test forum direct

Please or Register to create posts and topics.

Mercury A-10 Series (78rpm & 45rpm Albums) โดย ลุงพง

Mercury เริ่มออกอัลบั้มตั้งแต่ต้นปี 1946 อัลบั้มเหล่านี้กลายเป็น collection ของแผ่น singles 78rpm ซึ่งบรรจุในซองกระดาษเป็นเล่มหนังสือเหมือนอัลบั้มรูป

เริ่มแรกนั้นหมายเลขแผ่นเสียงจะขึ้นจ้นด้วยตัวอักษร  "A-" โดยเริ่มจาก A-10  ต่อมาในปี  1949  ได้มีการนำบางส่วนของอัลบัมแผ่น 78s มาทำสำเนาใหม่เป็น  45rpm ซึ่งก็ใช้หมายเลขขึ้นต้นด้วย "A-" เช่นกัน โดยเริ่มจากอัลบัม A-10 แต่จะต่อท้ายด้วย "x45" ตรงท้ายของเลชที่แผ่น โดยออกวางจำหน่ายในปี 1951และเรื่อยมาถึงปี 1952

มีอัลบัมจำนวนมากของแผ่น 78rpm และ 45rpm มาทำเป็นแผ่น 10-inch, 33-1/3rpm long play และกระทั่งเป็นแผ่น 12 นิ้ว LPs. แผ่น10 นิ้วในระหัส  MG-25000 (MG = "microgroove") จะมีการบันทึกเพิ่มอีก 2 เพลงจากเดิม 6 เพลงเป็น 8 เพลง ส่วน 12 นิ้ว LPs ในระหัส MG-20000 ประกอบไปด้วย 12 เพลง 

Mercury Labelography 
(1949-1970s)

1. ที่เห็นนี้เป็นแผ่น 10" MG 15000 และ 12" MG 10000 LONG PLAYING MICROGROOVE Series. เลเบลนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 1949 จนถึงปี 1960. พื้นฉลากสีดำ ตัวพิมพ์สีขาวออกเหลืองในระยะแรก ต่อมาตัวพิมพ์เป็นสีเงิน

อัลบัมแรกใน series คือ

MG 10,000 Khachaturian, Aram. Concerto for Violin and Orchestra in D Major (1940). David Oistrakh, violin. USSR State Philharmonic Orchestra. Alexander Gauk, conductor. 12" released October 1949. List price $4.85.

MG 15,000 Strauss, Richard. Don Juan, Op. 20 1888. Tchaikovsky, Peter Ilyich. 1812 Overture. Amsterdam Concertgebouw Orchestra. Willem Mengelberg, conductor. 10" released October 1949. List price $3.85.

2. เลเบลต่อมาเป็น MG 50000 OLYMPIAN SERIES HIGH FIDELITY หรือ MICROGROOVE  ใช้ในปี  1951 จนถึงปี 1957 แรกสุดพื้นฉลากเป็นสีดำ ตัวพิมพ์ทั้งหมดเป็นสีเงิน รุ่นต่อมาในราวปี 1952 จะเป็นฉลากสีแดงน้ำหมากหรือ maroon-red label ตัวพิมพ์สีเงิน แบบดีไซน์จะแตกต่างเล็กน้อยตรงมีคำว่า HIGH FIDELITY จะพิมพ์แทนที่ในตำแหน่งของคำว่า  MICROGROOVE และมีข้อความ  Living Presence อยู่ด้านซ้ายของรูกลางแผ่นเสียง รุ่นนี้ได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในนาม  Mercury Living Presence label.

อัลบัมแรกใน series คือ:

MG 50,000 Mussorgsky, Modest. Pictures at an Exhibition. Chicago Symphony Orchestra. Rafael Kubelik, conductor. Recorded April 23­24, 1951; released November 1951. List price $5.95.

3. ต่อมาเป็นเลเบลระหัส MG 40000 GOLDEN LYRE SERIES. ใช้ในปี 1952 จนถึงปี 1957. พื้นฉลากรุ่นนี้สีทอง และตัวพิมพ์ทั้งหมดสีแดง

อัลบัมแรกใน MG 40000 GOLDEN LYRE SERIES คือ:

MG 40,000 Hanson, Howard. Songs from Drum Taps Op. 32 (1935). Thompson, Randall. Testament of Freedom (1943). Eastman Symphony Orchestra. Howard Hanson, conductor. Released November 1952, it became MG 50073 in February 1957. List price $4.98.

4. เลเบลรุ่นต่อมาเป็น MG 90000 TONO SERIES. นำมาใช้ระหว่างปี 1955 และ 1960. สีพื้นฟ้าอ่อน ส่วนตัวพิมพ์ทั้งหมดสีดำ

5. ส่วนรุ่นนี้เป็น MG 80000 CUSTOM FIDELITY SERIES. ใช้ระหว่างปี 1955 และ 1957. พื้นฉลากสีแดงสด ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีดำ เลเบลชุดนี้ทำมาเฉพาะกับดนตรี chamber music. ในปี 1957 ระหัสนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ MG 50,000 OLYMPIAN LIVING PRESENCE series.

