Liberty Records – ประวัติความเป็นมา และ เลเบลแผ่นเสียง โดย ลุงพง

ประวัติความเป็นมา และ ศิลปิน ของ Liberty Records

Liberty Records กำเหนิดก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 โดย Simon Waronker ใน Hollywood, California.

Liberty Records

Simon Waronker เกิดในปี ค.ศ. 1915 ในถิ่นของคนยากจนย่าน Los Angeles เมื่ออายุได้ 5 ขวบ พ่อของเขาให้เขาเริ่มหัดเล่นไวโอลิน. เขาเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์อย่างน่าอัศจรรย์ เข้าเรียนชั้นไฮสคูลเมื่ออายุได้ 11 ปี และจบเมื่ออายุแค่ 13 ปี เขาจึงได้รับทุนการศึกษาเรียน ไวโอลินใน Philadelphia และต่อในประเทศฝรั่งเศษ. จนกระทั่งจบหลักสูตรในประเทศเยอรมันช่วงระหว่างฮิตเลอร์ครองอำนาจ เนื่องจากเขาเป็นพวกเชื้อสายยิว จึงต้องหนีออกมาจากกลุ่มเยาวชนนาซี กลับมายังประเทศอเมริกาอยู่ใน Los Angeles ในที่สุด, เขาทำงานด้านดนตรีประกอบภาพยนต์ให้กับ 20th Century Fox จากปี ค.ศ. 1939 จนถึง 1955

ในปี ค.ศ. 1955, Herb Newman ซึ่งเป็นญาติห่างๆของเขาได้ชักชวนให้มาร่วมกันทำธุรกิจแผ่นเสียงด้วยกัน หลังจากได้ครุ่นคิดและปรึกษากับ Alfred และ Lionel Newman ที่20th Century Fox แล้ว เขาจึงตัดสินใจยอมทิ้งรายได้ค่าจ้างที่สูงมากมาประกอบธุรกิจเองร่วมกันกับเขา แต่ทำไปทำมา Herb Newman กลับลำเปลี่ยนไปทำธุรกิจของเขาเองใช้ชื่อว่า Era, ดังนั้น Simon Waronker จึงต้องดำเนินธุรกิจโดยลำพัง. แผ่นเสียงชุดแรกๆจะเป็นประเภทที่มีวง orchestra บันทึกโดย Lionel Newman. จะสังเกตุได้ว่าในแผ่นเสียง 100 ชุดแรกของ Liberty, จะเป็นประเภท big band music, movie music, orchestral music และมี jazz บ้าง การพิมพ์หมายเลขที่แผ่น ซิงเกิลจะเริ่มที่หมายเลข 55000 ซึ่งคงหมายถึงปีที่ผลิต 55 (เลขลงท้ายของปี 1955) และเติมศูนย์ลงไป แผ่นซิงเกิลแผ่นแรกเริ่มที่หมายเลข Liberty 55001 และเรียงหมายเลขมาเรื่อยๆ เขาใช้ระบบเรียงเลขหมายนี้เป็นเวลานานถึง 16 ปี ก่อนจะเปลี่ยน

จูลี่ ลอนดอน

Waronker ติดต่อทาบทาม ศิลปินแจ๊ซท่านหนึ่งชื่อ Bobby Troup ในปี ค.ศ. 1955 พยายามให้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด แต่ทำไม่ได้เนื่องจาก Troup ยังอยู่ในสัญญาของสังกัดอื่น เขาจึงได้แนะนำให้ Waronker ทำสัญญากับเพื่อนเขาแทนคือ Julie London. ต่อมา Julie London กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของ “Liberty Girl” เนื่องจากอัลบั้มที่เธอบันทึก ได้ติดตลาดเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วด้วยฃุด “Cry Me a River” (Liberty 55006, 1955) และประสบความสำเร็จในชุดต่อๆมา. ส่วน Troup เองก็ได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัดในเวลาต่อมาไม่นานนัก และออกอัลบั้มในนาม Liberty


Ross Bagdasarian

Liberty ยังได้เซ็นสัญญากับ Ross Bagdasarian ในปี ค.ศ. 1956 นักแต่งเพลงที่เคยประสบความสำเร็จมา เช่นเคยแต่งเพลงให้ Rosemary Clooney ฮิตติดตลาดในปี 1951 ในเพลง “Come On-A My House”

