เว็บบอร์ด

Please or Register to create posts and topics.

ประวัติ และ วิธีดูเลเบลแผ่นเสียง Columbia Record โดย ลุงพง

แผ่นเสียง Columbia Record

ประวัติความเป็นมา Columbia Record

Columbia เป็นค่ายแผ่นเสียงเก่าแก่มีประวัติอันยาวนาน ย้อนไปตั้งแต่ปี คศ. 1888 ไม่สามารถที่จะติดตามและเขียนได้อย่างสมบูรณ์ในชั่วชีวิตทีเดียว เอาเฉพาะประวัติโดยย่อดังนี้ บริษัทดั้งเดิมของ Columbia เริ่มมาจากเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องเล่นแผ่นเสียง Edison phonographs และ phonograph cylinders (กระบอกเสียง ซึ่งต่อมาพัฒนากลายเป็นแผ่นเสียง) อยู่ที่ Washington DC, Maryland และ Delaware จากการที่ไปรับทำกระบอกเสียงตามสั่งของลูกค้าท้องถิ่นโดย Columbia ผลิตจำหน่ายเองด้วย สุดท้ายจึงถูก Edison และ North American Phonograph Company ตัดออกจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายในปี 1893 Columbia จึงต้องผลิตจำหน่ายเองหลังจากนั้น

นอกจากจะจำหน่ายเครื่องเล่นแผ่นเสียงและกระบอกเสียงดั้งเดิมแล้ว ในปี 1901 Columbia เริ่มจำหน่ายแผ่นเสียงรุ่นใหม่ที่เป็นจาน (Disc records) ส่วนด้านการตลาดนั้นเป็นเวลานับ 10 ปี ที่ Columbia ต้องแข่งขันกับ Edison Phonograph Company และแผ่นเสียงของ Victor Talking Machine Company จนกระทั่งในปี 1908 Columbia สามารถผลิตแผ่นเสียงชนิดใหม่ที่บันทึกได้ 2 ด้าน "Double Sided" และผลิตได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ออกสู่ตลาด. 
ในปี 1912 เดือน กรกฎาคม Columbia ตัดสินใจมุ่งมั่นทำตลาดเฉพาะแผ่นเสียง (Disc records)อย่างเดียว โดยเลิกจำหน่ายกระบอกเสียง (Cylinder records) และเครื่องเล่นสำหรับกระบอกเสียงแม้ว่าจะยังคงมีการผลิตจำหน่ายหลังร้านต่อไปอีก 1-2 ปี 
ในยุคนี้มีแผ่นอัลบัมของศิลปิน Bessie Smith ผลิตในปี 1925 ซึ่งมีรูปแบบฉลากที่มีหลายเป็นครั้งแรกและยังคงเป็นที่นิยมเก็บสะสมมาจนทุกวันนี้ (รูปนำบทความ)

ในปี 1925 เริ่มนำระบบเครื่องบันทึกเสียงแบบใหม่ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Western Electric มาใช้ในการผลิตแผ่นเสียง เป็นผลให้คุณภาพแผ่นดีขึ้น และในเดือนตุลาคม ปี 1928 ก็เข้าครอบครอง Okeh records ผู้บริหารของ Columbia คือ Frank Buckley Walker เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกบันทึกเพลงลูกทุ่ง country music หรือ "hillbilly" เป็นครั้งแรกที่ Johnson City, Tennessee มีศิลปินเช่น Clarence Green และศิลปินที่กลายเป็นตำนานคือ fiddler and entertainer, Charlie Bowman. 
บริษัท Columbia Phonograph ในอเมริกามีการบริหารงานแยกเป็นอิสระจากบริษัทในอังกฤษและประเทศอื่น กระทั่งต่อมาได้มีการจัดตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศอังกฤษกลายเป็น The Columbia International Ltd เริ่มมาตั้งแต่ปี 1900 และซื้อ Parlophone ของ Holland เข้ามาอยู่ในเครือ ปี 1925 และการรวมตัวนี้มีผลกดดันให้ Columbia Gramophone Company ในอังกฤษ ต้องรวมตัวกับอีกบริษัทคือ Gramophone Company เป็นบริษัทใหม่ชื่อว่า Electric & Musical Industries Ltd. (EMI) ในปี 1939 นอกจากนั้นยังกดดันให้ขายกิจการของ Columbia ในอเมริกา เนื่องจากเกิดความไม่ไว้ใจที่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับ American Record Corporation (ARC)

