberty เป็นจำนวนมากรวมทั้ง “Dreamin'” (Liberty 55258), “You’re Sixteen” (Liberty 55285), “Little Boy Sad” (Liberty 55298), “Big, Big World” (Liberty 55318) และ “God, Country and My Baby” (Liberty 55379). และออกอัลบั้มในนามส่วนตัวเขา 6 อัลบัมภายใต้เลเบล Liberty. ต่อมาเขาจมน้ำเสียชีวิตในปี 1964 จากการล่องเรือแล้วเกิดอุบัติเหตุเรือล่ม

ยังมีศิลปินอื่นในสังกัดของ Liberty ระหว่างต้นปี 1960 รวมทั้งดาราโทรทัศน์ Walter Brennan, Gene McDaniels, Gary Miles, Buddy Knox, Timi Yuro, Vikki Carr, Ernie Freeman, Ed Townsend, Nick Noble, Gary Paxton, Dick and Dee Dee, the Johnny Mann Singers, Van McCoy, Matt Monro, Billy Strange, the post-Buddy Holly Crickets, Eddie Heywood, the Mar-Kets, และ P.J. Proby. วง The Rivingtons ซี่งเล่น rock and roll ประเภทเฮฟวี่ rhythm และ blues มีอัลบัมติดตลาดคือ “Papa Oom Mow Mow” (Liberty 55427, 1962) และ “The Bird Is the Word” (Liberty 55553, 1963)

แจน และ ดีน

ในปี 1962, Liberty เซ็นสัญญากับ Jan และ Dean เข้ามาในสังกัด ในช่วงเปลี่ยนที่แนวดนตรีประเภท hot rod music กำลังเป็นที่นิยม อัลบั้มเขาได้ก้าวเข้ามาสู่ความนิยมในระยะเวลาช่วงสั้นๆโดยได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนคือวง Beach Boys. ในฤดูร้อนของปี 1963, อัลบัมเขาประสบความสำเร็จติดอันดับ 1 ด้วยเพลง “Surf City” (Liberty 55580) แต่งโดย Brian Wilson หัวหน้าวง Beach Boy ตามมาด้วยเพลงประเภท car song hits เช่น “Drag City” (Liberty 55641, #10), “Dead Man’s Curve” (Liberty 55672, #8) และ “The Little Old Lady From Pasadena” (Liberty 55704, #3). อัลบัมเขาประสบความสำเร็จเรื่อยมาจนถึงปี 1966. แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 19 เมษายน ปี 1966 เขาประสบอุบัติเหตุรถยนต์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนเป็นเหตุให้เขาจบอาชีพลง

ในปี 1963 รองประธานของ Liberty, นาย Al Bennett, ผู้ซึ่งรับผิดชอบทางด้านธุรกิจ และเป็นผู้มีส่วนอย่างมากในความสำเร็จของบริษัท ได้ถูกทาบทามขอซื้อกิจการจากบริษัทอีเล็คทรอนิคแห่งหนึ่งชื่อ Avnet นาย Bennett จึงได้ปรึกษากับ Simon Waronker ซึ่งขณะนั้นสุขภาพไม่แข็งแรงแล้ว ทั้งคู่จึงตัดสินใจตกลงขายให้แก่ บริษัท Avnet ในราคา 12 ล้านเหรียญ

จังหวะนี้เองนาย Simon Waronker จึงรับเงินสดและจากบริษัทไป ปล่อยให้นาย Bennett เป็นผู้ดูแลองค์กรต่อไป เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที่ Liberty เริ่มขาดทุนทั้งๆที่ไม่น่าจะเป็น และหลังจากที่ดำเนินการต่อมาอีก 2 ปี ด้วยตัวแดงทางบัญชี Avnet ทนไม่ไหวต้องการถอนตัว (ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น Avnet ยังได้ซื้อกิจการอีกแห่งหนึ่งคือ Los Angeles label, ค่าย Imperial ซึ่งเขาจะได้ Aladdin และ Minit มาครอบครองด้วย) ในที่สุด Avnet ก็ยอมขายกิจการไปทั้งหมดรวมทั้ง Imperial, Dolton, Aladdin และ Minit กลับคืนไปให้แก่ Al Bennett ในราคาแค่ 8 ล้านเหรียญเท่านั้น

ในปี 1965, Liberty รับศิลปินเพิ่มเติม โดยเฉพาะที่มีพรสวรรค์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญต่อไปในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เขาได้เซ็นสัญญากับลูกชายของดาวตลก Jerry Lewis ชื่อว่า Gary Lewis พร้อมคณะวง the Playboys

ในปี 1966 ได้สร้างแบรนด์ใหม่ใช้ชื่อว่า Sunset label ใช้สำหรับแผ่นเสียงที่ออกวางจำหน่ายในราคาประหยัดหรือราคาถูกนั่นเอง และใช้สำหรับอัลบัมที่ทำซ้ำอัลบัมเดิมของ Liberty และ Imperial แต่ต่อมาก็ได้ปิดตัวลงเมื่อต้นปี 1970

ในปี 1968 บริษัทประกันภัย Transamerica Corporation ได้ซื้อกิจการ Liberty ไปในราคา 38 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไปควบรวมกับบริษัทแผ่นเสียงอีกแห่งหนึ่งคือ United Artists เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นซ้ำอีกเหมือนสมัยบริษัท Avnet โดย Transamerica ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในวงการห้องอัดเสียง และ Al Bennett ก็ถูกให้ออกไปหลังจากดำเนินการมา 6 เดือน ภาวะการณ์บริษัทตกต่ำลงไปเรื่อยๆจนถึงปี 1972 ชื่อ Liberty ก็ได้หายสาบสูญไปในที่สุด

Transamerica ได้เปลี่ยนแปลงให้อัลบั้ม และซิงเกิลใหม่ๆไปใช้ชื่อ United Artists label

ในปี 1978 ลิขสิทธิ์เลเบลของ United Artists รวมทั้งมาสเตอร์ของ Liberty ถูกขายให้กับ Artie Mogull และ Jerry Rubinstein. โดยเขาทั้งสองได้ยืมเงินลงทุนก้อนนี้มาจาก EMI ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Capitol label. แต่ในที่สุด Mogull และ Rubinstein ก็ไม่สามารถจะดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จได้ จนกระทั่งเดือน กุมภาพันธุ์ ปี 1979 นี่เอง EMI/Capitol จึงได้เข้าครอบครองเป็นเจ้าของ UA, Liberty, Imperial, Minit, Sunset, etc. ตั้งแต่นั้นมา

EMI/Capitol พยายามจะฟื้นฟูชื่อ Liberty อีกหลายครั้ง โดยในปลายปี 1970 ได้กำหนดใช้เลเบลของอัลบัมที่ทำซ้ำหรือ reissue ทั้งหลายให้เป็นชื่อของ Liberty และ Imperial

ในปี 1980 ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ตรา Capitol เป็น label หลัก และหลังจากที่ Kenny Rogers ย้ายจาก EMI ไปอยู่ RCA ในปี 1983 แล้ว ชื่อLiberty จึงได้หายไป

ในปี 1992 EMI ประกาศว่าได้เปลี่ยนชื่อของเลเบล Capitol-Nashville division เป็นชื่อใหม่ว่า… Liberty Records! ในยุคนี้มี Garth Brooks เป็นศิลปินคนสำคัญในปี 1990 ที่ทำให้ชื่อ Liberty ใหม่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อีก

รูปแบบฉลากของ Liberty

โลโก้ของ Liberty Record รูปแบบต่างๆ

โลโก้ และ รูปแบบเลเบลของ Liberty มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายหน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนเจ้าของ สำหรับของดั้งเดิมที่ยังคงเป็นของ Waronker และ Bennett นั้น โลโกจะเป็นรูปภาพวาดท่อนบนของเทพีสันติภาพ และมีคำว่า “Liberty” อยู่ใต้รูปโลโกดังกล่าว สำหรับช่วงเวลาที่ขายไปอยู่ในครอบครองของ Avnet รูปโลโกได้เปลี่ยนไปอยู้ในกรอบสีทอง ติดคาบอยู่ที่แถบสีรุ้งแนวตั้งซ้ายมือ จนเมื่อ Avnet ขายกลับคืนให้กับ Bennett ฉลากก็ถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งโดยมีตัวโลโก อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม(มุมกรอบมีลักษณะมน) จนสุดท้ายเมื่อขายไปให้กับบริษัท TransAmerica มุมกรอบลักษณะมนที่อยู่รอบโลโก ได้ถูกเปลี่ยนเป็นมุมฉากแทน

เลเบลแรก ของ Liberty Records

เลเบลแรกของ Liberty จะมีสีเขียวอมน้ำเงิน ตัวพิมพ์สีเงินคำว่า “LIBERTY” อยู่ในตำแหน่งด้านบนของฉลากเหนือรูกลางแผ่นเสียงพร้อมด้วยภาพวาดเทพีสันติภาพอยู่เหนือข้อความ ส่วนตำแหน่งด้านล่างของฉลากจะมีข้อความ “LONG PLAYING MICROGROOVE” แต่ถ้าเป็นแผ่นที่อัดมาในระบบสเตอริโอ ฉลากจะเป็นสีดำ ลายเส้นสีเงิน รูปกราฟฟิกคล้ายกัน นอกจากข้อความด้านใต้ของฉลากจะมีข้อความเปลี่ยนไปเป็น “LONG PLAYING STEREOPHONIC” แทน และยังมีอักษรคำว่า “STEREO” อยู่ใต้โลโกอีกทีแบบโลโก้นี้ใช้มาตั้งแต่เริ่มแรกตั้งบริษัทมาจนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 1960 หมายเลขอัลบั้มอยู่ที่ลำดับประมาณ LRP- 3140/LST-7140. (Series LRP-3000 คือ mono ,LST-7000 คือ Stereo สำหรับอัลบั้มชุดเดียวกันที่มีทั้ง mono และ stereo หมายเลขที่ตามมาจะเหมือนกัน เพื่อง่ายในการแยกแยะ)

เลเบลส่งเสริมการขาย ของ Liberty Records

ฉลากของแผ่นที่ทำไว้เพื่อส่งเสีมการขาย (promotional issue) ถ้าเป็นระบบ mono จะมีฉลากสีขาวตัวอักษรและลายเส้นสีดำ ถ้าเป็นสเตอริโอสีฉลากจะออกฟ้า ลายเส้นสีดำเช่นกัน ส่วนรูปกราฟฟิคก็จะเหมือนกัน

ในระยะเริ่มแรกนั้นอัลบัมที่บันทึกออกมาจะเป็นระบบ mono หมด เริ่มตั้งแต่หมายเลข LRP-3000 จนกระทั่งอีกหลายปีต่อมาเมื่อมีระบบใหม่เป็นสเตอริโอออกมาในกลางปี 1958, Liberty จึงเริ่มต้นใช้หมายเลขใหม่เริ่มจาก LST-7000





เลเบล สมัยที่ 2

ฉลากสมัยที่ 2 ของ Liberty จะมีพื้นเป็นสีดำตัวหนังสือสีเงิน และมีข้อความ “LIBERTY” สีขาวอยู่ในกรอบสีทอง ซึ่งวางอยู่ในตำแหน่งด้านซ้ายของรูกลางแผ่นเสียง และมีแถบพื้นสีรุ้งอยู่ด้านซ้ายขอบฉลาก (เป็นแนวตั้งขนาดกว้าง 1 ใน 4 ของฉลาก) และมีข้อความ “LIBERTY RECORDS, INC. LOS ANGELES 28, CALIFORNIA” อยู่ในแนวตั้งประชิดกับแนวแถบสีรุ้ง ฉลากนี้ได้ใช้มาจนถึงไตรมาสแรกของปี 1966, หมายเลขอัลบั้มอยู่ราวๆ LRP-3415, LST-7415. หลังจากนั้น Liberty จึงได้เปลี่ยนโลโกแบบใหม่มาใช้ในอัลบั้มซึ่งเริ่มจากหมายเลขที่ LRP-3417/LST-7417 เป็นต้นไป แต่ก็ยังมีบางอัลบั้มที่ออกมาหลังจากนี้ยังคงใช้โลโกเดิมอยู่ เนื่องมาจากอยู่ช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลงและยังเหลือฉลากเดิมที่ยังใช้ไม่หมด

เลเบลส่งเสริมการขาย ยุคที่ 2

สำหรับฉลากที่ใช้กับแผ่นสำหรับส่งสริมการขายหรือ promotional issues ในยุคที่ 2 นี้ยังคงเป็นพื้นสีขาวพิมพ์ด้วยสีดำ รูปกราฟฟิคเหมือนเดิม ส่วนที่เป็นพื้นสีรุ้งด้านซ้าย ได้ย้ายมาอยู่ในแนวนอนและเป็นสีขาว-ดำ ในเวลาต่อมาพื้นสีขาวได้ถูกเปลี่ยนเป็นสีครีมแทน





เลเบล ยุคที่ 3

ฉลากในยุคที่ 3 คล้ายกับยุคที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงบ้างโดยมีรูปโลโก้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวโดยมีมุมกรอบลักษณะมน อยู่ในตำแหน่งซ้ายมือของรูกลางแผ่นเสียง และมีแถบพื้นสีรุ้งเป็นแนวตั้งจากขอบด้านซ้ายมือกินบริเวณ ¼ ของพื้นฉลาก ฉลากในยุคที่ 3 นี้ได้มีการใช้มาจนถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 1969 ประมาณลำดับอัลบัมที่ LST-7620. ส่วนฉลากที่ใช้กับแผ่นส่งเสริมการขาย (Promotional issues) นั้นยังคงเป็นสีครีมพิมพ์ด้วยอักษรสีดำ


เลเบล ยุคที่ 4

ฉลากในยุคที่ 4 ก็เหมือนกับยุคที่ 3 เกือบทุกประการเพียงแต่ย้ายข้อความระบุบริษัทผู้ผลิต ซึ่งเดิมอยู่ในแนวตั้งประชิดกับแถบสีรุ้งมาอยู่ในแนวนอน ในตำแหน่งขอบด้านล่างของฉลาก ด้วยข้อความใหม่ดังนี้ “LIBERTY/UA INC. LOS ANGELES, CALIFORNIA”. และกรอบสี่เหลี่ยมของโลโกจะเป็นมุมฉาก ไม่มนเหมือนเดิม ฉลากรุ่นนี้ใช้ในปี1970 และปี 1971.







เลเบลพิเศษ Premier Series

Liberty ยังมีฉลากที่ออกมาใช้สำหรับแผ่นชนิดพิเศษ (Premier Series) ที่มีคุณภาพสูง สีพื้นฉลากเป็นสีทอง ตัวหนังสือและลายเส้นสีดำ แผ่นในซีรี่นี้จะมีปกนอกที่แข็งลักษณะเป็น Fold-open record jacket มีการพิถีพิถันออกอัลบัมให้กับ ศิลปินที่มีพรสวรรค์พิเศษ เช่น Felix Slatkin, Bessie Griffin, Richard Marino, Si Zentner และ Tommy Garrett ได้ออกอัลบัมชุดพิเศษนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “Poly 120 Sound.”

แผ่นในชุด Premier Series นี้ใช้หมายเลข LMM-12000 สำหรับ mono และ LSS-14000 สำหรับที่บันทึกมาแบบสเตอริโอ.