เขาได้ออกอัลบั้มแรกโดยใช้ชื่อ “Alfi and Harry” (“The Trouble With Harry,” Liberty 55008, 1956), อัลบั้มต่อมาใช้ชื่อเขาเองคือ “The Bold and the Brave”/”See a Teardrop Fall” (Liberty 55013), แค่อัลบั้มเดียวแต่แล้วก็กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกคือ Alfi and Harry (“Persian on Excursion”/”Word Game Song,” Liberty 55016)

ต่อมา Bagdasarian ออกอัลบั้มใหม่เป็นดนตรีบรรเลง “Armen’s Theme” ใช้ฃื่อ David Seville (Liberty 55041, 1956). และประสบความสำเร็จในอีก 2-3 ปีต่อมาเช่น “Gotta Get to Your House” (Liberty 55079, 1957), “The Bird On My Head” (Liberty 55140, 1958), “Little Brass Band” (Liberty 55153, 1958), and “Judy” (Liberty 55193, 1959).

ในปี ค.ศ.1958 เขาเกิดความคิดที่จะสร้างเสียงที่แปลกออกไปโดยเพิ่มสปีดความเร็วของเทปในการอัดเสียง ทำให้ได้เสียงที่ผิดธรรมชาติ ขำขันดี ชุดแรกชื่อ “Witch Doctor” (Liberty 55132). และตามมาด้วย “The Chipmunk Song” ในปลายปี ค.ศ. 1958 (Liberty 55168), และยังมีแผ่น Single ต่อมาอีกเรื่อยๆเป็นระยะเวลานาน Chipmunks กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกผู้บริหาร Liberty ท่านหนึ่งคือ Alvin Bennett อย่างเหน็บแนมปนขบขัน

Bagdasarian เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1972, แต่ลูกชายเขา Ross, Jr., ได้รื้อฟื้นเพลงประเภท Chipmunks ขึ้นมาอีกในปี 1980 สำหรับแฟนเพลงรุ่นใหม่.

ในปี 1956, Liberty ออกอัลบั้มประเภท “pop” โดยนักร้อง 2 คนพี่น้อง Patience และ Prudence McIntyre, อายุ 11 and 14 ปี ขึ้นติดอันดับที่ 4 ของชาร์ตเพลงด้วยเพลง “Tonight You Belong To Me” (Liberty 55022) และตามด้วยอันดับที่ 11 ในเพลง “Gonna Get Along Without Ya Now” (Liberty 55040)

และในปีนี้เอง Liberty ได้เซ็นสัญญากับ Margie Rayburn ออกอัลบั้มมา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนักมีเฉพาะอัลบั้มที่ 5 (ซิงเกิล) “I’m Available” (Liberty 55102, #7, 1957), ที่ติด Chart เพลงเท่านั้น

ในปีเดียวกันนี้ Liberty ยังได้เซ็นสัญญากับ Henry Mancini ซึ่งขณะนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ออกอัลบั้ม Single 2 อัลบั้ม เป็นเพลงประกอบภาพยนต์ “Main Theme”/”Cha Cha Cha for Gia” จากเรื่อง Four Girls in Town (Liberty 55045), และ “Hot Rod”/”Big Band Rock And Roll” (Liberty 55060) จากเรื่อง Rock Pretty Baby และยังมีออกอีกหลายอัลบั้มต่อมา จริงๆแล้ว Mancini เคยเขียนเพลงประกอบภาพยนต์มาหลายเรื่องทีเดียว จนได้บรรจุเป็นสต๊าฟในทีมเขียนเพลงประกอบภาพยนต์สังกัด Universal Studios. แต่ช่วงที่อยู่กับ Liberty ยังไม่เป็นที่รู้จัก จนกระทั่งย้ายมาอยู่กับ RCA ปี 1959 เขาจึงโดดเด่นจนเป็นที่ต้องการของทุกค่าย และชื่อ Mancini กลายเป็นตำนานของเพลงประกอบภาพยนต์ แน่นอนมันเป็นความโชคไม่ดีของWaronker แต่เขาก็ไม่อายที่จะกลับมาผลิตอัลบั้มของ Mancini ซ้ำใหม่ออกสู่ตลาดเป็นเวลาอีกยาวนาน แม้ Mancini จะออกไปจากสังกัดนานแล้ว