CBS หรือ Columbia Broadcasting System

ในเวลาต่อมา ARC, และ Columbia ในอเมริกาสุดท้ายก็ถูกซื้อกิจการโดย Columbia Broadcasting System (CBS) ในปี 1938 เป็นเงิน US$700,000. ซึ่ง CBS ก็คือบริษัทที่กำเนิดขึ้นโดย Columbia Records เป็นผู้มีส่วนร่วมก่อตั้งขึ้นมาด้วย ฉะนั้นจากนี้ไปจนถึงปลายปี 1950 เครื่องหมายการค้าที่ใช้ในฉลากจึงมีทั้งรูปโลโกตัวโน้ทดนตรีพิมพ์อยู่ด้านซ้าย และรูปโลโก้ CBS microphone อยู่ที่ด้านขวา

ในปี 1948 Columbia เปิดตัวแนะนำแผ่น Long Playing microgroove (LP บางครั้งใช้เครื่องหมาย Lp) ระบบความเร็ว 33⅓ รอบต่อนาที ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นมาตรฐานของแผ่นเสียงกว่าครึ่งศตวรรษ 
ในปี 1951, Columbia USA ได้เกิดปัญหาในการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายกับ EMI เป็นเวลานานนับสิบปี จนหันไปทำสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายกับ Philips Records แทน ส่วน EMI ยังคงจำหน่าย เลเบลของ Okeh (ซึ่งต่อมากลายเป็น Epic) ต่อไปอีกหลายปีจนถึงปี 1960

Columbia เป็นบริษัทแผ่นเสียงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปี 1950 เมื่อได้ว่าจ้าง Mitch Miller ให้ออกจากบริษัท Mercury records มาร่วมงาน Miller รีบจัดการทำสัญญากับศิลปินดาราใหญ่ของ Mercury คือ Frankie Laine และค้นพบศิลปินที่กลายเป็นดารานานนับสิบปีต่อมาอีกมากมายรวมทั้ง Tony Bennett, Guy Mitchell, Johnnie Ray, The Four Lads, Rosemary Clooney และ Johnny Mathis

  • ในปี 1953 CBS จัดตั้งบริษัทซึ่งเปรียบเสมือนเป็นน้องสาวของ Columbia คือ Epic Records.
  • ในปี 1955, Columbia USA แนะนำโลโกใหม่ เป็นรูปตามีขาเรียกว่า Walking Eye ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทน Stylus ของหัวเข็ม (คือรูปขา) และแทนแผ่นเสียง (คือรูปตา) โลโก้นี้มีการปรับปรุงอีกในปี 1960 จนกลายเป็นโลโกที่คุ้นตาและยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้
  • ในปี 1961 CBS ได้สิ้นสุดความสัมพันธ์กับ Philips Records และสร้างเป็นองค์กรของตนเองในระดับนานาชาติชื่อ CBS Records จัดจำหน่ายแผ่นเสียงของ Columbia เองนอกอาณาจักรของอเมริกาและแคนาดาในเลเบลของ CBS และเมื่อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายแผ่นเสียงเลเบล Epic โดย EMI ได้จบสิ้นลง CBS Records ก็ได้เข้ามาจัดจำหน่ายแทนโดยใช้เลเบลของ Epic records
  • ในปี 1983 CBS Records สร้างสถิติการผลิตและจำหน่ายแผ่นเสียงสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 26 ล้านแผ่น ในอัลบัมของ The Eagles Their Greatest Hits 1971-1975
  • ในปี 1988 CBS Records ก็ถูก Sony เข้าครอบครอง และมีการจัดตั้งองค์กรใหม่ภายใต้บริษัทแม่ ชื่อว่า Sony Music Entertainment ในปี 1991
  • ต่อมาในปี 2004, Sony ได้รวมแผนกดนตรีของตนเข้ากับ Bertelsmann AG's BMG เป็นบริษัทใหม่ชื่อว่า Sony BMG และยังคงจัดจำหน่ายแผ่นเสียงในนาม Columbia Records และโลโก Walking Eye ในตลาดทั่วโลกยกเว้นในญี่ปุ่น (ใช้ชื่อว่า Sony Records ซึ่ง Sony เป็นเจ้าของ 100%) ในญี่ปุ่นเอง เครื่องหมายการค้ารูปตัวโน้ท (Magic Notes) กลับเป็นลิขสิทธิ์ครอบครองโดย Nippon Columbia ซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า Columbia Music Entertainment.