เลเบล United Artits

ในปี 1970 United Artists ซึ่งได้มีอัลบัมออกจำหน่ายเริ่มด้วยหมายเลขซี่รี่ UA-LA000 ได้ออกอัลบัมมากว่า 1000 อัลบัม จนถึงปี 1980 มีอัลบั้มที่ออกจำหน่ายไปแล้วจนถึงอัลบัมที่ประมาณ 1060 ชื่อของ United Artists ก็ตกต่ำ จนต้องหันกลับมาใช้ฉลาก Liberty แทน อัลบัมเก่าๆที่เคยบันทึกภายใต้ชื่อ United Artists ถูกนำมาทำซ้ำใหม่(reissued) โดยใช้ฉลาก Liberty ด้วยหมายเลขอัลบัมเดียวกันกับที่ใช้ในฉลาก United Artists ลักษณะรูปแบบฉลากจะมีสีพื้นไล่ Shade สีเทา มีข้อความ Liberty เป็นอักษรสีต่างๆเริ่มจากแดงจนถึงสีเขียว พร้อมโลโกเทพีสันติภาพในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆด้านขวามือ


บทความนี้เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรโมโฟน ไม่หวงห้ามในการแชร์ เพียงแต่กรุณาให้เครดิตต้นทาง จักขอบคุณยิ่ง

ประวัติ และ วิธีดู เลเบลแผ่น Elektra Records โดย ลุงพง

ประวัติความเป็นมา Elektra Records

โลโก้ Elektra Records

ผู้เริ่มก่อตั้ง Elektra Records คือ Jac Holzman ในเดือน ธันวาคม ค.ศ.1950, ที่เมือง New York City. เริ่มต้นด้วยการบันทึกดนตรีประเภท folk music, ethnic music (เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมืองดั้งเดิม), jazz และ gospel (เพลงสวดในโบสถ์) โดยต่อมาภายหลังมีการขยายไปถึงเพลงประเภท blues, pop, และ rock music. 

Jack Holzman เกิดเมื่อเดือนกันยายนปี 1931 ที่เมือง New York ครอบครัวมีฐานะเป็นคนชั้นกลาง โดยบิดาเป็นนายแพทย์ที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ เขามักขัดแย้งรุนแรงกับวิถีความเป็นอยู่ของครอบครัว และได้หนีออกจากบ้านหลายครั้ง เมื่ออายุ 12 ปี เคยหนีไปไกลสุดถึงเมือง Trenton, New Jersey, และซุกตัวอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ถูกหาจนพบและถูกพากลับบ้านไป ครอบครัวเขามีเครื่องเล่นแผ่นเสียงระดับสุดยอด (state-of-the-art ) และ Jac ก็คลุกอยู่กับดนตรีและฟังวิทยุ เขามีย่าเป็นชาวยิวชื่อ Estelle Stenberger เป็นหัวหน้ากลุ่มของ the National Council of Jewish Women เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเมืองออกอากาศที่สถานีวิทยุ WQXR. Jac ก็ได้ติดตามย่าไปที่สถานีวิทยุ จนเกิดความสนใจด้านอีเล็คโทรนิคถึงขั้นผลิตเครื่องรับวิทยุแบบใช้แร่ขึ้น แต่แล้วก็ถูกส่งตัวไปเรียนที่ Peekskill Military Academy เป็นเวลา 2 ปี ในปี 1946 เขาตื้อพ่อให้ซื้อเครื่องบันทึกแผ่นเสียงให้เป็นของขวัญวันเกิดอายุ 15 ปีจนสำเร็จ เป็นเครื่องยี่ห้อ Meissner ระดับกึ่งมืออาชีพ. 

Jac จบ high school ด้วยวัย 16 ปี และเข้าเรียนต่อที่ St. John’s College ใน Annapolis, Maryland. เขาไม่สนใจในชั้นเรียน จึงขาดเรียนเสมอ แต่ไปขลุกตัวเองอยู่ในห้องแล๊ปอีเล็กโทรนิค ใช้เวลาไปกับการทดลอง ในปี 1950 ที่วิทยาลัยแห่งนี้ Jac มีโอกาศได้เข้าฟังการบรรยายด้านดนตรีโดย Banister. ในเรื่องการสร้างดนตรีจากกลอนของ Rilke, Holderlin และ e.e. cummings, โดย John Gruen. เป็นผู้ประพันธ์ดนตรี Jac จึงเกิดความรู้สึกว่าดนตรีนี้มีค่าควรแก่การบันทึกเก็บไว้ เขาจึงตัดสินใจเริ่มธุระกิจการบันทึกเสียงขึ้นด้วยตนเอง โดยขอร้องให้ Banister และ Gruen มาร่วมเป็นศิลปินให้ และในวันที่ 10 ตุลาคม 1950, Jac ก็ตัดสินใจใช้คำว่า Elektra เป็นชื่อบริษัท ตอนเริ่มแรกก็ย่ำแย่ไม่ประสบความสำเร็จ แค่อัลบัมแรก EKLP-1.ซึ่งบันทึกเพลงใหม่ของ John Gruen ก็ถูกส่งคืนจากตัวแทนจำหน่ายเกือบหมด จนกระทั่งมาอัลบัมที่ 2 Elektra LP [EKLP-2] เป็นแผ่น 10 นิ้ว เพลงร้องของ Jean Ritchie อัลบัม Jean Ritchie Singing the Traditional Songs of Her Kentucky Mountain Family. ได้รับคำชมจากการวิจารณ์ และขายได้ถึง 2000 copies. 

หลังจากที่ได้ประสบความสำเร็จจากอัลบัมของ Ritchie, Jac ก็ลงทุนซื้อชุดเครื่องบันทึกเป็นของตนเอง มีเครื่องเทป Magnecord PT-6 และ Electro-Voice Hammerhead microphone. และยังคงบันทึกอัลบัมเพลงประเภท folk albums ต่อไปอีกโดยมี Frank Warner, Shep Ginandes, Cynthia Gooding, Hally Wood และ Tom Paley เป็นศิลปินในปี 1952 และ 1953. พอมาถึงปี 1954, Elektra ก็ออกอัลบัมแรกที่เป็นประเภท blues โดยมี Sonny Terry and Brownie McGhee., Jac ย้ายที่ทำการบริษัทมาที่ 361 Bleecker Street. 

ในปี 1955 Jac ได้พบกับ Theodore Bikel และได้ปั้นให้เป็นนักร้องโดยบันทึกในแผ่น 10” album [EKL-32] titled Folk Songs of Israel เป็นอีกอัลบัมที่ประสบความสำเร็จอย่างดี

ต่อมาได้เซ็นสัญญารับ Josh White, เข้าในสังกัดซึ่งเป็นนักร้องหลักที่ร้องเพลงประเภท folk

Elektra ยังคงขยายงานต่อโดยในปี 1961 ได้เซ็นสัญญากับ Judy Collins และออกอัลบัมแรก A Maid of Constant Sorrow [EKL-209], ขายได้ถึง 5 พัน copies. แม้ว่าจะมีเสียงวิจารณว่าเสียงร้องเหมือนเลียนแบบมาจาก Joan Baez แต่ Holzman ก็ยังคงออกอัลบัมของเธอต่อไป Golden Apples of the Sun [EKL-222]. และประสบความสำเร็จด้วยดี

ในปี 1963 Jac เริ่มความคิดที่จะออกอัลบัม classical music ให้มีราคาถูกในระดับที่ผู้คนจะหาซื้อได้โดยง่าย เขาใช้เลเบลชื่อ Nonesuch เพื่อสื่อความหมายว่า “Quality Recordings at the Price of a Quality Paperback”. แผ่น Nonesuch ภายใต้ Electra record ตั้งราคาขายแค่ $2.50 ครึ่งราคาของราคาขายแผ่น classical ทั่วไป ทำให้จำหน่ายได้ดี สร้างรายได้ให้แก่ Electra อย่างมั่นคง 

ในปี 1966, Jac ได้ศิลปินวง the Doors เข้าในสังกัด ได้ออกอัลบัม”Light My Fire” ที่ติดอันดับ 1 ใน pop charts ปี 1967 กลายเป็นแผ่น single. แรกของ Electra ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจนกระทั่งในระยะเวลาต่อมาอีก 30 ปี อัลบัมของ the Doors ได้จำหน่ายไปถึงมากกว่า 45 ล้านแผ่น จากความสำเร็จนี้ Elektra ได้เปลี่ยนแนวดนตรีจาก Folk label มาเป็นเพลงแนว rock แทน และตัดสินใจสร้างสำนักงานที่ west coast พร้อมกับสร้าง Studio ระดับ state-of- the-art ที่ 962 North La Cienega Boulevard. Elektra แม้ว่าตะประสบความสำเร็จจาก the Doors, Judy Collins, Tim Buckley และวง Bread. แต่ธุรกิจแผ่นเสียงได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม Jac รู้ตัวดีว่าค่ายเพลงอิสระที่ไม่ใหญ่พอไม่สามารถที่จะยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง เขาจึงมีความตั้งใจจะไปรวมตัวกับค่ายเพลงที่อยู่มายาวนานเช่น Columbia, RCA, Decca หรือ Capitol. แต่พอดีมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในปี 1967, Warner Brothers ซื้อกิจการของ Atlantic Records, ซึ่งเกิดพร้อมๆกับ Elektra. Jac จึงเข้าเจรจาขายกิจการให้กับ Warner Brothers ในราคา 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และตัวเขาเองก็เกษียนตนเองในขณะอายุ 42 ปี ไปอยู่ที่ Hawaii. 

ระหว่างช่วงปลายทศวรรษ ’70s Elektra ได้เพิ่มศิลปินในสังกัด โดยประเภท pop ก็มี Neil Sedaka, Tony Orlando & Dawn, Sparks, the Cars ฯลฯ ประเภท country ก็มี Eddie Rabbitt และ Jerry Lee Lewis ฯลฯ ประเภท heavy rock ก็มีวง Queen และประเภท soul and funk ก็มี Patrice Rushen และ Donald Byrd. Elektra Records และ Asylum Records ได้รวมตัวกันในปี 1974. ทุกวันนี้ Elektra ยังคงดำเนินกิจการโดยเป็นส่วนหนึ่งของ Time-Warner Communications

Elektra Album Discography

แผ่น 10 นิ้วยุคแรก (1951-1956)

แผ่น 10 นิ้วยุคแรก (1951-1956)
ไม่เหมือนกับค่ายแผ่นเสียงอื่นที่ออกแผ่นเสียงยุคแรกๆช่วงต้นทศวรรษ 1950s, จะเป็นแผ่น 10” แต่ของ Electra แผ่นแรกกลับเป็นแผ่น 12” ออกในปี 1951. ส่วนแผ่น 10” มาออกเริ่มตั้งแต่แผ่นที่ 2 
เลเบลในยุคแรกจะมีพื้นสีขาว ตัวพิมพ์สีเขียว หรือ สีน้ำเงิน โลโก้ของ Elektra เป็นตัวเขียนอยู่ในรูปวงรี มีข้อความ “Hi-Fidelity” อยู่ด้านซ้าย และ “Long Playing” อยู่ด้านขวาของโลโก้ รูปแบบโดยรวม ออกแบบให้ดูเหมือนรูป atom โดยมีอีเล็คตรอนอยู่รอบ และแผ่รังสีพลังงานออกมาจากใจกลาง เลเบลนี้ใช้มาจนถึงกลางทศวรรษ 1960 มีหมายเลขแผ่นเริ่มที่ EKLP-1 Series

EKL-100/EKS-7100 Series (1956-1971)

EKL-100/EKS-7100 Series (1956-1971)

เลเบลยุคที่ 2 เริ่มใช้ในปี 1960 มีพื้นสีเทา ตัวพิมพ์สีดำ โลโก้เปลี่ยนใหม่เป็นรูปกราฟฟิคคนนั่งเล่นกีต้าอยู่ในพื้นวงกลมสีแดง โลโก้นี้อยู่ด้านบนข้างขวาของฉลากโดยมีเส้นเหมือนรังสีสีเหลืองพุ่งไปด้านบนและล่างทางขวาของโลโก้ มีข้อความตัวเขียนสีขาวว่า “The Sound of Quality” อยู่ด้านซ้ายมือของโลโก้ และด้านล่างสุดของฉลากมีข้อความสีขาวของ copyright statement

เลเบลรุ่นที่ 3

เลเบลรุ่นที่ 3 ใช้มาตั้งแต่ปี 1961 จนถึงต้นปี 1966 จะมีพื้นสีทองมีขอบรูปฟันปลาโดยรอบวงกลมของฉลาก รูปโลโก้สีขาวนักเล่นกีต้ามีขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ในตำแหน่งกลางเหนือรูแผ่นเสียง ด้านบนสุดของฉลากมีข้อความ “Outstanding High Fidelity Recordings.” สีขาวโค้งตามขอบฉลาก

เลเบลรุ่นที่ 4 EKS-7100 Series

เลเบลรุ่นที่ 4 ใช้ตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1966 จนถึงสิ้นสุดของซีรี่นี้ (EKS-7100 Series) รูปโลโก้เปลี่ยนไปเป็นอักษร E รูปแบบไสตร์ block letter และมีข้อความ “elektra” อยู่ติดด้านล่าง โลโก้นี้อยู่ในตำแหน่งกลางเหนือรูแผ่นเสียง สีฉลากมีทั้งสีน้ำตาล(tan) หรือสีทอง (Gold) จนถึง silver-grey

EKL-4000/EKS-7400 Series (1966-1971)

ต่อมาปลายฤดูร้อนของปี 1969 เลเบลของ Elektra เปลี่ยนสีพื้นเป็นสีแดง แต่ยังคงรูปแบบเดิม ฉลากรุ่นนี้ใช้มาจนกระทั่งถึงปลายฤดูร้อนของปี 1970.

เลเบล Elektra records รูปผีเสื้อ

ในราวเดือนกันยายน ปี 1970 รูปแบบเลเบลได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง เป็นรูปแบบใหม่ต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง สีพื้นจะเป็น multicolor และมีรูปผีเสื้ออยู่ด้านขวาของรูแผ่นเสียงและติดกับโลโก้รูปแบบเดิมของ Electra

เลเบล Elektra สีขาว

สำหรับแผ่นแจกเพื่อส่งเสริมการขาย Promotional copies จะมีพื้นสีขาวแทนโดยรูปแบบเหมืนเดิม

เลเบล Elektra The 60000 series

เริ่มตั้งแต่ต้นปี 1982 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน รูปแบบเลเบลได้เปลี่ยนไปอีกโดยสิ้นเชิง มีพื้นสีดำ-แดง ตามรูป

  • บทความนี้ เป็นของ ลุงพง จากเว็บไทยแกรโมโฟน ไม่หวงห้ามในการส่งต่อแบ่งปัน เพียงกรุณาให้เครดิตต้นทาง ลุงพง และ เว็บไทยแกรมโมโฟน จักขอบคุณยิ่ง

ประวัติ และ วิธีดูเลเบลแผ่นเสียง Columbia Record โดย ลุงพง

แผ่นเสียง Columbia Record

ประวัติความเป็นมา Columbia Record

Columbia เป็นค่ายแผ่นเสียงเก่าแก่มีประวัติอันยาวนาน ย้อนไปตั้งแต่ปี คศ. 1888 ไม่สามารถที่จะติดตามและเขียนได้อย่างสมบูรณ์ในชั่วชีวิตทีเดียว เอาเฉพาะประวัติโดยย่อดังนี้ บริษัทดั้งเดิมของ Columbia เริ่มมาจากเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องเล่นแผ่นเสียง Edison phonographs และ phonograph cylinders (กระบอกเสียง ซึ่งต่อมาพัฒนากลายเป็นแผ่นเสียง) อยู่ที่ Washington DC, Maryland และ Delaware จากการที่ไปรับทำกระบอกเสียงตามสั่งของลูกค้าท้องถิ่นโดย Columbia ผลิตจำหน่ายเองด้วย สุดท้ายจึงถูก Edison และ North American Phonograph Company ตัดออกจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายในปี 1893 Columbia จึงต้องผลิตจำหน่ายเองหลังจากนั้น

นอกจากจะจำหน่ายเครื่องเล่นแผ่นเสียงและกระบอกเสียงดั้งเดิมแล้ว ในปี 1901 Columbia เริ่มจำหน่ายแผ่นเสียงรุ่นใหม่ที่เป็นจาน (Disc records) ส่วนด้านการตลาดนั้นเป็นเวลานับ 10 ปี ที่ Columbia ต้องแข่งขันกับ Edison Phonograph Company และแผ่นเสียงของ Victor Talking Machine Company จนกระทั่งในปี 1908 Columbia สามารถผลิตแผ่นเสียงชนิดใหม่ที่บันทึกได้ 2 ด้าน “Double Sided” และผลิตได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ออกสู่ตลาด. 
ในปี 1912 เดือน กรกฎาคม Columbia ตัดสินใจมุ่งมั่นทำตลาดเฉพาะแผ่นเสียง (Disc records)อย่างเดียว โดยเลิกจำหน่ายกระบอกเสียง (Cylinder records) และเครื่องเล่นสำหรับกระบอกเสียงแม้ว่าจะยังคงมีการผลิตจำหน่ายหลังร้านต่อไปอีก 1-2 ปี 
ในยุคนี้มีแผ่นอัลบัมของศิลปิน Bessie Smith ผลิตในปี 1925 ซึ่งมีรูปแบบฉลากที่มีหลายเป็นครั้งแรกและยังคงเป็นที่นิยมเก็บสะสมมาจนทุกวันนี้ (รูปนำบทความ)