Eddie Cochran

Liberty มีศิลปิน Rock & Roll ในสังกัดรุ่นแรกๆ คือ Eddie Cochran. อัลบั้มแรกที่ฮิตติดตลาดคือ “Sittin’ in the Balcony” (Liberty 55056) ในปี 1957 หลังจากนั้นก็มีอัลบั้ม “Summertime Blues” (Liberty 55144) ออกมาตามด้วย “C’mon Everybody” (Liberty 55144) เป็นสไตล์ rock and roll ที่เร่าร้อนหนักหน่วงขึ้นกลายเป็นตำนาน และเป็นต้นกำเหนิดของ rock and roll รุ่นต่อๆมา

เขาได้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุรถยนต์ในปี 1960 ที่ประเทศอังกฤษ อัลบั้มของเขาในระยะหลังไม่เป็นที่นิยมและไม่ติด Chart เพลง(Top 40) มาเป็นเวลากว่าปี แม้ว่าเขาจะเป็นที่นิยมบนเวทีแสดงสด แต่สุดท้ายอัลบั้มของเขากลับมาโด่งดังเป็นที่นิยมเอาเมื่อตอนที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว มีอยู่อัลบั้มเดียวที่ Liberty ออกผลงานเขาก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงคือ Singin’ To My Baby, เป็นอัลบั้มที่น่าสะสมมาก แต่หลังจากเขาเสียชีวิตลงแล้ว ยังมีออกอีก 2 อัลบั้มคือ Eddie Cochran: 12 of his Biggest Hits และ Never to Be Forgotten,

Billy Ward and his Dominoes

ในปี 1957 Billy Ward and his Dominoes ได้เซ็นสัญญาอยู่ในสังกัดของ Liberty เป็นวงดนตรีที่เคยโด่งดังสร้างปรากฎการติดชาร์ต R&B ชนิดถล่มทลาย ติดอยู่อันดับหนึ่งเป็นเวลายาวนานถึง 14 สัปดาห์ และติดอยู่ใน Pop top 20. แต่ช่วงที่อยู่กับ Liberty เขาได้เปลี่ยนแนวเป็น pop orchestra อัลบั้มที่ฮิตในทันทีเป็น old pop standards ชุด “Star Dust” (Liberty 55071, #12 pop, 1957) และ “Deep Purple” (Liberty 55099, #20 pop, 1957) เป็น 2 อัลบั้มที่น่าสะสมรวมทั้งอัลบั้มที่เขาโด่งดังมาก่อนหน้านี้คือ “St. Therese of the Roses” (Decca 29933)





มาร์ติน เดนนี่

ในปีเดียวกันนี้ หัวหน้าวงดนตรีอีกผู้หนึ่งคือ Martin Denny ได้เข้ามาอยู่ในสังกัดของ Liberty ผลงานของเขาเป็นที่นิยมฮิตติดตลาดอย่างไม่คาดคิดมาก่อนคือ อัลบั้ม “Quiet Village” (Liberty 55162) in 1959, เป็นอัลบั้มที่มีการบันทึกเสียงธรรมชาติในป่า “jungle sound effects” ร่วมเข้าไปกับดนตรี เมื่อเป็นที่นิยม จึงมีการออกอัลบั้มต่อมาอีกมากมายเหมือนไม่รู้จักจบสิ้น สำหรับอัลบั้ม “Quiet Village” ซึ่งเดิมบันทึกเป็นแบบ mono ในปี1957 นั้น เมื่อเป็นที่นิยมสูง จึงได้มีการบันทึกใหม่เป็นสเตอริโอและ juke box stereo singles. หนึงในสมาชิกวง Denny’s band ชื่อ Julius Wechter ต่อมาได้มาตั้งวงของตนเองชื่อ Baja Marimba Band และได้สร้างผลงานติดตลาดให้กับ Herb Alpert’s A&M label ในปี 1960s.