Columbia Label Discography

เฉพาะเลเบลแผ่นที่มีผลิตออกมาจำหน่ายเท่าที่ติดตามได้เท่านั้น

ย้อนขึ้นไปตั้งแต่ปี 1948 Columbia ออกอัลบัมแผ่นชนิด 10 นิ้ว สังเกตุที่ฉลากจะมีอักษรว่า Lp (ตัวพิมพ์ใหญ่ "L" ตัวพิมพ์เล็ก "p") แทนคำว่า "long playing" record และใช้เป็นหมายเลขรหัสของเนื้อแผ่น(Matrix number) ดังเช่น "Lp" 360/"Lp" 361 (อัลบัม Dinah Shore Sings หมายเลขแผ่น Columbia CL-6004) ต่อมาเมื่อเริ่มออกเป็นแผ่น 12 นิ้ว ก็จะเรียกว่า "extra long playing" ด้วยหมายเลข Matrix number ในแบบ X"Lp" 8463, เป็นต้น สำหรับแผ่น 10 นิ้วจะมีหมายเลขแผ่นอยู่ 2 รูปแบบ คือ CL-6000 series และ CL-2500 series. สำหรับแผ่นชนิด 12 นิ้ว เท่าที่พบจะเริ่มจากหมายเลขแผ่นที่ GL 500 และเรียงเรื่อยๆ จนถึงต้นปี 1970 จึงเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบปัจจุบันในที่สุด

และนับจากเริ่มต้นที่ออกอัลบัมแผ่น 12 นิ้วมาตั้งแต่ปี 1951 ฉลาก หรือ เลเบล จะมีพื้น สีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน มีหมายเลขแผ่นนำหน้าด้วยอักษร GL ตั้งแต่ต้นจนถึงกลางปี 1953 จะอยู่ที่หมายเลข GL 525 จากนั้นก็เปลียนสีฉลากเป็นสีแดงที่คุ้นเคยกัน และอักษรนำหน้าของหมายเลขแผ่นกลายเป็น CL แทน นอกจากนั้นยังออก Reissues ของอัลบั้ม GL series เดิมโดยใช้ฉลากสีแดงและอักษรนำหน้า CL แทนฉลากเดิมเช่นกัน แผ่นเสียง 12 นิ้วของ Columbia ตั้งราคาขายที่ $3.98 ในอัลบัมเดียวกันนี้ยังออกเป็นแผ่น 7 นิ้ว (EP sets) โดยใช้วัสดุที่ผลิตและรูปปกเหมือนกัน ขายในราคา $2.98. 

และให้สังเกตว่าแผ่น long-play ระยะต้นๆที่ออกมาหลายๆอัลบัมเป็นการทำขึ้นโดยใช้ master ที่ใช้สำหรับแผ่นชนิด 78 rpm ในยุคปี '30s และ '40s. 
ตัวอย่างแผ่น 12 นิ้วในยุคแรกปี 1951-1954 

GL 500 - Benny Goodman: Combos - Benny Goodman Quintet, Sextet, & Septet [9-7-51] 
GL 501 - Benny Goodman: Bands - Benny Goodman [9-7-51] 
GL 502 - John Kirby and His Orchestra - John Kirby [10-19-51] 
GL 503 - The Bessie Smith Story, Volume I - Bessie Smith [11-16-51] 
GL 504 - The Bessie Smith Story, Volume II - Bessie Smith [11-16-51] 
GL 505 - The Bessie Smith Story, Volume III - Bessie Smith [11-16-51] 
GL 506 - The Bessie Smith Story, Volume IV - Bessie Smith [11-16-51] 
GL 507 - The Bix Biederbecke Story, Volume I: Bix and His Gang - Bix Biederbecke [3-21-52] 
GL 508 - The Bix Biederbecke Story, Volume II: Bix and Tram - Bix Biederbecke [3-21-52] 
GL 509 - The Bix Biederbecke Story, Volume III: Whiteman Days - Bix Biederbecke [3-21-52] 
GL 510 - Quiet Music, Volume I: Serenade - Columbia Salon Orchestra [5-9-52] 
GL 511 - Quiet Music, Volume II: Romance - Various Artists [5-9-52] 
GL 512 - Quiet Music, Volume III - Various Artists [5-9-52] 
GL 513 - Quiet Music, Volume IV: Nocturne - Various Artists [5-9-52] 
GL 514 - Quiet Music, Volume V: A Marek Weber Musicale - Marek Weber [5-9-52] 
GL 515 - Quiet Music, Volume VI: Relaxing with Cugat - Xavier Cugat [5-9-52] 
GL 516 - Benny Goodman Trio Plays for the Fletcher Henderson Fund - Benny Goodman Trio [7-18-52] 
GL 517 - Quiet Music, Volume VII: Moonlight - Various Artists [11-21-52] 
GL 518 - Quiet Music, Volume VIII: Dream - Various Artists [11-21-52] 
GL 519 - Quiet Music, Volume IX - Various Artists [11-21-52] 
GL 520 - Bunk Johnson and His Band - Bunk Johnson [12-5-52] 
GL 521 - Arthur Godfrey's TV Calendar Show - Various Artists [2-23-53] 
GL 522 - One Night Stand - Harry James and His Orchestra [4-3-53] 
GL 523 - Benny Goodman Presents Eddie Sauter Arrangements - Benny Goodman [5-1-53] Reissued as CL 523. 
GL 524 - Benny Goodman Presents Fletcher Henderson Arrangements - Benny Goodman [5-1-53] Reissued as CL 524.