ในปี 1925 เริ่มนำระบบเครื่องบันทึกเสียงแบบใหม่ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Western Electric มาใช้ในการผลิตแผ่นเสียง เป็นผลให้คุณภาพแผ่นดีขึ้น และในเดือนตุลาคม ปี 1928 ก็เข้าครอบครอง Okeh records ผู้บริหารของ Columbia คือ Frank Buckley Walker เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกบันทึกเพลงลูกทุ่ง country music หรือ “hillbilly” เป็นครั้งแรกที่ Johnson City, Tennessee มีศิลปินเช่น Clarence Green และศิลปินที่กลายเป็นตำนานคือ fiddler and entertainer, Charlie Bowman. 
บริษัท Columbia Phonograph ในอเมริกามีการบริหารงานแยกเป็นอิสระจากบริษัทในอังกฤษและประเทศอื่น กระทั่งต่อมาได้มีการจัดตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศอังกฤษกลายเป็น The Columbia International Ltd เริ่มมาตั้งแต่ปี 1900 และซื้อ Parlophone ของ Holland เข้ามาอยู่ในเครือ ปี 1925 และการรวมตัวนี้มีผลกดดันให้ Columbia Gramophone Company ในอังกฤษ ต้องรวมตัวกับอีกบริษัทคือ Gramophone Company เป็นบริษัทใหม่ชื่อว่า Electric & Musical Industries Ltd. (EMI) ในปี 1939 นอกจากนั้นยังกดดันให้ขายกิจการของ Columbia ในอเมริกา เนื่องจากเกิดความไม่ไว้ใจที่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับ American Record Corporation (ARC)

CBS หรือ Columbia Broadcasting System

ในเวลาต่อมา ARC, และ Columbia ในอเมริกาสุดท้ายก็ถูกซื้อกิจการโดย Columbia Broadcasting System (CBS) ในปี 1938 เป็นเงิน US$700,000. ซึ่ง CBS ก็คือบริษัทที่กำเนิดขึ้นโดย Columbia Records เป็นผู้มีส่วนร่วมก่อตั้งขึ้นมาด้วย ฉะนั้นจากนี้ไปจนถึงปลายปี 1950 เครื่องหมายการค้าที่ใช้ในฉลากจึงมีทั้งรูปโลโกตัวโน้ทดนตรีพิมพ์อยู่ด้านซ้าย และรูปโลโก้ CBS microphone อยู่ที่ด้านขวา

ในปี 1948 Columbia เปิดตัวแนะนำแผ่น Long Playing microgroove (LP บางครั้งใช้เครื่องหมาย Lp) ระบบความเร็ว 33⅓ รอบต่อนาที ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นมาตรฐานของแผ่นเสียงกว่าครึ่งศตวรรษ 
ในปี 1951, Columbia USA ได้เกิดปัญหาในการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายกับ EMI เป็นเวลานานนับสิบปี จนหันไปทำสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายกับ Philips Records แทน ส่วน EMI ยังคงจำหน่าย เลเบลของ Okeh (ซึ่งต่อมากลายเป็น Epic) ต่อไปอีกหลายปีจนถึงปี 1960

Columbia เป็นบริษัทแผ่นเสียงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปี 1950 เมื่อได้ว่าจ้าง Mitch Miller ให้ออกจากบริษัท Mercury records มาร่วมงาน Miller รีบจัดการทำสัญญากับศิลปินดาราใหญ่ของ Mercury คือ Frankie Laine และค้นพบศิลปินที่กลายเป็นดารานานนับสิบปีต่อมาอีกมากมายรวมทั้ง Tony Bennett, Guy Mitchell, Johnnie Ray, The Four Lads, Rosemary Clooney และ Johnny Mathis

  • ในปี 1953 CBS จัดตั้งบริษัทซึ่งเปรียบเสมือนเป็นน้องสาวของ Columbia คือ Epic Records.
  • ในปี 1955, Columbia USA แนะนำโลโกใหม่ เป็นรูปตามีขาเรียกว่า Walking Eye ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทน Stylus ของหัวเข็ม (คือรูปขา) และแทนแผ่นเสียง (คือรูปตา) โลโก้นี้มีการปรับปรุงอีกในปี 1960 จนกลายเป็นโลโกที่คุ้นตาและยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้
  • ในปี 1961 CBS ได้สิ้นสุดความสัมพันธ์กับ Philips Records และสร้างเป็นองค์กรของตนเองในระดับนานาชาติชื่อ CBS Records จัดจำหน่ายแผ่นเสียงของ Columbia เองนอกอาณาจักรของอเมริกาและแคนาดาในเลเบลของ CBS และเมื่อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายแผ่นเสียงเลเบล Epic โดย EMI ได้จบสิ้นลง CBS Records ก็ได้เข้ามาจัดจำหน่ายแทนโดยใช้เลเบลของ Epic records
  • ในปี 1983 CBS Records สร้างสถิติการผลิตและจำหน่ายแผ่นเสียงสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 26 ล้านแผ่น ในอัลบัมของ The Eagles Their Greatest Hits 1971-1975
  • ในปี 1988 CBS Records ก็ถูก Sony เข้าครอบครอง และมีการจัดตั้งองค์กรใหม่ภายใต้บริษัทแม่ ชื่อว่า Sony Music Entertainment ในปี 1991
  • ต่อมาในปี 2004, Sony ได้รวมแผนกดนตรีของตนเข้ากับ Bertelsmann AG’s BMG เป็นบริษัทใหม่ชื่อว่า Sony BMG และยังคงจัดจำหน่ายแผ่นเสียงในนาม Columbia Records และโลโก Walking Eye ในตลาดทั่วโลกยกเว้นในญี่ปุ่น (ใช้ชื่อว่า Sony Records ซึ่ง Sony เป็นเจ้าของ 100%) ในญี่ปุ่นเอง เครื่องหมายการค้ารูปตัวโน้ท (Magic Notes) กลับเป็นลิขสิทธิ์ครอบครองโดย Nippon Columbia ซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า Columbia Music Entertainment.

Columbia Label Discography

เฉพาะเลเบลแผ่นที่มีผลิตออกมาจำหน่ายเท่าที่ติดตามได้เท่านั้น

ย้อนขึ้นไปตั้งแต่ปี 1948 Columbia ออกอัลบัมแผ่นชนิด 10 นิ้ว สังเกตุที่ฉลากจะมีอักษรว่า Lp (ตัวพิมพ์ใหญ่ “L” ตัวพิมพ์เล็ก “p”) แทนคำว่า “long playing” record และใช้เป็นหมายเลขรหัสของเนื้อแผ่น(Matrix number) ดังเช่น “Lp” 360/”Lp” 361 (อัลบัม Dinah Shore Sings หมายเลขแผ่น Columbia CL-6004) ต่อมาเมื่อเริ่มออกเป็นแผ่น 12 นิ้ว ก็จะเรียกว่า “extra long playing” ด้วยหมายเลข Matrix number ในแบบ X”Lp” 8463, เป็นต้น สำหรับแผ่น 10 นิ้วจะมีหมายเลขแผ่นอยู่ 2 รูปแบบ คือ CL-6000 series และ CL-2500 series. สำหรับแผ่นชนิด 12 นิ้ว เท่าที่พบจะเริ่มจากหมายเลขแผ่นที่ GL 500 และเรียงเรื่อยๆ จนถึงต้นปี 1970 จึงเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบปัจจุบันในที่สุด

และนับจากเริ่มต้นที่ออกอัลบัมแผ่น 12 นิ้วมาตั้งแต่ปี 1951 ฉลาก หรือ เลเบล จะมีพื้น สีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน มีหมายเลขแผ่นนำหน้าด้วยอักษร GL ตั้งแต่ต้นจนถึงกลางปี 1953 จะอยู่ที่หมายเลข GL 525 จากนั้นก็เปลียนสีฉลากเป็นสีแดงที่คุ้นเคยกัน และอักษรนำหน้าของหมายเลขแผ่นกลายเป็น CL แทน นอกจากนั้นยังออก Reissues ของอัลบั้ม GL series เดิมโดยใช้ฉลากสีแดงและอักษรนำหน้า CL แทนฉลากเดิมเช่นกัน แผ่นเสียง 12 นิ้วของ Columbia ตั้งราคาขายที่ $3.98 ในอัลบัมเดียวกันนี้ยังออกเป็นแผ่น 7 นิ้ว (EP sets) โดยใช้วัสดุที่ผลิตและรูปปกเหมือนกัน ขายในราคา $2.98. 

และให้สังเกตว่าแผ่น long-play ระยะต้นๆที่ออกมาหลายๆอัลบัมเป็นการทำขึ้นโดยใช้ master ที่ใช้สำหรับแผ่นชนิด 78 rpm ในยุคปี ’30s และ ’40s. 
ตัวอย่างแผ่น 12 นิ้วในยุคแรกปี 1951-1954 

GL 500 – Benny Goodman: Combos – Benny Goodman Quintet, Sextet, & Septet [9-7-51] 
GL 501 – Benny Goodman: Bands – Benny Goodman [9-7-51] 
GL 502 – John Kirby and His Orchestra – John Kirby [10-19-51] 
GL 503 – The Bessie Smith Story, Volume I – Bessie Smith [11-16-51] 
GL 504 – The Bessie Smith Story, Volume II – Bessie Smith [11-16-51] 
GL 505 – The Bessie Smith Story, Volume III – Bessie Smith [11-16-51] 
GL 506 – The Bessie Smith Story, Volume IV – Bessie Smith [11-16-51] 
GL 507 – The Bix Biederbecke Story, Volume I: Bix and His Gang – Bix Biederbecke [3-21-52] 
GL 508 – The Bix Biederbecke Story, Volume II: Bix and Tram – Bix Biederbecke [3-21-52] 
GL 509 – The Bix Biederbecke Story, Volume III: Whiteman Days – Bix Biederbecke [3-21-52] 
GL 510 – Quiet Music, Volume I: Serenade – Columbia Salon Orchestra [5-9-52] 
GL 511 – Quiet Music, Volume II: Romance – Various Artists [5-9-52] 
GL 512 – Quiet Music, Volume III – Various Artists [5-9-52] 
GL 513 – Quiet Music, Volume IV: Nocturne – Various Artists [5-9-52] 
GL 514 – Quiet Music, Volume V: A Marek Weber Musicale – Marek Weber [5-9-52] 
GL 515 – Quiet Music, Volume VI: Relaxing with Cugat – Xavier Cugat [5-9-52] 
GL 516 – Benny Goodman Trio Plays for the Fletcher Henderson Fund – Benny Goodman Trio [7-18-52] 
GL 517 – Quiet Music, Volume VII: Moonlight – Various Artists [11-21-52] 
GL 518 – Quiet Music, Volume VIII: Dream – Various Artists [11-21-52] 
GL 519 – Quiet Music, Volume IX – Various Artists [11-21-52] 
GL 520 – Bunk Johnson and His Band – Bunk Johnson [12-5-52] 
GL 521 – Arthur Godfrey’s TV Calendar Show – Various Artists [2-23-53] 
GL 522 – One Night Stand – Harry James and His Orchestra [4-3-53] 
GL 523 – Benny Goodman Presents Eddie Sauter Arrangements – Benny Goodman [5-1-53] Reissued as CL 523. 
GL 524 – Benny Goodman Presents Fletcher Henderson Arrangements – Benny Goodman [5-1-53] Reissued as CL 524.

เลเบลแผ่น columbia 12 นิ้ว

สำหรับแผ่น 12 นิ้ว ต่อมาเปลี่ยนสีฉลากเป็นสีแดง และหมายเลขแผ่น ขึ้นต้นด้วย CL 
CL 525 – Percy Faith Plays Continental Music – Percy Faith [8-31-53] 
CL 526 – Percy Faith Plays Romantic Music – Percy Faith [8-31-53] 
CL 527 – Mood Music By Paul Weston – Paul Weston [11-2-53] 
CL 528 – Dream Time Music By Paul Weston – Paul Weston [11-2-53] 
CL 529 – Pop Concert – Ray Martin [8-31-53] 
CL 530 – Viennese Memories – Alexander Schneider [11-2-53] 
CL 531 – Frankie Carle’s Piano Party – Frankie Carle [8-31-53] 
CL 532 – Quiet Music, Volume X – Various Artists [8-31-53] 
CL 533 – Dance the Fox Trot – Various Orchestras [8-31-53] 
CL 534 – Benny Goodman & His Orchestra – Benny Goodman [8-31-53] 
CL 535 – Erroll Garner – Erroll Garner [11-2-53] 
CL 536 – Sophisticated Swing – Les Elgart [11-2-53] 
CL 537 – Dance with Cugat – Xavier Cugat [11-2-53] 
CL 538 – Hawaiian Holiday – Hal Aloma & His Hawaiians [11-2-53] 
CL 539 – Dance with Les Brown – Les Brown & His Orchestra [1-25-54] 
CL 540 – Christmas with Arthur Godfrey and All the Little Godfreys – Various Artists [10-26-53] 
CL 541 – Late Music, Volume I – Various Artists [1-25-54] 
CL 542 – Late Music, Volume II – Various Artists [1-25-54] 
CL 543 – Late Music, Volume III – Various Artists [1-25-54] 
CL 544 – The Van Damme Sound – Art Van Damme Quintet [4-19-54] 
CL 545 – Easy to Remember – Norman Luboff Choir [3-1-54] 
CL 546 – When the Saints Go Marching In – Turk Murphy & His Jazz Band [3-15-54] 
CL 547 – Jam Session Coast-to-Coast – Eddie Condon with His All Stars & Rampart St. Paraders [3-15-54] 
CL 548 – The Huckle-Buck and Robbins’ Nest: A Buck Clayton Jam Session – Buck Clayton [3-15-54] 
CL 549 – Chet Baker and Strings – Chet Baker [4-14-54] 
CL 550 – Kismet – Percy Faith [2-15-54] 
CL 551 – Music Until Midnight – Mitch Miller with Percy Faith & His Orchestra [1954] 
CL 552 – The New Benny Goodman Sextet – Benny Goodman [4-19-54] 
CL 553 – Trumpet After Midnight – Harry James & His Orchestra [5-3-54] 
CL 554 – Comedy in Music – Victor Borge [1954] 
CL 555 – I Love Paris – Michel Legrand avec Orchestra [6-7-54] [French] 
CL 556 – Holiday in Vienna – Alexander Schneider [6-7-54] 
CL 557 – Jam Session at Carnegie Hall – Mel Powell & His All-Stars featuring Gene Krupa & Buck Clayton [7-5-74] 
CL 558 – The Music of Duke Ellington Played By Duke Ellington – Duke Ellington [7-19-54] 
CL 559 – The Music of Jelly Roll Morton Played By Turk Murphy and Wally Rose – Turk Murphy & Wally Rose [7-19-54] 
CL 560 – Symphonic Serenade – Morton Gould conducting the Rochester “Pops” Orchestra [8-16-54] 
CL 561 – Columbia Dance Party Series: Swing and Sway with Sammy Kaye – Sammy Kaye [8-2-54] 
CL 562 – Columbia Dance Party Series: Dancing in Person with Harry James at the Hollywood Palladium – Harry James [8-2-54] 
CL 563 – Columbia Dance Party Series: Dancing in Person with Dick Jurgens at the Aragon Ballroom – Dick Jurgens [8-2-54] 
CL 564 – Columbia Dance Party Series: Square Dancing – Manning Smith with the Rhythm Outlaws of Texas [8-2-54] 
CL 565 – Hula – Waikiki Hula Boys [7-5-54] 
CL 566 – Jazz Goes to College – Dave Brubeck Quartet Featuring Paul Desmond [6-7-54] 
CL 567 – How Hi the Fi: A Buck Clayton Jam Session featuring Woody Herman – Buck Clayton [7-19-54] 
CL 568 – Paris Je T’aime – Maurice Chevalier avec Orchestra [6-21-54] [French] 
CL 569 – St. Germain-des-Pres – Juliette Greco avec Orchestra [6-21-54] [French] 
CL 570 – Mademoiselle de Paris – Jacqueline Francois avec Orchestra [6-21-54] 
CL 571 – Montmartre – Patachon avec Orchestra [6-21-54] [French] 
CL 572 – Carribean Cruise – Paul Weston [8-9-54] 
CL 573 – Hi-Fire Works – Art Ferrante & Lou Teicher [9-6-54] 
CL 574 – Music for a Rainy Night – Paul Weston [9-6-54] 
CL 575 – Liberace at the Piano – Liberace [8-9-54] 
CL 576 – Arthur Godfrey’s TV Sweethearts – Marion Marlowe & Frank Parker [8-9-54] 
CL 577 – Music from Hollywood – Percy Faith [8-9-54] [matrix XLP 32186/87] 
CL 578 – A Musical Portrait of New Orleans – Jo Stafford & Frankie Laine [8-9-54] 
CL 579 – Cugat’s Favorite Rhumbas – Xavier Cugat [8-9-54] 
CL 580 – Famous Operettas – Morton Gould [12-6-54] [matrix XLP 31688] 
CL 581 – Soft Lights, Sweet Trumpet – Harry James [8-9-54] 
CL 582 – Young Man with a Horn – Harry James with Doris Day [8-9-54] 
CL 583 – Erroll Garner Gems – Erroll Garner [8-9-54] 
CL 584 – Jo Stafford Sings Broadway’s Best – Jo Stafford [8-9-54] 
CL 585 – Hollywood’s Best – Rosemary Clooney & Harry James [8-9-54] 
CL 586 – Anniversary Songs – Ken Griffin [8-9-54] 
CL 587 – A Musical Journey with George Liberace – Liberace [9-6-54] 
CL 588 – Music of Christmas – Percy Faith [9-20-54] 
CL 589 – Christmas at Liberace’s – Liberace [11-8-54] 
CL 590 – Dave Brubeck at Storyville: 1954 – Dave Brubeck with Paul Desmond [11-20-54] 
CL 591 – Louis Armstrong Plays W.C. Handy – Louis Armstrong [10-18-54] 
CL 592 – The Three Herds – Woody Herman [12-6-54] 
CL 593 – Without A Word – Various Artists [12-6-54] 
CL 594 – Just One More Dance – Les Elgart [12-6-54] 
CL 595 – Barrelhouse Jazz – Turk Murphy [12-6-54] 
CL 596 – The Three Bells – Les Compagnons de la Chanson [11-8-54] [French] 
CL 597 – Columbia Dance Party Series: Tango Time – Various Artists [12-6-54] 
CL 598 – Columbia Dance Party Series: Mambo at Midnight – Belmonte & His Afro-American Music [12-6-54] 
CL 599 – Columbia Dance Party Series: Saturday Night Mood – Various Orchestras [12-6-54]