วิลลี่ เนลสัน หรือ เทกซัส ดีเจย์

มีศิลปินอีกท่านหนึ่งในสังกัด Liberty ที่น่าสนใจ แต่ไม่ประสบความสำเร็จคือ Willie Nelson (Texas Deejey) เริ่มในปี 1961 ด้วยอัลบั้ม “The Part Where I Cry”/”Mr. Record Man” (Liberty 55386), Nelson ได้แต่งเพลงและออกอัลบั้มให้กับ Liberty จนถึงปี 1964. เพลงของเขาในยุคนี้เป็นแนวคันทรีธรรมดา (country standards) ซึ่งก็มีทั้งอัลบั้ม “Hello Walls,” “Crazy,” และ “Funny How Time Slips Away.” อัลบั้มของเขาไม่ติดตลาดจนกระทั่งในปี 1962 เมื่อออกอัลบั้ม “Willingly” (Liberty 55403) ร้องคู่กับ Shirley Collie ได้ติดอันดับ Country top-10. และมีบางอัลบั้มต่อมาเท่านั้นที่ฮิตติดตลาดบ้าง จากนั้นเขาก็ย้ายไปสังกัด RCA. ช่วงที่อยู่กับ RCA นี้ แม้ว่าจะมีอัลบั้มจำนวนพอสมควรที่เป็นที่นิยมบ้างในช่วงปลายปี 1960 แต่ก็ยังไม่โด่งดัง จนกระทั่งต่อมาในปี 1970 Nelson ได้กลายเป็นนักร้อง country ระดับ superstar

ในระหว่างปี 1959-61 เป็นช่วงที่ Liberty ต้องการหัวหน้าวงอย่างเช่น Si Zentner, Felix Slatkin, และ Spike Jones ซึ่งมีสไตล์เฉพาะตัว ไม่มีผู้เลียนแบบได้ และช่วงนี้ Liberty ได้ก้าวเข้าสู่แนวดนตรีพื้นเมือง (folk music scene) โดยได้เซ็นสัญญากับ Bud & Travis และ Jackie DeShannon ในเวลาต่อมา ซึ่งขณะนั้น Willie Nelson ก็เป็นหนึ่งในบรรดารายชื่อศิลปินคันทรีทั้งหลายรวมทั้ง Floyd Tillman, June Carter, Ralph Emery, Bob Wills and Tommy Duncan มีอัลบัมที่ติดตลาดเช่น “Come Softly to Me” (Liberty 55188), อัลบัมฮิตของ Troy Shondell “This Time” (Liberty 55353), อัลบั้ม “Chaos, Parts 1 & 2” ของ Arbogat & Ross (Liberty 55197)

บ๊อบบี้ วี

ศิลปินที่มีอัลบั้มฮิตติดตลาดอย่างสม่ำเสมอที่สุดของ Liberty ช่วงต้นปี 1960 คือ Bobby Vee (Robert Velline). ประวัติเขามาจากเมือง Fargo ในรัฐ North Dakota เข้าร่วมเป็นสมาชิกวงที่เรียกว่า Shadows (ประกอบไปด้วยพี่ชายและเพื่อนอีก 2 คน). มีอยู่ครั้งหนึ่งวงของเขาได้ขึ้นแสดงแทนวงของ Buddy Holly ซึ่งเสียชีวิตกระทันหันจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกเมื่อวันที่ 3 กพ. 1959 วงเขาจะต้องร้องเพลงของ Boddy Holy ในเย็นวันนั้น แต่ปรากฎว่าตรงกันข้ามเขาไม่ได้ร้องเพลงของ Buddy Holly เลย ซึ่งเหมือนเป็นการไม่ให้เกียรติแก่ผู้ล่วงลับ แต่ผู้ชมกลับชื่นชอบเขา จากนั้น Bobby Vee และวง the Shadows ได้บันทึกอัลบัมให้กับ Minneapolis-based Soma label, ต่อจากนั้นเพียงไม่กี่เดือนเพลง “Suzy Baby” (Soma 1110). ก็ติดอันดับหนึ่งของท้องถิ่น

ทาง Liberty ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากถึงกับขอซื้อ master อัลบั้มนั้นมาผลิตเป็น เวอร์ชั่น re-issue ออกจำหน่าย (Liberty 55208) ขณะเดียวกันก็ทำสัญญารับ Vee เข้าในสังกัดแต่ผู้เดียว โดยปราศจากวงของ the Shadows. อัลบัมของเขาได้ติดอันดับ top-10 national hit เป็นครั้งแรกในเพลง “Devil or Angel” (Liberty 55270) ในฤดูใบไม้ผลิปี 1960 และมีอัลบัมอีกมากมายต่อมาที่ติดตลาดจนถึงปลายปี 1960 ซึ่งมีมากกว่า 20 อัลบัม ในสังกัด Liberty