อัลบัมแรกใน series คือ:

MG 80,000 Bartok, Bela. Sonata No. 2 for Violin and Piano (1922). Ravel, Maurice. Sonata for Violin and Piano (1923­27). Rafael Druian, violin. John Simms, piano. Released February 1955; in January 1957 it became MG 50089.

6. เลเบลในชุด MG 50000 OLYMPIAN SERIES LIVING PRESENCE. เป็นชุดที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมมาในภายหลัง โดยมีคำว่า LIVING PRESENCE มาแทนที่ LONG PLAYING เลเบลนี้ถูกใช้ในปี 1957 จนกระทั่งเลิกใช้ไปเมื่อหยุดการบันทึกแบบ monaural  ในปี 1969. พื้นเลเบลเป็นสีแดงน้ำหมากหรือ deep maroon-red ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีเงิน  แต่ยังมีเลเบลต่อมาของยุคนี้โดยมีพื้นฉลากสีออกน้ำตาลแดงอ่อน ซึ่งคุณภาพไม่ดี มักจะมีเสียงรบกวนจากผิวแผ่น

7. มาถึงเลเบลชุด SR 90000 STEREO LIVING PRESENCE Series. ใช้ในปี 1958 จนกระทั่งถึงปี 1969. พื้นเลเบลเป็นสีแดงน้ำหมากหรือ deep maroon-red ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีเงิน  แต่ยังมีเลเบลต่อมาของยุคนี้โดยมีพื้นฉลากสีออกน้ำตาลแดงอ่อน ซึ่งคุณภาพไม่ดี มักจะมีเสียงรบกวนจากผิวแผ่น

อัลบัมแรกใน series คือ:

SR3 9,000 Cherubini, Luigi. Medea. Maria Callas, Mirto Picchi, Renata Scotto, Giuseppe Modesti, Mirium Pirazzini, Lidia Marimpietri, Elvira Galassi, Alfredo Giacommotti, soloists. Orchestra and Chorus of La Scala. Norberto Mola, director. Tullio Serafin, conductor. Released November 1958.

SR 90,001 Bizet, Georges. Carmen Suite. L'Arlesienne Suite (1872). Detroit Symphony. Paul Paray, conductor. Released November 1958. List price $5.95.

8. เลเบลชุด SR 90000 STEREO LIVING PRESENCE VENDOR MERCURY RECORD CORPORATION Series. ใช้ในช่วงสั้นๆระหว่างต้นปี 1960s ถึงปลายปี พื้นเลเบลเป็นสีแดงน้ำหมากหรือ deep maroon-red ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีเงิน  แต่ยังมีเลเบลต่อมาของยุคนี้โดยมีพื้นฉลากสีออกน้ำตาลแดงอ่อน ออกมาในกลางปี 1960 ซึ่งคุณภาพไม่ดี มักจะมีเสียงรบกวนจากผิวแผ่น ในยุคนี้ส่วนใหญ่ก็เป็ฯแผ่นทำใหม่จาก Remastering

http://ronpenndorf.com/images/strv2.gif

9. เลเบลนี้เป็น SR 90000 STEREO LIVING PRESENCE BROADCAST Series. ใช้ในปี 1958 ถึงปลายปี 1960s. โดยมีข้อความพิมพ์ว่า VENDOR MERCURY RECORD CORPORATION  เลเบลช่วงแรกพื้นสีทอง ตัวพิมพ์ทั้งหมดสีดำ เลเบลต่อมาจะมีสีพื้น น้ำเงินออกเขียวด้วยตัวพิมพ์สีเงิน หรือพื้นเป็นสีขาวหรือเหลืองด้วยตัวพิมพ์สีดำ ในทุกสีดังกล่าวจะมีข้อความ FOR BROADCAST ONLY NOT FOR SALE อยู่ใต้หมายเลขแผ่นแต่อยู่เหนือรูป Mercury's head. โดยส่วนมากคุณภาพเสียงเหนือกว่าทั่วไป.

10. ยุคต่อมาก็เป็น LIVING PRESENCE BROADCAST OVAL LOGO Series. จะมีรูปเครื่องหมาย Mercury อยู่ภายในวงรี โดยทั่วไปเลเบลยุคนี้เป็น stereo. ใช้ในต้นปี 1960s จนถึงปลายปี สีพื้นจะเป็นสีขาวหรือสีทอง หรือเหลืองซีด, น้ำเงินซีด, เขียวซีด,หรือชมพู ด้วยตัวพิมพ์สีดำ  โดยมีข้อความต่างๆเช่น  FOR BROADCAST ONLY · NOT FOR SALE · MERCURY RECORD CORP. · CHICAGO, ILL. · U.S.A. หรือ FOR BROADCAST ONLY · NOT FOR SALE · VENDOR MERCURY RECORD CORPORATION หรือ FOR BROADCAST ONLY · NOT FOR SALE พิมพ์อยู่ทางด้านซ้ายติดกับข้อความ MERCURY RECORD CORPORATION ที่อยู่ด้านขวา สำหรับแผ่น Monaural จะไม่คำว่า STEREO พิมพ์อยู่ใต้ โลโก้