เลเบลแผ่น columbia Magic Note

รุ่นต่อมาฉลากเป็นสีเขียวตัวพิมพ์สีทอง 
มีโลโกรูปตัวโน้ท (Magic Note) อยู่บนสุด มีคำว่า COLUMBIA เป็นตัวพิมพ์ใหญ่และบรรทัดล่างติดกันเป็นตัวเขียนคำว่า “Long Playing Microgroove” อยู่เหนือตำแหน่งรูแผ่นเสียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการบันทึกแบบ mono

เลเบลแผ่น Columbia Album Classic

ส่วน album Classic จะเป็นสีน้ำเงิน

เลเบลแผ่น Columbia หลังปี 1962

หลังจากนั้นมาจนถึงปี 1962 ฉลากสีเขียวนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นพื้นสีเทา ตัวหนังสือสีน้ำเงินแทน ตามรูปแบบที่ต้องการให้เป็นไปในทางเดียวกันกับรูปแบบฉลากของ Parlophone และ HMV (His Master Voice) 
เลเบลของศิลปินต่างๆที่เคยบันทึกสมัยที่ยังเป็นฉลากสีเขียวนี้ ซึ่งรวมทั้ง Cliff Richard, The Shadows, Acker Bilk และ Helen Shapiro. รวมถึง The Yardbirds LP shown, Gerry and The Pacemakers, The Animals, Hermans Hermits, The Dave Clark Five และยุคเริ่มของ Pink Floyd ต่างก็พอใจกับความสำเร็จในช่วงที่ได้บันทึกใหม่กับฉลากสีเทา-น้ำเงินนี้ 
ในปี 1969-70, รูปแบบเลเบลก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีก เป็นพื้นสีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน (Silver) จนกระทั่งกลายเป็นฉลากใหม่ของ EMI ในภายหลังปี 1972 รูปลักษณ์ฉลากเกือบจะเหมือนกับฉลากของ Parlophone

เลเบลแผ่น Columbia 6 eyes

ย้อนไปในช่วงปลายทศวรรษ ’50 ประมาณ 1957 Columbia ยังได้ออกแผ่นเลเบลที่เรียกว่า 6 eyes มีพื้นสีแดงสำหรับ Album ทั่วไป

เลเบลแผ่น Columbia Album Classic สีเทา

และพื้นสีเทาสำหรับ Album Classics ซึ่งเป็นแผ่นในช่วงที่บันทึกเสียงได้ดีที่สุดยุคหนึ่ง และเป็นแผ่นที่หมายปองของนักสะสมเลเบลหนึ่งเลยทีเดียว

เลเบลแผ่น Columbia 6 eyes ปี 1962

ต่อมาในปี 1962 เลเบลใน Series 6 eyes นี้ ก็เปลี่ยนรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง โดยมีตัวอักษร CBS เล็กๆพิมพ์อยู่ในรูปหัวลูกศร อยู่ด้านบนฉลาก และย้ายคำว่า “COLUMBIA” อยู่ด้านล่างของฉลากแทน สีขอบด้านนอกจากเดิมเป็นสีพื้นเดียวกัน ก็เปลี่ยนมาเป็นสีดำ รุ่นนี้จะเป็น สเอริโอทั้งหมดแล้ว จึงมีคำว่า “STRERO” และ “FIDELITY” อยู่ด้านซ้ายและขวาของรูปลูกศรตามลำดับ

เลเบลแผ่น Columbia ยุคหลัง 2 eyes

รูปแบบฉลากรุ่นหลังๆของ Columbia 
Columbia 2 eyes 

เลเบลแผ่น Columbia 3 eyes

เมื่อกลายเป็น CBS 3 eyes

เลเบลแผ่น Columbia 1 eye

CBS 1 eye

เลเบลแผ่น EMI

แผ่น EMI หมดยุคของแผ่น Columbia อีกต่อไป

ทำไมราคา “แผ่นเสียงไทย” กับ “แผ่นเสียงสากล” จึงแตกต่างกัน โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

ทำไมราคา "แผ่นเสียงไทย" กับ "แผ่นเสียงสากล" จึงแตกต่างกัน โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

เป็นคำถามที่วนเวียนอยู่รอบตัวมาตลอดเลยครับ ในกลุ่มคนฟังแผ่นเสียงที่ฟังทั้งเพลงไทยและสากลมักมีเครื่องหมายคำถามตามมาเสมอเวลาซื้อแผ่นเสียงเพลงไทย “ทำไมแพงจัง” “มันน่าจะถูกกว่านี้ได้นะ” “ทำไมแผ่นเพลงสากลถูกกว่าตั้งแยะ” ฯลฯ มันอาจเป็นคำถามลอยๆ ที่แม้แต่คนถามเองก็ไม่ทราบจะไปหาคำตอบจากไหน แต่จริงๆ แล้วคนผลิตและผู้ค้าควรมีคำตอบให้ได้นะครับ ไม่ได้หาคำตอบยากเลย เพราะทุกอย่างล้วนเป็นไปตามหลักความเป็นจริงครับ

ราคาแผ่นเสียงไทยแพงจริงหรือ?

มีคำถามจากเพื่อนๆ มาหลายคนเหมือนๆ กันเกี่ยวกับราคาของแผ่นเสียงที่มีขายอยู่ในตลาดนักเล่นยุคนี้ ทำไมราคาไม่เหมือนกัน ทำไมราคาแผ่นไทยแพงกว่าแผ่นสากล ฯลฯ ผมจะสรุปคร่าวๆ ให้ทราบกันครับ

เรื่องแพงนั้น แพงจริงครับ เหตุผลหลักๆ เลยก็นับจากความเปลี่ยนแปลงไปตามค่าเงินและสถานการณ์โลกเหมือนกับประเทศอื่นๆ นั่นแหละครับ ช่วงพ.ศ. 2510-20 แผ่นเสียงเพลงไทยราคาร้อยกว่าบาท เต็มที่ก็ 190 บาท พอเข้ายุค 2521-30 ราคากระเถิบอีกหน่อยเป็น 250-350 บาท แผ่นมือสองราคา 30-100 บาท หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเสียงใหญ่และร้านขายแผ่นเสียงทั่วไป จนถึงยุคที่เลิกผลิตแผ่นเสียง ราคาก็ไม่ได้สูงจนผิดปกติ ตรงกันข้าม กลับถูกลง เพราะซีดีได้รับความนิยมมากขึ้น จึงไม่มีใครคิดจะซื้อสะสมเป็นเรื่องเป็นราว เพราะมีขายเกลื่อนตลาด เรียกได้ว่า อยากซื้อเมื่อไหร่ก็เดินไปซื้อได้เลย

ย่างเข้ายุค 2000 หรือราว 2540 เป็นต้นมา ซีดีถูกก๊อปปี้้ได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมไรต์แผ่น ทำให้แผ่นเสียงได้รับความนิยมมากขึ้นในต่างประเทศ บ้านเราก็พลอยได้อานิสงส์ไปด้วย แม้ยังไม่มีค่ายเพลงผลิตแผ่นเสียงขาย แต่คนที่โตมากับเพลงไทยในยุค ’80s มีกำลังซื้อ มีงานการทำมั่นคง จึงหาทางเรียกอดีตกลับคืนมา แผ่นเสียงเก่าเป็นทางออกหนึ่งที่จะทำให้กลับไปสัมผัสอดีตได้อีก เพราะสมัยนั้น พวกเขายังไม่มีรายได้มากพอ ทำได้แค่ซื้อเทปฟังกัน เมื่อมีโอกาสฟังแผ่นเสียงเพื่อรำลึกอดีตและเก็บสะสม พวกเขาไม่รีรอ ราคาแผ่นเสียงมือสองในท้องตลาดก็เริ่มถีบตัวสูงขึ้นตามความต้องการของตลาด

ตัวแปรสำคัญของราคาแผ่นไทยก็คือต้นทุนครับ แต่ละชุด แต่ละอัลบั้มมีต้นทุนไม่เท่ากัน อย่างแรกเลยคือค่าลิขสิทธิ์ที่ผลิตต้องจ่ายกับเจ้าของงาน ไม่ว่าจะเป็นคนแต่งเพลง คนร้อง ซึ่งหมายถึงถือลิขสิทธิ์ไว้นะครับ ตลอดจนค่ายเพลงเดิมที่อาจถือสิทธิ์อยู่ด้วย 

Polycat 80 Kisses Vinyl

ราคาแผ่นเสียงสากลถูกกำหนดไว้ แต่แผ่นเสียงไทยขึ้นอยู่กับต้นทุนและความพอใจ

บรรดาแผ่นเสียงเพลงสากลที่นำเข้าจากต่างประเทศล้วนมาราคามาตรฐานมาตั้งแต่ต้นทางแล้ว เพราะสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจเพลงและแผ่นเสียงในแต่ละประเทศกำหนดไว้แล้ว เหมือนในอเมริกาสมัยที่ยังไม่มีซีดี ราคาแผ่นเสียงกับเทปเท่ากัน ประมาณ 6.99 ดอลลาร์ แผ่นคู่หรือเทปคู่ราว 10.99-12.99 ดอลลาร์ ทีนี้เมื่อสั่งเข้ามาขาย ผู้สั่งจำเป็นต้องสั่งมาครั้งละหลายแผ่นเพื่อให้ได้ราคาส่งหรือราคาทุน เหมือนสมัยที่ห้างเซ็นทรัล(เดิม) สั่งแผ่นเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก อัลบั้มละหลายสิบหลายร้อยก๊อปปี้เพื่อกระจายให้ทั่วถึงทุกสาขา นอกจากนี้ค่าขนส่ง ภาษี และอื่นๆ ผู้สั่งหรือผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบหมด แต่ต้นทุนเหล่านี้เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างตายตัว เมื่อวางขายในไทย ราคาขายแต่ละแห่งจึงแทบไม่แตกต่างกันเลย ในยุคของผม ปี 2510-2530 ราคาประมาณ 100 ต้นๆ ถึง 300 ปลายๆ พอเข้ายุคที่เทปผีรุ่ง แต่ละยี่ห้อแข่งกันออกเร็ว ต้องจ้างคนทำงานสายการบินอย่างสจ๊วตหรือแอร์หิ้วแผ่นให้ ก็ต้องจ่ายพิเศษให้ บางครั้งราคาก็สูงขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ก็ไม่เกิน 500 บาท

ส่วนแผ่นไทยยิ่งถูกครับ เพราะส่วนใหญ่ปั๊มในบ้านเราเอง สมัยนั้นมีโรงงานปั๊มอยู่ (ขออภัยที่หารายละเอียดไม่ได้ครับ) คุณภาพก็แบบไทยๆ ครับ มาตรฐานเป็นรองแผ่นนอกอยู่แล้ว แต่ก็ฟังได้ดีและมีมาตรฐานในระดับหนึ่งที่สมราคาร้อยกว่าบาท ไม่เกิน 300 เข้ายุครุ่งเรืองของอาร์ เอส และแกรมมี่ ราคาก็ขึ้นมาอีกไม่ถึง 100 บาท ยังจับต้องกันได้ครับ ทั้งนี้เพราะต้นทุนที่ผลิตในประเทศนั่นเอง อีกทั้งค่ายเพลงเป็นผู้กำหนด ยอดขายก็ได้หลักหมื่นเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเพลงสากลแผ่นผีที่คนไทยปั๊มขายเองตกแผ่นละประมาณร้อยกว่าบาท แผ่นเล็ก 7 นิ้ว 30 บาท หาซื้อได้ตามร้านเครื่องเสียงทั่วไปด้วยซ้ำครับ

ใครที่เคยผ่านยุคเปิดท้ายรถขายมาแล้ว คงเคยเห็นมีคนสะสมแผ่นเสียงเอาแผ่นมาวางขายกันถูกๆ แผ่นละ 50-100 บาทมาแล้ว แผ่นดีๆ ของนักสะสมถูกนำมาเทขายมากมาย เพียงเพราะนักสะสมหันไปฟังซีดีแทน และคิดว่าแผ่นเสียงตายแน่นอน ของดีราคาถูกจึงถูกกว้านซื้อไปมากในช่วงนั้น เวลาผ่านไป คนที่นำแผ่นเสียงมาเทขายในตอนนั้น ก็เริ่มหาซื้อแผ่นที่เคยขายไปกลับมาในตอนนี้ แต่แผ่นที่เคยขายไปในราคา 100 บาท กลับต้องซื้อมาในราคาสูงกว่าถึง 5-10 เท่า