ในปี 1960 นี้ Liberty ยังได้เซ็นสัญญากับ Johnny Burnette. เดิมที Burnette เป็นสมาชิกของวง “Rock and Roll Trio” โดยร่วมกับน้องชาย Dorsey และ Paul Burlison. เขาเป็นนักร้องเพลงป๊อป ขณะเดียวกันก็แต่งเพลงมากมายหลายเพลงให้กับ Ricky Nelson จนฮิตติดตลาด และขณะเดียวกันก็แต่งเพลงซึ่งล้วนแล้วแต่ฮิตติดตลาดให้กับ Liberty เป็นจำนวนมากรวมทั้ง “Dreamin'” (Liberty 55258), “You’re Sixteen” (Liberty 55285), “Little Boy Sad” (Liberty 55298), “Big, Big World” (Liberty 55318) และ “God, Country and My Baby” (Liberty 55379). และออกอัลบั้มในนามส่วนตัวเขา 6 อัลบัมภายใต้เลเบล Liberty. ต่อมาเขาจมน้ำเสียชีวิตในปี 1964 จากการล่องเรือแล้วเกิดอุบัติเหตุเรือล่ม

ยังมีศิลปินอื่นในสังกัดของ Liberty ระหว่างต้นปี 1960 รวมทั้งดาราโทรทัศน์ Walter Brennan, Gene McDaniels, Gary Miles, Buddy Knox, Timi Yuro, Vikki Carr, Ernie Freeman, Ed Townsend, Nick Noble, Gary Paxton, Dick and Dee Dee, the Johnny Mann Singers, Van McCoy, Matt Monro, Billy Strange, the post-Buddy Holly Crickets, Eddie Heywood, the Mar-Kets, และ P.J. Proby. วง The Rivingtons ซี่งเล่น rock and roll ประเภทเฮฟวี่ rhythm และ blues มีอัลบัมติดตลาดคือ “Papa Oom Mow Mow” (Liberty 55427, 1962) และ “The Bird Is the Word” (Liberty 55553, 1963)

แจน และ ดีน

ในปี 1962, Liberty เซ็นสัญญากับ Jan และ Dean เข้ามาในสังกัด ในช่วงเปลี่ยนที่แนวดนตรีประเภท hot rod music กำลังเป็นที่นิยม อัลบั้มเขาได้ก้าวเข้ามาสู่ความนิยมในระยะเวลาช่วงสั้นๆโดยได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนคือวง Beach Boys. ในฤดูร้อนของปี 1963, อัลบัมเขาประสบความสำเร็จติดอันดับ 1 ด้วยเพลง “Surf City” (Liberty 55580) แต่งโดย Brian Wilson หัวหน้าวง Beach Boy ตามมาด้วยเพลงประเภท car song hits เช่น “Drag City” (Liberty 55641, #10), “Dead Man’s Curve” (Liberty 55672, #8) และ “The Little Old Lady From Pasadena” (Liberty 55704, #3). อัลบัมเขาประสบความสำเร็จเรื่อยมาจนถึงปี 1966. แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 19 เมษายน ปี 1966 เขาประสบอุบัติเหตุรถยนต์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนเป็นเหตุให้เขาจบอาชีพลง

ในปี 1963 รองประธานของ Liberty, นาย Al Bennett, ผู้ซึ่งรับผิดชอบทางด้านธุรกิจ และเป็นผู้มีส่วนอย่างมากในความสำเร็จของบริษัท ได้ถูกทาบทามขอซื้อกิจการจากบริษัทอีเล็คทรอนิคแห่งหนึ่งชื่อ Avnet นาย Bennett จึงได้ปรึกษากับ Simon Waronker ซึ่งขณะนั้นสุขภาพไม่แข็งแรงแล้ว ทั้งคู่จึงตัดสินใจตกลงขายให้แก่ บริษัท Avnet ในราคา 12 ล้านเหรียญ

จังหวะนี้เองนาย Simon Waronker จึงรับเงินสดและจากบริษัทไป ปล่อยให้นาย Bennett เป็นผู้ดูแลองค์กรต่อไป เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที่ Liberty เริ่มขาดทุนทั้งๆที่ไม่น่าจะเป็น และหลังจากที่ดำเนินการต่อมาอีก 2 ปี ด้วยตัวแดงทางบัญชี Avnet ทนไม่ไหวต้องการถอนตัว (ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น Avnet ยังได้ซื้อกิจการอีกแห่งหนึ่งคือ Los Angeles label, ค่าย Imperial ซึ่งเขาจะได้ Aladdin และ Minit มาครอบครองด้วย) ในที่สุด Avnet ก็ยอมขายกิจการไปทั้งหมดรวมทั้ง Imperial, Dolton, Aladdin และ Minit กลับคืนไปให้แก่ Al Bennett ในราคาแค่ 8 ล้านเหรียญเท่านั้น