สนใจหาแผ่นเสียงมือสอง Mercury? ลองดูในบอร์ดซื้อขายแผ่นเสียงที่นี่

บทสรุป

แผ่นเสียงคลาสสิกของ Mercury Stereo Living Presence classical records เป็นตัวอย่างสะท้อนถึงยุคทองของการทำแผ่นเสียงในปี 1950s ถึง 60s  ที่คุณภาพในการบันทึกให้เสียงสมจริงจากการวง concert ได้อย่างดี จากแผ่นเสียงยุคเลเบล SR 90,000 series ซึ่งเป็น stereo ในปี 1958 ถึงปี 1970s. แต่น่าเสียดายที่ในช่วงปี 1958 ถึง 1960  คุณภาพตัวพิมพ์ไม่คงที่ มีทั้งดีและทั้งเสียงรบกวนจากผิวแผ่นก็มาก ซึ่งน่าจะมาจากเนื้อใน vinyl ไม่ดีและตัวแม่ปั้ม stampers สกปรกหรือแตกร้าว

แผ่นที่คุณภาพยอดเยี่ยมเป็นที่ต้องการซึ่งอยู่ในปี 1958 ถึง 1960  เป็นแผ่นที่หนักและค่อนข้างแข็ง code ผลิตแผ่น(matrix information) ที่อยู่ระหว่าง ร่องแผ่นเสียงแทร๊กสุดท้ายกับเลเบล)จะเป็นตัวพิมพ์ลงพสาสติก ไม่ใช่ตัวแกะสลัก อักษรนำหน้าเลขที่แผ่นจะเป็นระหัส FR และต้องไม่ใช่  RFR หรือ CTFR. หมายเลขลำดับต่ำ ตัวปกแผ่นเสียงทำด้วยกระดาษแข็งหนาพิเศษ ปกหน้ามันวาวจากฟิลม์ที่เคลือบไว้ ส่วนด้านหลังปกพื้นที่ประมาณ 20% ทางมุมขวาจะเป็นรูปสี เรียกว่า color back โดยเฉพาะเป็นอัลบัมชุดในปี 1960 อยู่ในช่วงลำดับหมายเลข  SR 90200 range.

ช่วงระหว่างตั้งแต่ปี 1958 ที่มีการแนะนำแผ่น Stereo ออกสู่ตลาด จนถึงปี 1960   นั้น RCA Victor ได้รับจ้างผลิตแผ่น Mercury Living Presence records  โดยเป็น stamped  อักษรนำหน้าเลขที่เป็น FR ตามด้วยตัวเลข mastering number, stamped record number และ mother indicator, อย่างเช่น  A1 หรือ B1, และระหัสระบุสถานที่ผลิตด้วยอักษร I. แผ่นเหล่านี้จะเป็นแผ่นที่มีคุณภาพดี

ในช่วงกลางปี 1960s Columbia บริษั้ทแผ่นเสียงชั้นนำอีกแห่งหนึ่งของอเมริกาก็เข้ามาเป็นผู้ผลิตให้กับ  Mercury records บ้าง แผ่นอัลบัมเหล่านี้จะมีสลักระหัส  CBFR, CTFR หรือ CCFR นำหน้าตามด้วย mastering number และเลขที่แผ่น (record number). แผ่นเหล่านี้มีปัญหาเช่นเดียวกับที่พบในการผลิตแผ่น Columbia Masterworks' pressings. มีเสียงรบกวน (surface noise ) จำนวนมาก สาเหตุมาจาก vinyl ที่มีคุณภาพต่ำ และหยาบ

Columbia ยังเป็นผู้ผลิตแผ่นในช่วงสุดท้ายให้กับ Mercury records. ซึ่งแผ่นเหล่านี้จะมี ระหัสตัวอักษรที่เป็นตัวอักษรชนิดเดียวกันและขนาดเดียวกันกับที่ใช้ในการระบุแผ่นของ Columbia เอง โดยชุดนี้จะมีระหัสอักษร  “M –“ และตามด้วยหมายเลขแผ่น เป็นแผ่นที่ให้เสียงทึบ  

ระหัสโรงงานหรือ manufacturing codes บนแผ่น Mercury ชุด Vendor Labels จะเป็นระหัสเดียวกับแผ่นธรรมดาของ Mercury เอง เพราะผลิตจาก  master และ stamper เดียวกัน  ฉลากเหล่านี้ถูกใช้ในช่วงเปลี่ยนถ่ายเจ้าของจากการเข้าซื้อกิจการของ Mercury Record Co. โดย Philips Corp. ในปี 1962

บทความนี้ เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรมโมโฟน ท่านสามารถส่งต่อ แชร์ ได้ไม่หวงห้าม หากแต่ให้เครดิตว่ามาจาก ลุงพง หรือ เว็บไทยแกรโมโฟน จักเป็นพระคุณยิ่ง

แอดมินเว็บไทยแกรมโมโฟน Thaigramophone.com