ราคาแผ่นเสียงสูงขึ้น หลังจากซีดีแผ่ว

ย่างเข้ายุค 2000 เป็นที่ทราบกันว่าซีดีเริ่มเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ นับแต่มันถูกก๊อปปี้เป็นแผ่นซีดีอาร์ได้ ยิ่งมีช่องทางฟังเพลงให้เลือกมากขึ้นอย่างสตรีมมิ่ง ซีดีเหมือนจะถึงจุดตีบตัน แต่นั่นเหมือนกับการปลุกให้ตลาดแผ่นเสียงได้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง (แผ่นเสียงไม่ได้กลับมาอีก เหมือนอย่างที่หลายคนเข้าใจนะครับ เพราะมันไม่เคยหายไปจากตลาด เพียงแค่ผลิตน้อยลงในยุคของซีดีเท่านั้นเอง)

ความเป็นไปของตลาดแผ่นเสียงเพลงสากลหลังปี 2000 เป็นต้นมา ค่อนข้างจำกัด คนฟังเพลงที่อยากซื้อแผ่นเสียงมีโอกาสไม่มาก เนื่องจากผลิตจำนวนน้อย ไม่ก็ผลิตแบบจำกัดจำนวน ขายหมดแล้วไม่ปั๊มเพิ่ม ราคาจึงสูงขึ้นไปโดยปริยาย ราคาแผ่นเสียงเฉลี่ยในช่วงนั้นจึงอยู่ระหว่าง 700-1,000 บาท แต่เมื่อถึงยุคนี้ อัลบั้มดังๆ อัลบั้มขายดีในอดีตถูกนำมาผลิตใหม่อีกเป็นจำนวนมาก ตอบสนองนักฟังได้ค่อนข้างทั่วถึง

ส่วนตลาดเพลงไทยไม่เป็นเช่นนั้น แผ่นออริจินัลทั้งหลายราคายังไม่สูง เพราะตลาดแผ่นเสียงเพิ่มได้รับความนิยม กลับถูกพ่อค้าหรือนักเก็งกำไรกว้านซื้อไปเป็นจำนวนมาก ทำให้สถานการณ์แผ่นไทยหลังปี 2000 เป็นต้นมาแทบจะขาดตลาดไปเลย ไม่เพียงคนไทยที่หันมาซื้อ แม้แต่ชาวต่างประเทศที่ชื่นชอบเพลงไทยในยุค ’60s-’70s ก็มาซื้อไปสะสมและไปเก็งกำไรในต่างประเทศด้วย แผ่นไทยหลายอัลบั้มหลายศิลปินจึงมีราคาสูงขึ้นอย่างน่าตกใจเมื่อเวลาผ่านไป ส่วนหนึ่งเกิดจากการปั่นราคาในหมู่พ่อค้าด้วยกันเอง อีกส่วนเกินจากคนฟังหน้าใหม่ที่เพิ่งสนใจแผ่นเสียง ไม่ทราบว่าราคาที่เหมาะสมของแผ่นที่ตนเองต้องการควรอยู่ที่เท่าไร จึงกลายเป็นการซื้อที่ไม่มีประสบการณ์และความรู้ ประกอบกับความอยากได้ชนิดห้ามใจไม่ได้ จึงได้แผ่นบางอัลบั้มในราคาที่สูงเกินจริง คนขายก็อมยิ้ม คนซื้อก็ภูมิใจ พูดง่ายๆ เป็นยุคที่คนฟังเพลงมีเงินครับ อยากได้ก็ซื้อเลย ไม่สำรวจตลาด ทีนี้พอมีพ่อค้าถูกหวย หลายคนก็ทำตาม กลายเป็นว่าราคาแผ่นไทยค่อยๆ ถีบตัวสูงขึ้นตลอดเวลา จนบางครั้งพ่อค้าหาแผ่นเก่ามาขายไม่ทันความต้องการของคนฟังด้วยซ้ำ

unnamed

แผ่นออริจินัลแพง แผ่นรีจึงเป็นทางออกที่ดี

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา มีแผ่นไทยประเภทรี (รีโปรดักต์/รีอิชชู) ออกมาแยะมาก ส่วนใหญ่เป็นศิลปินดังในช่วงยุค80 ที่เพลงไทยรุ่งเรืองสุดๆ คนฟังแผ่นจึงมีโอกาสได้ซื้อแผ่นรีของคาราบาว มาลีฮวนนา ดิ โอฬาร โปรเจกต์ ฯลฯ ในราคาที่จับต้องได้ (แต่ก็ยังแพงอยู่ดี เมื่อเทียบกับคุณภาพเสียงที่สู้แผ่นออริจินัลไม่ได้) ประมาณ 1,800-2,200 บาท ขณะที่แผ่นออริจินัลราคา 5,000-10,000 บาทไปแล้ว ข้อดีก็คือ คนฟังรุ่นใหม่ซื้อฟังได้ ไม่ต้องขวนขวายจ่ายแพงกว่า 4-5 เท่า แต่ข้อเสียก็คือ คนฟังกลุ่มใหม่นี้จะไม่ทราบว่าสุ้มเสียงที่แท้จริงของแผ่นเสียงยุครุ่งเรืองเป็นอย่างไร แผ่นรีไม่อาจตอบสนองในส่วนนี้ได้เลย เคยเห็นหลายคนที่ซื้อแผ่นรีมาฟัง แล้วก็เลิกฟังในเวลาอันสั้น เพราะคิดว่าแผ่นเสียงต้องให้สุ้มเสียงที่ดีกว่านั้น ทั้งที่ความจริงมีตัวแปรหลายอย่าง ทั้งมาสเตอร์ที่นำมาผลิต โรงงานผลิต คนมิกซ์ คนรีมาสเตอร์ ฯลฯ เดี๋ยวนี้จึงแทบไม่มีแผ่นรีออกมาแล้ว เพราะไม่ประสบความสำเร็จนั่นเอง

แผ่นจากค่ายเล็กและแผ่นที่ศิลปินลงทุนทำเองแพงเป็นเรื่องปกติ

ศิลปินที่ลงทุนผลิตแผ่นขายเอง รวมทั้งค่ายเล็กๆ ที่นานๆ จะทำแผ่นเสียงสักชุด ล้วนเป็นผู้ที่น่าเห็นใจครับ พวกเขาไม่มีทุนหนา ไม่มีคอนเนกชั่นกับบริษัทรับปั๊มแผ่น ฯลฯ การทำแผ่นแต่ละครั้ง แต่ละอัลบั้มจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก อีกทั้งผลิตจำนวนน้อย ทางเลือกจึงแทบไม่มี เพราะแผ่นเสียงหรือเทป หากสั่งผลิตจำนวนน้อย ต้นทุนต่อแผ่นต่อม้วนก็แพงขึ้น สั่งผลิตมาก ต้นทุนก็ลดลง แต่ไม่มีทางที่ค่ายเล็กๆ หรือตัวศิลปินจะขายงานได้เป็นหลักพัน อย่างมากก็ 300 ดังนั้น เมื่อตัดสินใจผลิตแผ่นขายแล้ว ทั้งศิลปินและค่ายเล็กก็มีความเสี่ยงเป็นทุนแล้ว กำไรไม่มาก ทำเพราะใจรักและอยากสนับสนุนวงการ ด้วยเหตุนี้ หากเราเห็นแผ่นเสียงของศิลปินที่ลงทุนเองหรือค่ายเล็กทำ ราคาค่อนข้างแพง นั่นไม่ใช่เรื่องแปลก อย่างน้อยคนที่ซื้อก็เป็นแฟนตัวกลั่น พร้อมที่จะสนับสนุนศิลปินอยู่แล้ว พวกเขาควรได้รับผลตอบแทนที่ดีและอยู่ในวงการได้นานๆ

ราคาที่เหมาะสมของแผ่นเสียง

หากเป็นแผ่นเพลงสากลนำเข้า มาตรฐานราคามีอยู่แล้ว ราวๆ 700-1,200 บาท ขึ้นอยู่กับว่าเป็นแผ่นเดี่ยวหรือแผ่นคู่ น้ำหนักของแผ่น ตลอดจนเป็นแผ่นที่ผลิตจำกัดจำนวนหรือพิเศษตรงไหนบ้าง ซึ่งคนฟังเพลงสากลไม่ค่อยมีปัญหากับราคาระดับนี้

ส่วนแผ่นไทยขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ผลิตเป็นหลัก ไม่ว่าจะราคา 1,200 หรือ 2,400 บาทก็ตาม พวกเขาต้องคำนวณเผื่อไว้แล้วว่าหากขายไม่หมดหรือขายได้ไม่มาก ต้องไม่ขาดทุน อย่างน้อยต้องเสมอตัวหรือพอมีกำไรบ้าง แต่ในฐานะผู้ซื้อก็ต้องคำนึงด้วยว่าจะราคาเท่าไหร่ก็ตาม มันรวมค่าต้นทุนการผลิต ค่าลิขสิทธิ์เจ้าของผลงาน ภาษีและอื่นๆ ที่ต้องจ่ายตามกฎหมายทั้งสิ้น ถ้ารับราคาที่เขาตั้งมาได้ ก็มั่นใจได้ว่ารายได้ส่วนหนึ่งไปถึงมือเจ้าของเพลงแน่นอน อีกส่วนก็เป็นกำไรให้ผู้ผลิตได้ใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตงานอันดับต่อๆ ไปอีก และสุดท้าย อยู่ที่ตัวเราเองว่าอยากฟังแค่ไหน อยากได้มาสะสมเป็นสมบัติส่วนตัวหรือไม่ คุณค่าของแผ่นเสียงอยู่ตรงนั้น ราคาไม่ใช่ตัวตัดสินคุณค่าของเพลงในแผ่นเสียงครับ

บทความนี้เว็บไทยแกรโมโฟนไม่ได้เขียนเอง แต่เป็นของ sanook.com โดยผู้เขียนคุณ อนุสรณ์ สถิรรัตน์ ขอบคุณที่มาบทความ Sanook.com

เลเบลแผ่น Brunswick Record โดย ลุงพง

Brunswick Album

Brunswick เริ่มธุรกิจจากโรงงานผลิตโต๊ะเล่นพูล (pool table คล้ายกับโต๊ะบิลเลียต) และต่อมาก็ลูกโบลิ่ง(bowling-ball) โดยมีชื่อบริษัทว่า The Brunswick- Balke-Collender Company ในเมือง Chicago ช่วงเวลาก่อนศตวรรษที่ 20  ครั้งหนึ่งเคยมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ Thomas Edison ในปี 1910 เขาได้ถูกว่าจ้างให้ผลิตกล่องสำหรับติดตั้งเครื่องเล่นแผ่นเสียง เมื่อผลิตเสร็จส่งของไปกลับถูกตีกลับมาให้ปรับปรุงคุณภาพใหม่ให้ดีขึ้นแล้วค่อยส่งไปใหม่ เขาไม่พอใจถึงกับพูดว่า จะผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงขายเองซะเลย ในที่สุดก็เป็นจริง Brunswick ได้ก้าวเข้าสู่ตลาดเครื่องเล่นแผ่นเสียง ตามด้วยการผลิตแผ่นเสียงในเวลาต่อมาไม่นาน แผ่นเสียงแผ่นแรกของ Brunswick ออกสู่ตลาดราวปี 1920 นอกจากนั้น Brunswick ยังผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ใช้ไฟฟ้าเป็นเครื่องแรก ชื่อว่า Panatrope ออกจำหน่ายในปลายปี 1924 สร้างความแตกต่างจากผลิตโดยแหล่งอื่น

ในเดือนเมษายน ปี 1930 Warner Brothers ได้เข้าซื้อกิจการของ Brunswick-Balke-Collender Company (records/radio division) ในข้อตกลงของสัญญาจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ชื่อ Brunswick ทุกปี นอกจากนั้นในสัญญาซื้อยังไม่รวมอัลบัมแผ่นเสียง และเลเบล “Vocalion” ซึ่งอยู่ในเครือของ Brunswick

ในเวลาต่อมา Warner Brothers ขายต่อให้กับ American Record Corporation (ARC) Brunswick ยังคงได้รับค่าลิขสิทธิ์ต่อเนื่องทุกปีจากเจ้าของใหม่ 
ในปี 1939 ARC ถูก CBS ซื้อไป แต่ยังคงต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับ Brunswick-Balke-Collender ต่อเนื่องต่อไปดังเดิม จนกระทั่งถึงเดือนสิงหาคมปี 1939 ARC จึงเลิกใช้ชื่อเลเบล Brunswick เพื่องดการชำระค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวนั่นเอง 

กล่าวถึงบริษัท Decca Record แห่งอังกฤษ (“British Decca” เริ่มกิจการในปี 1929) ได้ก่อตั้งสาขาอีกแห่งหนึ่งที่อเมริกา (Decca subsidiary) ในปี 1934    จากนั้นก็ได้ตัว Bing Crosby จาก Brunswick เข้ามาอยู่ในสังกัด (เป็นนักร้องที่มีอัลบัมขายดีที่สุด) และแล้ว Decca ก็ได้ซื้อตัว Jack Kapp ซึ่งเป็นผู้บริหาร Brunswick ในเวลานั้น ให้มาบริหารจัดการ โดยเริ่มงานตั้งแต่ปี 1940 เนื่องจากว่า Jack Kapp เคยอยู่ที่ Brunswick/ARC ซึ่งมีความรู้ดีเกี่ยวกับอัลบัมของ Bing Crosby โดยเฉพาะก่อนปี 1930 (ซี่งขณะนั้นทาง ARC ได้เริ่มผลิตเป็น re-issue จากลิขสิทธิ์ที่จ่ายให้แก่ Brunswick) สุดท้ายต่อมาในปี 1940 ทาง US Decca จึงได้ตัดสินใจเข้าซื้อแค๊ตตาล๊อกอัลบั้มเดิมทั้งหมดของ Brunswick-Balke-Collender ทำให้สามารถออกแผ่น Re-issue ทั้งหมดของ Brunswick label ได้

ชื่อ Brunswick-Balke-Collender อันรวมถึงกิจการโต๊ะพูล และลูกโบว์ลิ่ง ถูกเปลี่ยนให้ง่ายต่อการเรียกขานเป็น Brunswick Corporation ในปี 1970 จนกระทั่งทุกวันนี้ นับว่ายังอยู่ยงคงกระพันมา กว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ในส่วนของ Brunswick Records ดำเนินกิจการมาตั้งแต่แผ่นสปีด 78 (1920s-1950s ) ช่วงต้นปี 1950 Brunswick ออกอัลบัม Long play ที่สำคัญคือผลิตเนื้อวัสดุที่ใช้ทำแผ่นเสียงตั้งแต่สมัยยุคปี ’30 และ ’40 จนกระทั่งในปี 1950 จึงได้ให้บริษัท Coral records เป็นผู้จัดจำหน่าย (Coral records ก็คือบริษัทในเครือของ US. Decca) และในปี 1957 Brunswick ได้ผลิตวัสดุใหม่สำหรับทำแผ่นเสียงออกมา ศิลปินที่ออกอัลบั้มในนามของ Brunswick และ Coral มักสับเปลี่ยนไปมาระหว่างกันอยู่เนือง ๆ อัลบัมของ Alan Freed มีทั้ง Coral และ Brunswick  สมาชิกวง the Lawrence Welk Orchestra (Myron Floren, Big Tiny Little, Jr., และ the Lennon Sisters) ออกอัลบั้มในนามของ Brunswick label

ในขณะที่ Welk เอง กลับบันทึกอัลบั้มในนามของ Coral ในปี 1957 Jackie Wilson ได้เข้ามาอยู่ในสังกัดของ Brunswick label เป็นอีกศิลปินหนึ่งที่โด่งดังมาก

Brunswick Album Discography

เลเบลแรกของ Brunswick

เลเบลแรกของ Brunswick จะมีสีพื้นเป็นสีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน และมีชื่อ “Brunswick” เป็นตัวเขียนอยู่ด้านบนฉลาก เลเบลนี้ใช้มาจนถึงปี 1963 เลเบลการบันทึกเป็นแบบ Mono

เลเบล BRUNSWICK STEREO

ส่วนการบันทึกในระบบ สเตอริโอ ฉลากจะเป็นพื้นดำตัวพิมพ์เงินเช่นกัน และมีข้อความ “BRUNSWICK STEREO” เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ อยู่ด้านบนแทน เลเบลนี้ใช้มาจนถึงปี 1963

