วิวัฒนาการเครื่องเล่นแผ่นเสียงและแผ่นเสียง โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

กว่าที่เราจะได้ฟังเพลงจากชุดเครื่องเสียงสเตอริโอราคาแพง จากเครื่องเล่นซีดี จากเครื่องเล่นแผ่นเสียง หรือแม้แต่เครื่องเล่น MP 3 อย่างทุกวันนี้ ทราบไหมว่ามันใช้เวลาพัฒนานานและต้องใช้มันสมองขนาดไหนกว่าเราจะได้ฟังอย่างมีความสุขเช่นนี้ เครื่องเล่นถูกคิดค้นขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี 1857 แล้วถูกพัฒนามาเรื่อยๆจนเป็นเครื่องเล่นแบบไขลานที่เรียกว่า แกรโมโฟน ในปี 1896 ที่ใช้เล่นกับแผ่นครั่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ซึ่งทั้งหนัก แข็งและแตกหักง่าย แต่มันก็เป็นสิ่งเดียวที่สามารถทำให้ฟังเพลงได้ หลักการง่ายๆ ของแผ่นเสียง  และเครื่องเล่นก็คือ แผ่นเสียงมีร่องขนาดเล็กจิ๋วเป็นจำนวนมาก ในร่องเหล่านี้มีปุ่มขรุขระมากมายเพื่อให้เข็มจากเครื่องเล่นแผ่นวิ่งผ่าน เข็มเปรียบเสมือนตัวรับแรงสั่นสะเทือนเวลาวิ่งไปสัมผัสกับปุ่มในร่องจนเกิดเป็นคลื่นเสียงส่งผ่านลำโพงที่มีลักษณ์คล้ายปากแตรออกมา ซึ่งถ้าฟังในสมัยนี้ เสียงค่อนข้างทุ้มต่ำ ไร้มิติ เป็นแบบโมโนที่ฟังแล้วอุดอู้ แต่มันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของยุคนั้น อีกทั้งเล่นด้วยสปีด 78 RPM (รอบต่อนาที) ซึ่งเร็วมาก เวลาลานไขไว้ใกล้หมด เสียงเพลงก็จะค่อยๆ อืดลงเหมือนเทปยืด เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เป็นต้นกำเนิดหรือบรรพบุรุษของเครื่องเล่นในปัจจุบันถูกผลิตขึ้นในปี 1930 ปีเดียวกับที่แผ่นเสียงที่ผลิตด้วยพลาสติกไวนิลที่ยืดหยุ่นได้เล็กน้อย น้ำหนักเบา และกระด้างน้อยกว่าแผ่นครั่งได้ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของแผ่นลองเพลย์ (จะเรียก LP หรือแผ่นอัลบัมก็ได้) เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว…

Continue reading

“แผ่นเสียงออริจินัล (Original)” กับ “แผ่นรีอิชชู (Re-Issue)” เล่นอะไรดี? โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

Add @Sanook.com อนุสรณ์ สถิรรัตน์นักเขียนประจำบก.นิตยสาร Music Express ตั้งแต่ปี 2527-2537 บก.บห.นิตยสาร Crossroads ตั้งแต่ปี 2537-2544 บก.บห.นิตยสาร Sound และ Metal Mag ตั้งแต่ปี 2545-2548 ปัจจุบันเป็นเจ้าของร้านขายแผ่นเสียง Records Hunter เปิดกิจการตั้งแต่ 2552-ปัจจุบัน แผ่นเสียงแบบรีอิชชู (Re-Issue ต่อไปขออนุญาตเรียกย่อว่า แผ่นรี) ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และมีนายทุนผลิตออกมาตอบสนองความต้องการของคนฟังเพลงไม่ขนาดสาย กระแสคนเล่นแผ่นเสียงยังไม่มีเค้าว่าจะซาลงง่ายๆ ขณะที่คนฟังเทปคาสเซ็ตต์ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่เทปไม่สามารถออกรีอิชชูได้อีกแล้ว เว้นแต่จะแอบทำแบบผิดกฎหมายเหมือนสมัยเทปผีในอดีต การฟังเพลงในอดีตในรูปแบบแผ่นเสียงจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงจากยุคอนาล็อก สำรวจตลาดแผ่นเสียงรี ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านเป็นช่วงน้ำขึ้นของตลาดแผ่นเสียงรีอย่างแท้จริง ช่วงที่ว่านี้มีคนหันมาฟังแผ่นเสียงมากขึ้น เรียกได้ว่ามีนักเล่นแผ่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง แต่กว่าครึ่งของจำนวนที่ว่านี้ก็เลิกเล่นไปในระยะเวลาอันสั้น สืบเนื่องมาจากสู้ราคาไม่ไหว อีกทั้งเจอแผ่นรีที่คุณภาพเสียงไม่ดีอย่างที่ฟังจากเทปหรือซีดีในอดีต ตลาดแผ่นเสียงรีบ้านเราเปิดตัวแบบไม่มีทิศทาง หลายอย่างยังไม่พร้อม ไม่เอื้ออำนวย แต่ก็ยังทำออกมาขาย ผลก็เลยผิดคาดและผิดหวังอย่างมากครับ…