ในปี 1965, Liberty รับศิลปินเพิ่มเติม โดยเฉพาะที่มีพรสวรรค์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญต่อไปในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เขาได้เซ็นสัญญากับลูกชายของดาวตลก Jerry Lewis ชื่อว่า Gary Lewis พร้อมคณะวง the Playboys

ในปี 1966 ได้สร้างแบรนด์ใหม่ใช้ชื่อว่า Sunset label ใช้สำหรับแผ่นเสียงที่ออกวางจำหน่ายในราคาประหยัดหรือราคาถูกนั่นเอง และใช้สำหรับอัลบัมที่ทำซ้ำอัลบัมเดิมของ Liberty และ Imperial แต่ต่อมาก็ได้ปิดตัวลงเมื่อต้นปี 1970

ในปี 1968 บริษัทประกันภัย Transamerica Corporation ได้ซื้อกิจการ Liberty ไปในราคา 38 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไปควบรวมกับบริษัทแผ่นเสียงอีกแห่งหนึ่งคือ United Artists เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นซ้ำอีกเหมือนสมัยบริษัท Avnet โดย Transamerica ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในวงการห้องอัดเสียง และ Al Bennett ก็ถูกให้ออกไปหลังจากดำเนินการมา 6 เดือน ภาวะการณ์บริษัทตกต่ำลงไปเรื่อยๆจนถึงปี 1972 ชื่อ Liberty ก็ได้หายสาบสูญไปในที่สุด

Transamerica ได้เปลี่ยนแปลงให้อัลบั้ม และซิงเกิลใหม่ๆไปใช้ชื่อ United Artists label

ในปี 1978 ลิขสิทธิ์เลเบลของ United Artists รวมทั้งมาสเตอร์ของ Liberty ถูกขายให้กับ Artie Mogull และ Jerry Rubinstein. โดยเขาทั้งสองได้ยืมเงินลงทุนก้อนนี้มาจาก EMI ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Capitol label. แต่ในที่สุด Mogull และ Rubinstein ก็ไม่สามารถจะดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จได้ จนกระทั่งเดือน กุมภาพันธุ์ ปี 1979 นี่เอง EMI/Capitol จึงได้เข้าครอบครองเป็นเจ้าของ UA, Liberty, Imperial, Minit, Sunset, etc. ตั้งแต่นั้นมา

EMI/Capitol พยายามจะฟื้นฟูชื่อ Liberty อีกหลายครั้ง โดยในปลายปี 1970 ได้กำหนดใช้เลเบลของอัลบัมที่ทำซ้ำหรือ reissue ทั้งหลายให้เป็นชื่อของ Liberty และ Imperial

ในปี 1980 ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ตรา Capitol เป็น label หลัก และหลังจากที่ Kenny Rogers ย้ายจาก EMI ไปอยู่ RCA ในปี 1983 แล้ว ชื่อLiberty จึงได้หายไป

ในปี 1992 EMI ประกาศว่าได้เปลี่ยนชื่อของเลเบล Capitol-Nashville division เป็นชื่อใหม่ว่า… Liberty Records! ในยุคนี้มี Garth Brooks เป็นศิลปินคนสำคัญในปี 1990 ที่ทำให้ชื่อ Liberty ใหม่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อีก

รูปแบบฉลากของ Liberty

โลโก้ของ Liberty Record รูปแบบต่างๆ

โลโก้ และ รูปแบบเลเบลของ Liberty มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายหน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนเจ้าของ สำหรับของดั้งเดิมที่ยังคงเป็นของ Waronker และ Bennett นั้น โลโกจะเป็นรูปภาพวาดท่อนบนของเทพีสันติภาพ และมีคำว่า “Liberty” อยู่ใต้รูปโลโกดังกล่าว สำหรับช่วงเวลาที่ขายไปอยู่ในครอบครองของ Avnet รูปโลโกได้เปลี่ยนไปอยู้ในกรอบสีทอง ติดคาบอยู่ที่แถบสีรุ้งแนวตั้งซ้ายมือ จนเมื่อ Avnet ขายกลับคืนให้กับ Bennett ฉลากก็ถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งโดยมีตัวโลโก อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม(มุมกรอบมีลักษณะมน) จนสุดท้ายเมื่อขายไปให้กับบริษัท TransAmerica มุมกรอบลักษณะมนที่อยู่รอบโลโก ได้ถูกเปลี่ยนเป็นมุมฉากแทน