เลเบล Brunswick แผ่นโปรโมชั่น

สำหรับแผ่นโปรโมชั่น จะมีเลเบลพื้นสีเหลืองตัวพิมพ์สีดำ รูปลักษณ์ดีไซด์เหมือนแผ่นจำหน่ายปกติ และยังคงใช้ต่อมาอีก แม้ว่าเลเบลปกติจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ปี 1963-1970 เลเบลนี้ใช้ถึงแผ่นเลขที่ BL-754147

เลเบล Brunswick รุ่นที่ 2

เลเบลรุ่นที่ 2 ยังคงพื้นสีดำ ตัวพิมพ์สีเงินอยู่ แต่จะเพิ่มพื้นเป็นรูปลูกศรคาดจากขวาไปซ้ายผ่านรูกลางแผ่นด้วยสีสันหลากสี และมีโลโกคำว่า “Brunswick” เป็นตัวเขียนสีขาวอยู่ด้านซ้ายมือเขียนตามแนวตั้ง เลเบลนี้ใช้มาจนถึงปี 1973 แรกเริ่มใช้ข้อความ “a Division of Decca,” จนถึงปลายยุค ’60s จึงเปลี่ยนเป็นข้อความ “Manufactured by Brunswick”

เลเบล Brunswick หลังปี 1973

หลังปี 1973 เลเบลก็ยังคงคล้ายของเดิม แต่พื้นแนวคาดหลากสีรูปลูกศรเล็กลงคาดจากขวาไปทางซ้ายจรดแค่รูกลางแผ่นเสียง และโลโกตัวเขียน “Brunswick” สีขาวอยู่ในแนวนอน

บทความโดย ลุงพง

บทความของเว็บไทยแกรโมโฟน ไม่หวงห้ามในการแบ่งปัน แต่กรุณาให้เครดิตโดยการลิ้งกลับมาที่ต้นทาง

RCA Victor Red Seal Labelography ประวัติ และ วิธีการดู เลเบลแผ่น โดย ลุงพง

  1. เลเบลยุคแรกนี้เริ่มตั้งแต่เปิดตัว Red Seal LP  ในปี 1950 จนถึงปี 1954. พื้นฉลากจะเป็นสีแดง maroon  รูปโลโก้  Dog-Gramophone เป็นลายเส้นขอบ  รหัสหมายเลขแผ่นนำหน้าด้วยอักษร LM เป็นระบบ  mono เท่านั้น ใช้กับแผ่นชนิด Long Play Microgroove. แผ่นรุ่นแรกๆจะหนักและแข็ง รุ่นหลังจะเบากว่าและบิดงอได้เล็กน้อย
เลเบล Red Seal LP

a. เริ่มปี 1950 ถึงราวปี 1951 เป็นเลเบลที่มีผิวฉลากมัน โลโก้  Dog-Gramophone เป็นลายเส้นขอบ ตัวพิมพ์สีทองหรือทองออกเงิน
b. เริ่มจากปี 1951 ถึงปี 1954 เป็นเลเบลที่มีผิวฉลากด้าน โลโก้ Dog-Gramophone เป็นลายเส้นขอบ ตัวพิมพ์เป็นสีเงิน

อัลบัมแรกที่ออกในยุคนี้คือ:

  • Wagner, Richard. Siegfried: Act III, Scene III (1876). Eileen Farrell, soprano. Set Svanholm, tenor. Rochester Philharmonic. Erich Leinsdorf, conductor. RCA Victor Red Seal LM 1000 12″ (1950).
  • Dvôrák, Antonin. Husitská Overture, Op. 67 (1883). Smetana, Bedrich. The Moldau (1879). Boston Pops. Arthur Fiedler, conductor. RCA Victor Red Seal LM 1 10″ (1950).
เลเบลแผ่น RCA Victor โลโก้ Dog-Gramophone สีทอง

2. เลเบลรุ่นนี้เริ่มใช้ในปี 1951 ถึงปลายปี 1954. สีพื้นฉลากเป็นสีทองหรือสีเงินออกมาทางทอง โลโก้  Dog-Gramophone เป็นลายเส้นขอบสีแดง maroon  ตัวพิมพ์ก็สีแดง maroon เช่นกัน รหัสเลขที่แผ่นนำหน้าด้วยอักษร LCT  เป็นระบบ mono รุ่นที่ทำบันทึกใหม่มาจากรุ่นที่ทำแผ่นครั่ง 78 RPM เสียงจึงไม่สามารถจะเทียบกับแผ่นรหัสเลขที่นำหน้าด้วย LM ได้ รุ่นที่ออกแรกๆจะเป็นอผ่นที่หนักและแข็ง ส่วนรุ่นที่ออกทีหลังเนื้อแผ่นจะเบากว่าและบิดงอได้เล็กน้อย

อัลบัมแรกที่ออกในยุคนี้คือ:

  • Genius at the Keyboard: A Treasury of Immortal Performances. RCA Victor Red Seal LCT 1000 12″ (1951).
  • Composers’ Favorite Interpretations: A Treasury of Immortal Performances. RCA Victor Red Seal LCT 1 10″ (1951).

ในปี 1954  recordings on this label became part of Label No. 4, with some of them having their prefix changed to LVT.

เลเบลแผ่น RCA Victor ต้นปี 1954- 1956

3. เลเบลนี้ใช้ตั้งแต่ต้นปี 1954 ตลอดจนถึงปี 1956. สีพื้นฉลากจะป็นสี แดงและสีเงิน โลโก้  Dog-Gramophone เป็นภาพสี โดยมีพื้นหลังสีแดงน้ำตาลล้อมรอบเรียกว่า shaded dog  ตัวพิมพ์เป็นสีเงินบนส่วนพื้นที่เป็นสีแดง และตัวพิมพ์สีแดงบนส่วนพื้นที่เป็นสีเงิน รหัสนำหน้าเลขแผ่นขึ้นต้นด้วย LHMV  เป็นระบบ mono ทุกการบันทึกในรุ่นนี้เป็นการแสดงที่มาจากแค๊ตตาล๊อคของ English HMV ทั้งสิ้น ซึ่งทำเฉพาะเจาะจงดดยใช้เลเบลนี้

หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคนี้คือ:

Stravinsky, Igor. Rite of Spring (1913). Philharmonia Orchestra. Igor Markevitch, conductor. RCA Victor Red Seal LHMV 1 (1954).

4. เลเบลนี้ออกใช้ในปี 1954 ถึงปี 1958. พื้นสีฉลากเป็นสีแดงกล่ำหรือน้ำตาลออกม่วง โลโก้  Dog-Gramophone เป็นภาพสี โดยมีพื้นหลังสีแดงน้ำตาลล้อมรอบ ตัวพิมพ์เป็นสีเงินบนส่วนพื้นที่เป็นสีแดง และตัวพิมพ์สีเงิน รหัสนำหน้าเลขแผ่นมักขึ้นต้นด้วย LM   เป็นระบบ mono

เลเบลแผ่น ที่ระบุ “New Orthophonic” High Fidelity

a. เลเบลนี้มีข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY  พิมพ์อยู่ใต้ดลโก้ Dog-Gramophone ที่แสดงให้ทราบว่าเป็นการบันทึกเสียงด้วยระบบที่ให้คุณภาพดี

เลเบลแผ่นที่มีข้อความ High Fidelity


b. เลเบลนี้มีข้อความ HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone ที่แสดงให้ทราบว่าเป็นการบันทึกเสียงด้วยระบบที่ให้คุณภาพดี มักจะบันทึกการแสดงสดใน studio หรือแสดงสดจาก concert
c. เลเบลนี้ไม่มีอะไรพิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone เป็นการแสดงให้ทราบว่าเป็นการบันทึกใหม่มาจากรุ่นแผ่นครั้ง 78 RPM คุณภาพเสียงด้อยกว่าทั่วไป  

หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคนี้คือ:

  • Strauss, Richard. Also sprach Zarathustra, Op. 30 (1896). Chicago Symphony. Fritz Reiner, conductor. RCA Victor Red Seal LM 1806 (1954).
เลเบลแผ่น ช่วงปลายปี 1958 ถึง 1964

5. เลเบลนี้ออกใช้ในปลายปี 1958 ถึงปลายปี 1964 พื้นสีฉลากเป็นสีแดงส้ม โลโก้  Dog-Gramophone เป็นภาพสี โดยมีพื้นหลังสีแดงน้ำตาลล้อมรอบ(Shaded Dog) ตัวพิมพ์เป็นสีทอง รหัสนำหน้าเลขแผ่นมักขึ้นต้นด้วย LM  (ระบบ mono) และ LSC  (ระบบ Stereo) นอกจากนั้นยังมีรหัสขึ้นต้นด้วย LS, LD, LSS, LDS  และ LVT.

  • จากปลายปี 1958 ถึงราวปี 1960 แผ่น mono จะมีข้อความ : TRADE MARKS ® REGISTERED · MARCUS REGISTRADAS · . . . . . MADE IN U.S.A.. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. และข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และข้อความ LONG 33 1/3 PLAY พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลาง
  • จากประมาณปี 1958 ถึงปี 1962 แผ่น mono จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. และข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และข้อความ LONG 33 1/3 PLAY พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลาง
  • ในปี 1962 แผ่น mono จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. และข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และข้อความ LONG 33 1/3 PLAY พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลาง
  • จากปี 1962 ถึงปลายปี 1964 แผ่น mono จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “NEW ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY ที่เคยมีอยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone นั้นถูกตัดทิ้งไป และมีคำว่า MONO พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลาง
  • ในปี 1963 และปี 1964 แผ่น mono จะมีคำว่า DYNAGROOVE เป็นอักษรตัวหนาพิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากในตำแหน่งตรงกลางโดยมีคำว่า MONO เป็นตัวอักษรเล็กพิมพ์ติดอยู่ทั้งซ้ายและขวา
  • ในปี 1958 และปี 1959 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TRADE MARKS ® REGISTERED · MARCUS REGISTRADAS · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และมีคำว่า LIVING STEREO ตัวอักษรขนาด 5/32 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
เลเบลแผ่นช่วงปี 1959-1960
  • ในปี 1959 และปี 1960 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TRADE MARKS ® REGISTERED · MARCUS REGISTRADAS · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และมีคำว่า LIVING STEREO ตัวอักษรขนาด 13/64 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
ปี 1960-1962
  • เริ่มตั้งแต่ราวปี 1960 จนถึงปี 1962 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY พิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone และมีคำว่า LIVING STEREO ตัวอักษรขนาด 13/64 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
  • ในปี 1962 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY ที่เคยมีพิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone นั้น ถูกยกเลิกไป แต่ยังมีคำว่า LIVING STEREO ตัวอักษรขนาด 13/64 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง
  • ตั้งแต่ปี 1962 จนถึงปี 1964 แผ่นระบบ Stereo จะมีข้อความ : TMK(s) ® REGISTERED · MARCA(s) REGISTRADA(s) · . . . . . MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้ตามฉลากอยู่ในตำแหน่ง 8 น. ถึง 4 น. ส่วนข้อความ “STEREO-ORTHOPHONIC” HIGH FIDELITY ที่เคยมีพิมพ์อยู่ใต้โลโก้ Dog-Gramophone นั้น ถูกยกเลิกไป และมีคำว่า STEREO ตัวอักษรขนาด 13/64 นิ้ว พิมพ์อยู่ด้านใต้ฉลากบริเวณกึ่งกลาง

หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคเลเบลข้อ 5 นี้คือ:

Tchaikovsky, Peter Ilyich. Symphony No. 6 in B Minor, Op. 74 “Pathétique” (1893). Boston Symphony. Pierre Monteux, conductor. RCA Victor Red Seal LM/LSC 1901 (1958).

(In about 1962, recordings with the LD and LDS prefixes became Label No. 6.)

6. พอเริ่มจากปี 1962 คลอดจนถึงปลายปี 1968 พื้นฉลากจะเปลี่ยนเป็นสีแดงมะเขือเทศ โลโก้ Dog-Gramophone ได้ถูกยกเลิกไป ตัวพิมพ์เป็นสีเงิน รหัสหมายเลขแผ่นนำหน้าด้วยอักษร LD หรือ LDS น่าจะมาจากคำว่า  Long Play Deluxe และ Long Play Deluxe Stereophonic. แผ่นในยุคนี้มีทั้ง monaural และ stereophonic.

  • สำหรับแผ่นในระบบ Mono นั้นในปี 1962 จะมีพิมพ์คำว่า LONG 33 1/3 PLAY ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
  • สำหรับแผ่นในระบบ Mono นั้นในปี 1963 และปี 1964 จะมีพิมพ์คำว่า MONO ขนาดตัวอักษร  13/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
  • สำหรับแผ่นในระบบ Stereo นั้นในปี 1962 จะมีพิมพ์คำว่า LIVING STEREO  ขนาดตัวอักษร  13/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
  • สำหรับแผ่นในระบบ Stereo นั้นในปี 1963 และปี 1964 จะมีพิมพ์คำว่า STEREO  ขนาดตัวอักษร  13/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก แผ่นเหล่านี้มีหลายอัลบัมที่ทำการบันทึกจากต่างประเทศ

7. แผ่นยุคเลเบลตั้งแต่ปลายปี 1964 ถึงปลายปี 1968 พื้นฉลากจะเป็นสีแดงมะเขือเทศ โลโก้ Dog-Gramophone เป็นรูปสีเต็ม แต่ไม่มีสีพื้นหลังล้อมรอบเหมือนรุ่น Shade Dog  ตัวพิมพ์เป็นสีดำ ยกเว้นรุ่นเลเบลที่มีโลโก้อักษร RCA Victor ตัวใหญ่พิมพ์อยู่ด้านบนของฉลาก ซึ่งตัวพิมพ์ในฉลากจะเป็นสีขาว รหัสหมายเลขแผ่นมักนำหน้าด้วยอักษร LM หรือ LSC แผ่นในยุคนี้มีทั้ง monaural และ stereophonic.

  • สำหรับแผ่นในระบบ Mono นั้น จะมีพิมพ์คำว่า MONO ขนาดตัวอักษร  9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
  • หลังจากปี 1965 แผ่นในระบบ Mono นั้น จะมีพิมพ์คำว่า MONAURAL ขนาดตัวอักษร  9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
  • ยังมีแผ่นในระบบ Mono ที่มีพิมพ์คำว่า MONO DYNAGROOVE  ขนาดตัวอักษร  9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
  • สำหรับแผ่นในระบบ Stereo นั้น จะมีพิมพ์คำว่า STEREO  ขนาดตัวอักษร  9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
Sonata No.1 LSC 2853
  • สำหรับแผ่นในระบบ Stereo ที่มีพิมพ์คำว่า STEREO DYNAGROOVE  ขนาดตัวอักษร  9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก
แผ่น Piano Sonata No.1 LSC 2941
  • ในปี 1967 และ 1968  ที่มีพิมพ์คำว่า DYNAGROOVE STEREO MIRACLE SURFACE ขนาดตัวอักษร  9/64 นิ้ว ที่บริเวณกึ่งกลางด้านล่างของฉลาก

หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคเลเบลนี้คือ:

Beethoven, Ludwig v. String Quartet No. 15 in A Minor, Op. 132 (1825). Juilliard String Quartet. RCA Victor Red Seal LM/LSC 2765 (1964).