Continue reading

ครั้งแรกใน 2 ทศวรรษ! ยอดขายแผ่นเสียงแซงหน้าแผ่นซีดีในสหรัฐฯ เหตุกระแสหวนอดีตแรงเกินคาด

ตอนนี้กระแสโหยหาอดีตมาแรงอย่างคาดไม่ถึง ทำให้อุตสาหกรรมเพลงในสหรัฐอเมริกาเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง นั่นคือยอดขายแผ่นเสียง (Vinyl) ในปี 2563 มีมากกว่าแผ่นซีดี (CD) แล้ว ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษ เรื่องในอดีตกลายเป็นที่สนใจ Recording Industry Association of America เปิดเผยผลสำรวจอุตสาหกรรมเพลงในสหรัฐอเมริกาช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ว่า ยอดขายแผ่นเสียงคิดเป็นมูลค่า 232.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนแผ่นซีดีคิดเป็นมูลค่า 129.9 ล้านดอลลาร์ ลดลง 48% ถือเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปี เพราะช่วงเวลานั้นเทปคาสเซ็ท และแผ่นซีดี เข้ามามีบทบาทกับอุตสาหกรรมเพลงมากขึ้น และทำให้แผ่นเสียงแทบไม่มีที่ยืนในตลาดนี้ จนกระทั่งปี 2543 แผ่นเสียงเริ่มกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะกระแสหวนหาอดีต จนกระทั่งครึ่งแรกของปี 2563 แซงหน้ายอดขายแผ่นซีดีได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่จับต้องได้ในอุตสาหกรรมเพลง เช่นแผ่นเสียง, แผ่นซีดี หรือเทปคาสเซ็ท…

Continue reading

จริงหรือ ? ที่การกลับมาของแผ่นเสียง อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สำนักข่าว The Guardian ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการกลับมาได้รับความนิยมของแผ่นเสียงว่าอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยรายงานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากโรงงานผลิตแผ่นเสียงในสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วนานนับศตวรรษ ยังคงใช้เครื่องจักรที่มีอายุเก่าแก่นานนับสิบปี ก่อนที่จะเชื่อมโยงมายังโรงงานผลิตวัตถุดิบในประเทศไทย ก่อนที่เราจะไปดูรายละเอียดของเนื้อหารายงานดังกล่าว มาดูที่สถานการณ์ความเป็นไปของวงการแผ่นเสียงหรือแผ่นไวนิลกันเสียก่อน ปัจจุบันในขณะที่รายได้จากธุรกิจมิวสิกสตรีมมิงนำหน้าช่องทางการเสพดนตรีอื่น ๆ แต่ตลาดของแผ่นเสียงก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลานี้ชาวอเมริกันได้ใช้เงินไปกับแผ่นเสียงมากพอ ๆ กับการซื้อแผ่นซีดี ขณะที่ยอดขายแผ่นเสียงในสหราชอาณาจักรมียอดสูงถึง 4 ล้าน 3 แสนแผ่นในปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นปีที่ 12 ติดต่อกันของยอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากคุณเป็นหนึ่งในผู้คนหลายล้านคนที่ยอมรับการกลับมาอีกครั้งของแผ่นเสียง มันก็คุ้มค่าที่จะได้รู้ว่าแผ่นเสียงเหล่านั้นมาจากไหนและผลิตกันอย่างไร ภายในโรงงานผลิตแผ่นเสียงจะมีตู้บรรจุที่เรียกว่า ฮ็อปเปอร์ ประจำแต่ละสถานีที่ทำการปั้มแผ่น ในนั้นเต็มไปด้วยเม็ดโพลีเมอร์ที่มีลักษณะคล้ายถั่วเลนทิล บรรจุไว้ตรงช่องทางลงในเครื่องจักรให้ความร้อน และหลอมรวมเพื่อสร้างก้อนวัตถุดิบที่มีลักษณะคล้ายกับลูกพัค (puck) ในกีฬาฮอกกี้ และลูกสควอช สำหรับเตรียมใช้ในการผลิตแผ่นเสียง ในสต็อกสำหรับเก็บเม็ดพลาสติก ทางผู้สื่อข่าวได้พบกับกล่องกระดาษแข็งที่ว่างเปล่า ซึ่งมีขนาดใหญ่ราวกับตู้เย็น บนกล่องถูกทำเครื่องหมายด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดใหญ่ว่า “สารประกอบไวนิล” และ “ผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย” เม็ดไวนิลเหล่านี้ถูกใช้ในกระบวนการผลิตเพียงไม่กี่ครั้ง แต่เดิมวัตถุดิบเหล่านี้ถูกผลิตมากที่สุดโดยบริษัทปิโตรเคมีซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐฯ จนกระทั่งตลาดแผ่นเสียงซบเซาไปหลังจากปี 1990 ปัจจุบันวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแผ่นเสียงในสหรัฐอเมริกาล้วนแล้วมาจากต่างประเทศ มากกว่าครึ่งหนึ่งของโพลีไวนิลคลอไรด์…

Continue reading