เลเบลแรก ของ Liberty Records

เลเบลแรกของ Liberty จะมีสีเขียวอมน้ำเงิน ตัวพิมพ์สีเงินคำว่า “LIBERTY” อยู่ในตำแหน่งด้านบนของฉลากเหนือรูกลางแผ่นเสียงพร้อมด้วยภาพวาดเทพีสันติภาพอยู่เหนือข้อความ ส่วนตำแหน่งด้านล่างของฉลากจะมีข้อความ “LONG PLAYING MICROGROOVE” แต่ถ้าเป็นแผ่นที่อัดมาในระบบสเตอริโอ ฉลากจะเป็นสีดำ ลายเส้นสีเงิน รูปกราฟฟิกคล้ายกัน นอกจากข้อความด้านใต้ของฉลากจะมีข้อความเปลี่ยนไปเป็น “LONG PLAYING STEREOPHONIC” แทน และยังมีอักษรคำว่า “STEREO” อยู่ใต้โลโกอีกทีแบบโลโก้นี้ใช้มาตั้งแต่เริ่มแรกตั้งบริษัทมาจนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 1960 หมายเลขอัลบั้มอยู่ที่ลำดับประมาณ LRP- 3140/LST-7140. (Series LRP-3000 คือ mono ,LST-7000 คือ Stereo สำหรับอัลบั้มชุดเดียวกันที่มีทั้ง mono และ stereo หมายเลขที่ตามมาจะเหมือนกัน เพื่อง่ายในการแยกแยะ)

เลเบลส่งเสริมการขาย ของ Liberty Records

ฉลากของแผ่นที่ทำไว้เพื่อส่งเสีมการขาย (promotional issue) ถ้าเป็นระบบ mono จะมีฉลากสีขาวตัวอักษรและลายเส้นสีดำ ถ้าเป็นสเตอริโอสีฉลากจะออกฟ้า ลายเส้นสีดำเช่นกัน ส่วนรูปกราฟฟิคก็จะเหมือนกัน

ในระยะเริ่มแรกนั้นอัลบัมที่บันทึกออกมาจะเป็นระบบ mono หมด เริ่มตั้งแต่หมายเลข LRP-3000 จนกระทั่งอีกหลายปีต่อมาเมื่อมีระบบใหม่เป็นสเตอริโอออกมาในกลางปี 1958, Liberty จึงเริ่มต้นใช้หมายเลขใหม่เริ่มจาก LST-7000





เลเบล สมัยที่ 2

ฉลากสมัยที่ 2 ของ Liberty จะมีพื้นเป็นสีดำตัวหนังสือสีเงิน และมีข้อความ “LIBERTY” สีขาวอยู่ในกรอบสีทอง ซึ่งวางอยู่ในตำแหน่งด้านซ้ายของรูกลางแผ่นเสียง และมีแถบพื้นสีรุ้งอยู่ด้านซ้ายขอบฉลาก (เป็นแนวตั้งขนาดกว้าง 1 ใน 4 ของฉลาก) และมีข้อความ “LIBERTY RECORDS, INC. LOS ANGELES 28, CALIFORNIA” อยู่ในแนวตั้งประชิดกับแนวแถบสีรุ้ง ฉลากนี้ได้ใช้มาจนถึงไตรมาสแรกของปี 1966, หมายเลขอัลบั้มอยู่ราวๆ LRP-3415, LST-7415. หลังจากนั้น Liberty จึงได้เปลี่ยนโลโกแบบใหม่มาใช้ในอัลบั้มซึ่งเริ่มจากหมายเลขที่ LRP-3417/LST-7417 เป็นต้นไป แต่ก็ยังมีบางอัลบั้มที่ออกมาหลังจากนี้ยังคงใช้โลโกเดิมอยู่ เนื่องมาจากอยู่ช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลงและยังเหลือฉลากเดิมที่ยังใช้ไม่หมด