8. สำหรับเลเบลที่ใช้ในปลายปี 1968 ถึงกลางปี 1976  พื้นฉลากจะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม โลโก้ Dog-Gramophone ได้ถูกยกเลิกไป จะมีโลโก้ใหม่เป็นตัวอักษร RCA ใหญ่ตัวขอบสีขาวพิมพ์อยู่ในแนวตั้งทางด้านซ้ายของฉลาก และมีคำว่า Red Seal ตัวอักษรสีขาวพิมพ์อยู่ในตำแหน่งด้านขวาของรูกลางแผ่นเสียงจนจรดขอบขวาของฉลาก ตัวพิมพ์นอกเหนือจากนั้นทั้งหมดเป็นสีดำ รหัสหมายเลขแผ่นดดยทั่วไปนำหน้าด้วยอักษร LSC แผ่นในยุคนี้เกือบทั้งหมดเป็นระบบ stereophonic

RCA victor Red Seal
  • เลเบลรุ่นที่ออกในปลายปี 1968 ถึงกลางปี 1971:
    จะมีคำว่า  TMK(s) ®REGISTERED · MARCA(s) . . . . . MADE IN U.S.A. ตัวเล็กๆพิมพ์อยู่ด้านใต้สุดของฉลากในแนวนอน 2 บรรทัด แผ่นยุคนี้จะมีน้ำหนักและความหนาอย่างเดียวกับแผ่นในยุคเลเบลข้อ 7  
  • เลเบลรุ่นที่ออกในปลายปี 1971 ถึงกลางปี 1972:
    จะมีคำว่า  TM(s) ®RCA CORP – MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้สุดของฉลากในแนวนอน และมีคำว่า dynaflex อยู่ด้วย แผ่นยุคนี้จะบางมาก และเบา สามารถบิดไปมาได้ง่ายดเหมือน floppy และจากปี 1972 ต่อเนื่องกัน มีพิมพ์วันที่ออกจำหน่ายที่ฉลากด้วย   
  • เลเบลรุ่นที่ออกในปลายปี 1972 ถึงกลางปี 1975:
    จะมีคำว่า  TM(s) ®RCA CORP – MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้สุดของฉลากในแนวนอน และมีคำว่า dynaflex อยู่ด้วย และในช่วงกลางปี 1973 ก็มีแผ่นรหัส ARL เพิ่มเข้ามาด้วย  พอถึงปี 1974 ตัวแผ่นเริ่มหนาขึ้นและแข็งขึ้น
  • เลเบลรุ่นที่ออกในกลางปี 1975 ถึงกลางปี 1976:
  • จะมีคำว่า  TM(s) ®RCA CORP – MADE IN U.S.A. พิมพ์อยู่ด้านใต้สุดของฉลากในแนวนอน และ ส่วนคำว่า dynaflex ถูกยกเลิกเอาออกไป
  • เลเบลรุ่นที่ออกในกลางปี 1975 ถึงกลางปี 1976:
    ออกแผ่นในระบบ Quadraphonic จึงมีคำว่า quadradisc พิมพ์ลงบนฉลาก  

หนึ่งในอัลบัมแรกๆที่ออกในยุคเลเบลนี้คือ:

Bach, J.S. Trio Sonata No. 1 in E Flat Major, BWV 525. Trio Sonata No. 5 in C Major, BWV 529. Vivaldi, Antonio. Sonata for Lute and Continuo in C Minor, P.7 No. 2. Sonata for Lute and Continuo in C Major, P.7 No. 3. Julian Bream, lute. George Malcolm, harpsichord. RCA Victor Red Seal LSC 3100 (1969).

9. ต่อมาก็เป็นยุคเลเบลที่ใช้ตั้งแต่กลางปี 1976  จนถึงสิ้นสุดยุคของการผลิตแผ่นเสียง พื้นฉลากจะเป็นสีแดง มีโลโก้ Dog-Gramophone รูปสีเต็ม พิมพ์อยู่ชิดกับขอบฉลากในตำแหน่ง 1 นาฬิกา อักษร RCA ตัวขอบสีขาวพิมพ์อยู่ด้านบน และคำว่า  Red Seal สีขาวพิมพ์อยู่ในแนวตั้งชิดกับขอบฉลากด้านซ้ายมือ ตัวพิมพ์นอกเหนือจากนั้นเป็นสีดำทั้งหมด  รุ่นนี้เรียกว่า Side Dog. 

RCA Victor Number-Letter Codes

คือรหัสที่พิมพ์อยู่ในเนื้อแผ่น vinyl ซึ่งอยู่ระหว่างร่องสุดท้ายของ track กับขอบเลเบลของแผ่นเสียง 

1. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างปี 1950 และ 1951.

E1 LRC 13 on side one.
E1 LRC 14 on side two.

อักษรตัวแรกเป็นการระบุช่วงทศวรรษที่ผลิต ซึ่งตัวอักษร E ระบุเป็นช่วงทศวรรษปี 1950s.

ตัวที่ 2 จะเป็นตัวเลขระบุปีที่ผลิต เลข 1 คือระบุปี 1951.

ตัวที่ 3 ระบุความเร็วในการบันทึกและขนาดของร่องเสียง (groove size) ซึ่งอักษร L คือสปีด 33 1/3 RPM และบันทึกแบบร่องละเอียด (fine groove recording)

ตัวที่ 4 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี เช่นอักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.

ตัวที่ 5 จะแสดงถึงขนาดของแผ่น โดยอักษร C คือแผ่นขนาด 12″

อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 13 เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 14 คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2

ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:

Berlioz, Hector. Symphonie fantastique, Op. 14 (1830). San Francisco Symphony. Pierre Monteux, conductor. RCA Victor Red Seal LM 1133 (1951).


2. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างปี 1951 จนถึงปี 1954

E3RP 5077 on side one.
E3RP 5078 on side two.

อักษรตัวแรกเป็นการระบุช่วงทศวรรษที่บันทึกและผลิต ซึ่งตัวอักษร E ระบุเป็นช่วงทศวรรษปี 1950s.

ตัวที่ 2 จะเป็นตัวเลขระบุปีที่ผลิต เลข 3 คือระบุปี 1953.

ตัวที่ 3 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี เช่นอักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.

ตัวที่ 4 ระบุความเร็วในการบันทึก ,ขนาดของร่องเสียง (groove size) และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผ่น(diameter)  ซึ่งอักษร P คือสปีด 33 1/3 RPM , บันทึกแบบร่องละเอียด (fine groove recording) และเป็นชนิดแผ่นขนาด 12”

อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 5077 เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 5078 คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2

ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:

Respighi, Ottorino.Fountains of Rome (1917). Pines of Rome (1924).NBC Symphony. Arturo Toscanini, conductor. RCA Victor Red Seal LM1768 (1953).

3. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างปี 1954 จนถึงปี 1963

Code เหล่านี้คือ

K2RY 0808 on side one.
K2RY 0809 on side two.

อักษรตัวแรกจะเป็นตัวอักษรระบุปีที่ผลิต K คือระบุปี 1959

ตัวที่ 2 จะเป็นตัวเลขระบุตัวเลเบลและแหล่งที่บันทึก เลข 2 คือ RCA Victor Label

ตัวที่ 3 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี อักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.

ตัวที่ 4 ระบุความเร็วในการบันทึก ,ขนาดของร่องเสียง (groove size) และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผ่น(diameter)  ซึ่งอักษร Y คือสปีด 33 1/3 RPM , บันทึกแบบ stereo universal groove และเป็นชนิดแผ่นขนาด 12”

อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 0808 เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 0809 คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2

 ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:

Ravel, Maurice. Daphnis et Chloé (1912). New England Conservatory Chorus. Robert Shaw, director. Boston Symphony. Charles Munch, conductor. Leslie Chase, recording engineer. John Pfeiffer, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 1893 (1960).

4. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างปี 1963 จนถึงปี 1973

Code เหล่านี้คือ

PRRS 3305 on side one.
PRRS 3306 on side two.

อักษรตัวแรกจะเป็นตัวอักษรระบุปีที่ผลิต P คือระบุปี 1963

ตัวที่ 2 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี อักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.

ตัวที่ 3 ระบุความเร็วในการบันทึก และขนาดแผ่น ซึ่งอักษร R คือสปีด 33 1/3 RPM และเป็นชนิดแผ่นขนาด 12”

ตัวที่ 4 จะเป็นตัวแสดงว่าเป็น stereo หรือ mono ซึ่งตัวอักษร S แสดงว่าเป็นระบบ Stereo

อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 3305 เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 3306 คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2

ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:

Dello Joio, Norman. Fantasy and Variations. Ravel, Maurice. Concerto for Piano and Orchestra in G Major (1930­31). Lorin Hollander, piano. Boston Symphony. Erich Leinsdorf, conductor. Lewis Layton, recording engineer. Richard Mohr, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 2667 (1963).

5. เป็น code ที่ใช้ในช่วงการบันทึกและผลิตเป็นแผ่นเสียงในระหว่างและหลังปี 1973

Code เหล่านี้คือ

ARD1 0026A on side one.
ARD1 0026B on side two.

อักษรตัวแรกจะระบุแหล่งที่มาของมาสเตอร์( master tape source) ซึ่ง A ระบุว่าเป็นแหล่งจาก RCA Victor.

ตัวที่ 2 จะระบุชนิดและประเภทของดนตรี อักษร R ก็คือ Red Seal Label หรือ classical music.

ตัวที่ 3 ระบุความเร็วในการบันทึก และขนาดแผ่น ซึ่งอักษร R คือสปีด 33 1/3 RPM และเป็นชนิดแผ่นขนาด 12”

ตัวที่ 4 จะเป็นตัวเลขระบุจำนวนหน่วยที่บันทึก ซึ่งเลข 1 แสดงว่าเป็น single record  

อักษรตัวที่ตามมาจะเป็น serial number. ในที่นี้คือ 0026A เป็น serial number ของการบันทึกในหน้า 1 และ 0026B คือ serial number ที่บันทึกลงหน้าที่ 2

ตัวอย่างแผ่นยุคนี้เช่น:

Bach, J.S. Fugue in E Flat Major, BWV 522. Fugue in D Major from BWV 532. Fugue in G Minor, BWV 542. Fugue in A Minor from BWV 543. Fugue in C Minor from BWV 549. Fugue in C Major from BWV 564. Fugue in G Minor, BWV 578.Philadelphia Orchestra. Eugene Ormandy, conductor. Paul Goodman, recording engineer. Max Wilcox, record producer. RCA Victor Red Seal ARD1 0026 (1973).

นอกจากนั้นยังมีรหัสเพิ่มเติมจากรหัสที่กล่าวมาข้างต้นของ Number-Letter Codes

โดยตัวอักษร S ตามด้วยตัวเลขก็จะเป็นการแสดงถึงลำดับครั้งในการทำ master ฉะนั้น เลข 1 จะเป็นการแสดงว่าผลิตมาจาก 1st master ของ master tape.

ส่วนตัวอักษร A ตามด้วยตัวเลข จะแสดงถึงการผลิตมาจาก mother ถ้า A1 ก็คือผลิตมาจาก mother ที่ 1

และยังมีอักษรที่จะแสดงแหล่งผลิตอีก โดยจะเป็นอักษรตัวเดียวอยู่ในตำแหน่ง 180 องศาของ Number-Letter Codes เช่น I ระบุว่าผลิตที่ Indianapolis, Indiana plant.

หมายเหตุ

RCA แผนก Red Seal Division( แผนก classic) ว่าจ้างผู้ผลิตและวิศกรมากมายหลากหลายสไตร์ของแต่ละคน ฉะนั้นเพลง classic ของ RCA จึงแตกต่างกันในแต่ละยุคแต่ละเลเบล มีเป็นจำนวนมากเช่นกันที่ผลิตออกมาคุณภาพเสียงดีได้อย่างเด่นชัด หนึ่งในนั้นน่าจะมาจากทีมของ Richard Mohr (producer) และ recording engineer- Lewis Layton.
ตัวอย่างอัลบัมที่เสียงดีเช่น
Respighi, Ottorino. Fountains of Rome (1917). Pines of Rome (1924). Chicago Symphony. Fritz Reiner, conductor. Lewis Layton, recording engineer. Richard Mohr, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 2436 (1960). Recorded on October 24, 1959, in Orchestra Hall, Chicago. 
and

Rimsky-Korsakov, Nikolai. Schéhérezade, Op. 35 (1888). Chicago Symphony. Fritz Reiner, conductor. Lewis Layton, recording engineer. Richard Mohr, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 2446 (1960). Recorded on February 8, 1960, in Orchestra Hall, Chicago.

บางอัลบัมของ RCA ในรุ่นแรกๆที่บันทึกเสียงได้ดีมาจาก recording engineer ชื่อ Leslie Chase. ตัวอย่างอัลบัมจากผลงานที่ดีของเขาคือ:

Offenbach, Jacques. Gaîté Parisienne (1938). Boston Pops. Arthur Fiedler, conductor. Leslie Chase, recording engineer. RCA Victor Red Seal LSC 1817 (1958). Recorded in June 1954 at Symphony Hall, Boston.

และ

Ravel, Maurice. Daphnis et Chloé (1912). New England Conservatory Chorus. Robert Shaw, director. Boston Symphony. Charles Munch, conductor. Leslie Chase, recording engineer. John Pfeiffer, record producer. RCA Victor Red Seal LSC 1893 (1960).

 นักบันทึกเสียงชั้นแนวหน้าผู้หนึ่งชื่อ Kenneth E. Wilkinson ซึ่งสังกัดอยู่กับ Decca แห่งอังกฤษ งานของเขาบางชิ้นก็มาปรากฎบรแผ่นของ RCA ตัวอย่างที่ดีของแผ่นดหล่านี้คือ  

Elgar, Edward. Enigma Variations, Op.36 (1899).Brahms, Johannes. Variations on a Theme by Haydn, Op. 56a (1873). London Symphony. Pierre Monteux, conductor. Kenneth E. Wilkinson, recording engineer. RCA Victor Red Seal LSC 2418 (1960). Recorded in Kingsway Hall, London.

และ

Sibelius, Jean. Symphony No. 2 in D Major, Op. 43 (1901). London Symphony. Pierre Monteux, conductor. James Walker, record producer. Kenneth E. Wilkinson, recording engineer. RCA Victor Red Seal LSC 2342 (1959). Recorded in Kingsway Hall, London. 

เลเบลแผ่นเสียง และ ประวัติ Records story & Discography โดย ลุงพง

เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ค้นหา ติดตาม จึงได้รวบรวมประวัติและลักษณะเลเบลแผ่นเสียงของค่ายต่าง ๆจากกระทู้เวป Thaigramophone.com มาไว้ ณ ที่เดียวกัน 

นอกจากนี้ ยังมีเลเบล ที่มีรูปลักษณะแปลกไปจากที่นำเสนอไว้นี้อีก เนื่องด้วยมีการผลิตจากหลายแหล่งหลายประเทศ รวมทั้งการผลิตซ้ำ (re-issue) เลเบลที่นำเสนอไว้นี้จึงยืดถือเอาจากแหล่งที่ผลิตโดยตรง คือ จากอเมริกา และ อังกฤษ

ABC-Paramount Records Story

แผ่นเสียง label ABC-Paramount กำเนิดมาจากการเริ่มของบริษัท Am-Par Record Corporation ที่ New York City ในปี 1955 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ American Broadcasting-Paramount Theaters, Inc. ประธานของบริษัทคือ Samuel Clark และมีผู้จัดการฝ่ายขายชื่อ Larry Newton  หัวหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตคือ Don Costa และ Sid Feller 
นอกจากเลเบลของ ABC-Paramount เองแล้ว ยังมีเลเบลในเครือย่อยอีก คือ Impulse ในต้นปี 1960 เป็นแนวเพลงแจ๊ซ พอมากลางปีก็มีเลเบลใช้สำหรับเพลงบลูส์ คือ Bluesway นอกจากนั้นยังสร้างเลเบล Probe สำหรับเพลงแนว psychedelic rock ในปี 1968 แต่อยู่ได้แค่ช่วงสั้น ๆ 

ในเดือนตุลาคม ปี 1959 หัวหน้าวงออเคสตร้าชื่อ Enoch Light และหุ้นส่วนได้ขายเลเบลของตนเองให้กับ ABC-Paramount ซึ่งมีทั้ง Audition, Command Performance, Colortone, Grand Award และ Waldorf Music 
เนื่องจาก ABC-Paramount ก่อตัวขึ้นภายหลังของยุค rock and roll และชอบที่จะซื้อลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตเพลงอิสระเป็นมาสเตอร์สำเร็จรูป รวมทั้งเข้าลงทุนซื้อค่ายแผ่นเสียงจากย่านหรือแหล่งเล็ก ๆ แล้วมาทำตลาดเป็นระดับประเทศ ฉะนั้นในปี 1966 ABC จึงซื้อ Dunhill label จาก Lou Adler และในปี 1973 ซื้อ Duke/Peacock labels จาก Don Robey นอกจากนั้น ABC-Paramount ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายของอีกหลาย labels เช่น Anchor, Blue Thumb, Chancellor, Colonial, Deb, Fargo, Hunt, LHI (บางส่วน), Royal, Shelter (บางส่วน), Sire (บางส่วน), Tangerine, Topsy, และ Wren

Don Costa เซ็นสัญญารับ Paul Anka เข้าในสังกัด ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 15 ปี เป็นทั้งนักร้องและนักแต่งเพลงจากประเทศแคนาดา (เคยแต่งเพลงให้กับ Modern Records ชื่อ “I Confess”) สาเหตุที่ Paul มีโอกาสเข้ามาอยู่ในสังกัด เกิดขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคมของปี 1957 เมื่อเขาได้รางวัลมาเที่ยวที่เมือง New York และพักอยู่กับเพื่อนชาวแคนาดาชื่อ Rover Boys ซึ่งเพื่อนคนนี้ทำงานอยู่กับ ABC จึงแนะนำให้เขาไปพบ Don Costa เขาเล่นเพลงที่เขาเขียนขึ้นเกี่ยวกับแฟนของเขาที่อยู่ในแคนาดาชื่อ Diana ให้กับ Costa ฟัง และเพลงนี้ก็กลายเป็นเพลงแรกของเขาที่บันทึกเป็นอัลบัม single ของ ABC- Paramount และกลายเป็นเพลงประจำของวัยรุ่นใช้ร้องกันมาตั้งแต่ฤดูร้อนของปี 1957 ติดชาร์ทเพลงอยู่ได้นานถึง 6 เดือน มีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรักของหนุ่มวัยรุ่นไปหลงรักสาวที่มีอายุมากกว่า
Anka บันทึกเพลงที่เขาร้องซึ่งเป็นเพลงที่เขาแต่งขึ้นเองเกือบทั้งสิ้น รวมทั้ง “Put Your Head On My Shoulder”, “Lonely Boy”, “Puppy Love” และ “My Heart Sings,” และยังแต่งเพลงให้กับศิลปินอื่นเช่น Buddy Holly ในเพลง “It Doesn’t Matter Anymore” Paul Anka เป็นนักร้องที่โดนใจวัยรุ่นมาก เพลงเขาติดชาร์ทถึง 16 เพลง รวมทั้งอีก 10 อัลบัมในเลเบล ABC-Paramount จากนั้นเขาได้จาก ABC ไปอยู่กับ RCA Victor ในปี 1962 เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์จากนักร้องเพลงของวัยรุ่นมาเป็นนักร้องเพลงป๊อป Anka ยังคงแต่งเพลงให้แก่นักร้องอื่นต่อไป เพลงที่ดังที่สุดเห็นจะเป็นเพลง “My Way” ซึ่งแต่งให้กับ Frank Sinatra และเพลง “She’s a Lady” ให้กับ Tom Jones

 ในปี 1957 ABC มุ่งความสนใจไปยังศิลปิน Rock&Roll อิสระ เข้าซื้อ master ของ Joe Bennett ซึ่งเป็นเพลงที่แต่งขึ้นเองชื่อ “Black Slacks” บันทึกร่วมกับวง Sparkletones ของเขาเอง เพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงฮิตไปทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังซื้อเพลง “At the Hop” ของ Danny and the Juniors จาก Singular Records และได้กลายเป็นเพลงฮิตอันดับหนึ่งของประเทศในปลายปี 1957 นี้เอง 

Lloyd Price เป็นอีกผู้หนึ่งที่ ABC ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับซื้อลิขสิทธิ์เพลงที่เคยฮิตติดตลาดในปี 1952 ของเขา ชื่อเพลง “Lawdy Miss Clawdy” และจากความสำเร็จในตลาดเพลงป๊อปของ Price ได้สร้างความประทับใจให้กับ ABC-Paramount เป็นอย่างมาก (ได้สืบทราบมาว่าตัว Price เองก่อนหน้านี้เคยร่วมอยู่กับวง R&B singer) ทาง ABC จึงได้เสาะแสวงหานักร้องอื่นที่อยู่วงนี้ และก็ได้มาพบ Ray Charles ซึ่งขณะนั้นร้องให้กับสังกัด Atlantic Records   

Ray Charles (เคยอยู่กับวง string ของ R&B เป็นเวลา 10 ปี) เพลงป๊อปเพลงแรกที่ฮิตเริ่มจากเพลง “What’d I Say,” ซึ่งขึ้นถึงอันดับ 6  ในช่วงนี้เองสัญญาที่สังกัดกับ Atlantic ก็สิ้นสุดลง ในปี 1959 ABC-Paramount จึงได้โอกาศยื่นข้อเสนอที่เหนือกว่าบริษัทเล็ก ๆอย่าง Atlantic นี่หรือจะสู้ได้   รับ Charles เข้าในสังกัด และด้วยเงินทุนมหาศาลกอร์ปกับการตลาดที่ดีอยู่แล้ว จึงสามารถปั้นให้ Ray Charles กลายเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ มีเอกลัษณ์เฉพาะตัว เพลงแรกที่ฮิตติดต่อกันหลายครั้งจนกลายเป็นเพลงแบบอย่างคือ “Georgia On My Mind,” ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของ pop hit และอัลบัมที่มีเพลง “Georgia on My Mind” [The Genius Hits the Road, ABC 355] รวมอยู่ด้วย ก็ขายดีเป็นอันดับหนึ่งในปี 1961 เพลงต่อมาที่ฮิตคือ “Hit the Road Jack,” นอกนั้นก็ยังออก album Modern Sounds in Country and Western Music [ABC 410] ในปี 1962 และ album “I Can’t Stop Loving You”ต่อมา ซึ่งก็ฮิตติดอันดับหนึ่งของต้นปี 1960 ในขณะที่ออกเพลงป๊อป Charles ยังได้ออกเพลงแนว Jazz ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงให้กับ ABC  เขาเป็นหนึ่งในศิลปินที่สร้างยอดขายสูงสุดให้กับ ABC

ในปี 1959, ABC-Paramount เริ่มออกแผ่นเสียงที่ร้องโดย Cliff Richard ในอเมริกา 2 album (ABC 321 และ ABC 391) ถึงแม้ว่า Cliff จะเคยโด่งดังมากในเกาะอังกฤษ แต่ปรากฎว่าไม่ประสบความสำเร็จ (เพิ่งจะมาระยะหลังกลางปี 1970 ในสังกัดของ EMI ที่มีเพลงเข้าอันดับ I’m Nearly Famous) 
ในปี1961 ABC ได้ B.B. King มาอยู่ในสังกัด King เป็นผู้นำทางด้านกีต้าเพลงบลู เคยออกอัลบัมภายใต้สังกัด RPM ซึ่งเกี่ยวดองกับ Kent labels ตั้งต้นยุค ’50s. ABC ได้ทำการเปลี่ยนแปลงแนวเพลงเขาเล็กน้อย โดยให้เขาร้องนำด้านหน้า และมีวงออเคสตร้าวงใหญ่บรรเลงอยู่ด้านหลัง โดยมี Johnny Pate เป็นทั้งผู้ประพันธ์และโปรดิวเซอร์ ผลลัพท์ที่ออกมาคือเสียงที่เต็มอิ่มกว่าของเดิมที่บันทึกจาก RPM recordings แผ่น singles นี้ก็ขายได้อยู่ระหว่าง 5 หมื่นถึงหนึ่งแสนแผ่น Johnny Pate เลยเปลี่ยนแนวใหม่ ทำการบันทึกที่สนามหญ้าหน้าบ้านแทนเหมือนการแสดงสด อัลบัม “B.B. King Live at the Regal” [ABC 509] บันทึกสดที่ Chicago เมื่อ 21 พฤศจิกายน ปี 1964 กลายเป็นอัลบั้มที่ยิ่งใหญ่เป็นแบบอย่าง ที่ศิลปินอังกฤษอย่าง Rolling Stones และ Eric Clapton เอ่ยว่ามีอิทธิพลต่องานเพลงเขาเป็นอย่างยิ่ง 

ABC สร้างแบรนด์ใหม่ภายใต้เลเบล Bluesway ในปี 1966 รับศิลปินแนวบลูเข้ามาอยู่ในสังกัดมากมายรวมทั้ง Jimmy Reed, John Lee Hooker, Otis Spann, Joe Turner, Eddie “Cleanhead” Vinson, T-Bone Walker, Jimmy Rushing, Jimmy Witherspoon, Charles Brown, Roy Brown, และ Brownie McGhee & Sonny Terry และผลงานของ B.B. King ก็ใช้เลเบลของ Bluesway

ในปี 1961 ABC-Paramount หันมาทำเพลงแจ๊ซโดยใช้เลเบล Impulse ได้ทำสัญญารับศิลปินแจ๊ซระดับแนวหน้ารวมทั้ง John Coltrane, Coleman Hawkins, Shelly Manne, Freddie Hubbard, Art Blakey, Charles Mingus, Shirley Scott, Archie Shepp, Yusef Lateef, Sonny Rollins, Ornette Coleman และ Chico Hamilton. ได้ใช้เลเบลนี้จนถึงปี 1979 

ในปี 1966 ชื่อ Paramount ก็เลิกใช้ไป กลายเป็นชื่อ label ใหม่ว่า ABC

ในปี 1975   ABC ทำสัญญาซื้อตัว Poco จากสังกัดเดิม Epic Records เข้ามาอยู่ในสังกัดตนเอง และได้ออกอัลบั้มแรกที่ยอดเยี่ยมมากคือ “Head Over Heels” [ABC 890] ตอนหลังได้ออกเพิ่มอีก 3 อัลบั้ม แต่ก็ไม่มีอัลบั้มใหนสู้อัลบั้มแรกได้เลย

สำหรับวงร๊อคที่ประสบความสำเร็จมากในยุค ’70 ของ ABC คือ Steely Dan (เป็นทั้งนักแต่งเพลงและนักดนตรี), Water Becker , Donald Fagen ,Denny Dias, Jeff Baxter, Jim Hodder และ David Palmer
ในปี 1979, ABC Records ขายไปให้แก่ Music Corporation of America (MCA) และช่วงนี้เองก็เลิกใช้ชื่อเลเบล ABC เปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทแม่แทน เป็นเลเบล MCA 
อัลบั้มที่ประสบความสำเร็จสูงของ ABC ได้มีการทำซ้ำ(reissued)ใหม่ภายใต้เลเบล MCA

ABC-Paramount Album Discography 

http://webboard.thaigramophone.com/images/awb_image2872549225904.JPG

เลเบลแรกจะมีพื้นเป็นสีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน ตำแหน่งด้านบนสุดของฉลากเป็นตัวอักษรสีขาวชื่อบริษัท “ABC-PARAMOUNT” ตำแหน่งล่างสุดของฉลากจะมีข้อความสีขาวเช่นกันดังนี้ “A PRODUCT OF AM-PAR RECORD CORP.” สำหรับอัลบั้มที่เป็นสเตอริโอก็จะมีข้อความ “STEREO” ตัวใหญ่สีเงินอยู่ทางด้านซ้ายของฉลาก

http://webboard.thaigramophone.com/images/awb_image2872549230158.JPG

ส่วนเลเบลของแผ่นสำหรับโปรโมชั่นจะเป็นพื้นสีขาวตัวพิมพ์สีดำ รูปแบบกราฟฟิคเหมือนเลเบลที่ออกวางจำหน่าย เลเบลนี้ใช้ตั้งแต่ปี 1955 จนถึงปลายปี 1961 หรือประมาณลำดับแผ่นเสียงเลขที่ ABC 400

เลเบลในรุ่นที่ 2 คงเหมือนรุ่นแรก เพียงแต่ด้านล่างของฉลากเปลี่ยนไปเป็นข้อความ “A PRODUCT OF ABC-PARAMOUNT RECORDS, INC.”

ส่วนเลเบลของแผ่นสำหรับโปรโมชั่นจะเป็นพื้นสีขาวตัวพิมพ์สีดำ รูปแบบกราฟฟิคเหมือนเลเบลที่ออกวางจำหน่าย เลเบลนี้ใช้ตั้งแต่ต้นปี 1962 จนถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 1966  หรือประมาณลำดับแผ่นเสียงเลขที่ ABC 400 to ABC 567

เลเบลรุ่นที่ 3 ใช้เมื่อชื่อบริษัทเปลี่ยนจาก ABC-Paramount ไปเป็น ABC พื้นฉลากสีดำตัวพิมพ์สีเงิน และมีโลโก้อยู่บนสุดของฉลากเป็นอักษรสีดำคำว่า ABC อยู่ในวงกลมสีขาว วางอยู่ในกรอบ 4 เหลี่ยมสีรุ้งอีกที และตำแหน่งด้านล่างสุดของฉลากมีคำว่า “ABC RECORDS INC., NEW YORK, N.Y. 10019 – MADE IN USA”

ส่วนเลเบลแผ่นโปรโมชั่นก็เช่นเดียวกันเพียงแต่พื้นเป็นสีขาวตัวพิมพ์ทั้งหมดสีดำ เลเบลนี้ใช้มาตั้งแต่กลางปี 1966 จนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 1974 หรือประมาณลำดับแผ่นเสียงเลขที่ ABC 565 ถึง ABC 830

เลเบลรุ่นที่ 4 เป็นช่วงอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง เป็นตัวพิมพ์สีดำ และมีตัว ABC เหมือนของเล่นเด็กสำหรับเรียนภาษา เป็นสี อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมชายธง ตำแหน่งบนสุดของฉลาก ส่วนเลเบลแผ่นโปรโมชั่น จะเป็นตัวพิมพ์ดำบนพื้นสีขาว เลเบลนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นปี 1973 ถึงปี 1974 เลเบลนี้มีการใช้ร่วมไปพร้อม ๆกับ เลเบลรุ่นที่ 3 ประมาณลำดับแผ่นเสียงเลขที่ ABC 769 ถึง ABC 830

เลเบลรุ่นที่ 5 จะมีสีม่วงอยู่วงในของฉลาก แล้วค่อย ๆเปลี่ยนไล่สีมาเป็นสีทองรอบขอบนอก ตัวพิมพ์เป็นสีดำ และโลโก้ ABC สีขาวอยู่ในวงกลมสีดำ เลเบลนี้ใช้อยู่ระหว่างประมาณลำดับแผ่นเสียงเลขที่ 830 ถึง 1090

เลเบลรุ่นที่ 6 สีพื้นเหมือนกับรุ่นที่ 5 เพียงแต่โลโก ABC เปลี่ยนเป็นรูปตัวโน๊ตดนตรี เลเบลรุ่นนี้ใช้อยู่ระหว่างลำดับแผ่นเสียง 1090 จนสิ้นสุดในปี1979

นอกจากนั้นยังมี ABC Collection series จะเป็นรุ่นที่การทำบันทึกซ้ำใหม่ (re-issues) โดยวัสดุที่ใช้ทำจะเป็นของรุ่นเก่าเดิม หน้าปกเป็นสีเทา เจาะสี่เหลี่ยมตรงกลางเห็นรูปศิลปินภายใน เลเบลในแผ่นเป็นพื้นสีเทาตัวพิมพ์สีดำ

แผ่นใน Series นี้ มีอัลบัมดังต่อไปนี้

AC 30002 – The ABC Collection – Frankie laine [1976]

AC 30002 – The ABC Collection – Della Reese [1976]

AC 30003 – The ABC Collection – Grass Roots [1976]

AC 30004 – The ABC Collection – Count Basie [1976]

AC 30005 – The ABC Collection – Mamas & Papas [1976]

AC 30006 – The ABC Collection – Lloyd Price [1976]

AC 30007 – The ABC Collection – Judy Garland [1976]

AC 30008 – The ABC Collection – Steppenwolf [1976]

AC 30009 – The ABC Collection – Impressions [1976]

AC 30010 – The ABC Collection – Junior Parker [1976]

AC 30011 – The ABC Collection – Orleans [1976]

บทความโดย ลุงพง