เลเบลส่งเสริมการขาย ยุคที่ 2

สำหรับฉลากที่ใช้กับแผ่นสำหรับส่งสริมการขายหรือ promotional issues ในยุคที่ 2 นี้ยังคงเป็นพื้นสีขาวพิมพ์ด้วยสีดำ รูปกราฟฟิคเหมือนเดิม ส่วนที่เป็นพื้นสีรุ้งด้านซ้าย ได้ย้ายมาอยู่ในแนวนอนและเป็นสีขาว-ดำ ในเวลาต่อมาพื้นสีขาวได้ถูกเปลี่ยนเป็นสีครีมแทน





เลเบล ยุคที่ 3

ฉลากในยุคที่ 3 คล้ายกับยุคที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงบ้างโดยมีรูปโลโก้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวโดยมีมุมกรอบลักษณะมน อยู่ในตำแหน่งซ้ายมือของรูกลางแผ่นเสียง และมีแถบพื้นสีรุ้งเป็นแนวตั้งจากขอบด้านซ้ายมือกินบริเวณ ¼ ของพื้นฉลาก ฉลากในยุคที่ 3 นี้ได้มีการใช้มาจนถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 1969 ประมาณลำดับอัลบัมที่ LST-7620. ส่วนฉลากที่ใช้กับแผ่นส่งเสริมการขาย (Promotional issues) นั้นยังคงเป็นสีครีมพิมพ์ด้วยอักษรสีดำ


เลเบล ยุคที่ 4

ฉลากในยุคที่ 4 ก็เหมือนกับยุคที่ 3 เกือบทุกประการเพียงแต่ย้ายข้อความระบุบริษัทผู้ผลิต ซึ่งเดิมอยู่ในแนวตั้งประชิดกับแถบสีรุ้งมาอยู่ในแนวนอน ในตำแหน่งขอบด้านล่างของฉลาก ด้วยข้อความใหม่ดังนี้ “LIBERTY/UA INC. LOS ANGELES, CALIFORNIA”. และกรอบสี่เหลี่ยมของโลโกจะเป็นมุมฉาก ไม่มนเหมือนเดิม ฉลากรุ่นนี้ใช้ในปี1970 และปี 1971.







เลเบลพิเศษ Premier Series

Liberty ยังมีฉลากที่ออกมาใช้สำหรับแผ่นชนิดพิเศษ (Premier Series) ที่มีคุณภาพสูง สีพื้นฉลากเป็นสีทอง ตัวหนังสือและลายเส้นสีดำ แผ่นในซีรี่นี้จะมีปกนอกที่แข็งลักษณะเป็น Fold-open record jacket มีการพิถีพิถันออกอัลบัมให้กับ ศิลปินที่มีพรสวรรค์พิเศษ เช่น Felix Slatkin, Bessie Griffin, Richard Marino, Si Zentner และ Tommy Garrett ได้ออกอัลบัมชุดพิเศษนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “Poly 120 Sound.”

แผ่นในชุด Premier Series นี้ใช้หมายเลข LMM-12000 สำหรับ mono และ LSS-14000 สำหรับที่บันทึกมาแบบสเตอริโอ.







เลเบล United Artits

ในปี 1970 United Artists ซึ่งได้มีอัลบัมออกจำหน่ายเริ่มด้วยหมายเลขซี่รี่ UA-LA000 ได้ออกอัลบัมมากว่า 1000 อัลบัม จนถึงปี 1980 มีอัลบั้มที่ออกจำหน่ายไปแล้วจนถึงอัลบัมที่ประมาณ 1060 ชื่อของ United Artists ก็ตกต่ำ จนต้องหันกลับมาใช้ฉลาก Liberty แทน อัลบัมเก่าๆที่เคยบันทึกภายใต้ชื่อ United Artists ถูกนำมาทำซ้ำใหม่(reissued) โดยใช้ฉลาก Liberty ด้วยหมายเลขอัลบัมเดียวกันกับที่ใช้ในฉลาก United Artists ลักษณะรูปแบบฉลากจะมีสีพื้นไล่ Shade สีเทา มีข้อความ Liberty เป็นอักษรสีต่างๆเริ่มจากแดงจนถึงสีเขียว พร้อมโลโกเทพีสันติภาพในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆด้านขวามือ


บทความนี้เขียนโดย ลุงพง จากเว็บไทยแกรโมโฟน ไม่หวงห้ามในการแชร์ เพียงแต่กรุณาให้เครดิตต้นทาง จักขอบคุณยิ่ง