เลเบลแผ่น columbia 12 นิ้ว

สำหรับแผ่น 12 นิ้ว ต่อมาเปลี่ยนสีฉลากเป็นสีแดง และหมายเลขแผ่น ขึ้นต้นด้วย CL 
CL 525 - Percy Faith Plays Continental Music - Percy Faith [8-31-53] 
CL 526 - Percy Faith Plays Romantic Music - Percy Faith [8-31-53] 
CL 527 - Mood Music By Paul Weston - Paul Weston [11-2-53] 
CL 528 - Dream Time Music By Paul Weston - Paul Weston [11-2-53] 
CL 529 - Pop Concert - Ray Martin [8-31-53] 
CL 530 - Viennese Memories - Alexander Schneider [11-2-53] 
CL 531 - Frankie Carle's Piano Party - Frankie Carle [8-31-53] 
CL 532 - Quiet Music, Volume X - Various Artists [8-31-53] 
CL 533 - Dance the Fox Trot - Various Orchestras [8-31-53] 
CL 534 - Benny Goodman & His Orchestra - Benny Goodman [8-31-53] 
CL 535 - Erroll Garner - Erroll Garner [11-2-53] 
CL 536 - Sophisticated Swing - Les Elgart [11-2-53] 
CL 537 - Dance with Cugat - Xavier Cugat [11-2-53] 
CL 538 - Hawaiian Holiday - Hal Aloma & His Hawaiians [11-2-53] 
CL 539 - Dance with Les Brown - Les Brown & His Orchestra [1-25-54] 
CL 540 - Christmas with Arthur Godfrey and All the Little Godfreys - Various Artists [10-26-53] 
CL 541 - Late Music, Volume I - Various Artists [1-25-54] 
CL 542 - Late Music, Volume II - Various Artists [1-25-54] 
CL 543 - Late Music, Volume III - Various Artists [1-25-54] 
CL 544 - The Van Damme Sound - Art Van Damme Quintet [4-19-54] 
CL 545 - Easy to Remember - Norman Luboff Choir [3-1-54] 
CL 546 - When the Saints Go Marching In - Turk Murphy & His Jazz Band [3-15-54] 
CL 547 - Jam Session Coast-to-Coast - Eddie Condon with His All Stars & Rampart St. Paraders [3-15-54] 
CL 548 - The Huckle-Buck and Robbins' Nest: A Buck Clayton Jam Session - Buck Clayton [3-15-54] 
CL 549 - Chet Baker and Strings - Chet Baker [4-14-54] 
CL 550 - Kismet - Percy Faith [2-15-54] 
CL 551 - Music Until Midnight - Mitch Miller with Percy Faith & His Orchestra [1954] 
CL 552 - The New Benny Goodman Sextet - Benny Goodman [4-19-54] 
CL 553 - Trumpet After Midnight - Harry James & His Orchestra [5-3-54] 
CL 554 - Comedy in Music - Victor Borge [1954] 
CL 555 - I Love Paris - Michel Legrand avec Orchestra [6-7-54] [French] 
CL 556 - Holiday in Vienna - Alexander Schneider [6-7-54] 
CL 557 - Jam Session at Carnegie Hall - Mel Powell & His All-Stars featuring Gene Krupa & Buck Clayton [7-5-74] 
CL 558 - The Music of Duke Ellington Played By Duke Ellington - Duke Ellington [7-19-54] 
CL 559 - The Music of Jelly Roll Morton Played By Turk Murphy and Wally Rose - Turk Murphy & Wally Rose [7-19-54] 
CL 560 - Symphonic Serenade - Morton Gould conducting the Rochester "Pops" Orchestra [8-16-54] 
CL 561 - Columbia Dance Party Series: Swing and Sway with Sammy Kaye - Sammy Kaye [8-2-54] 
CL 562 - Columbia Dance Party Series: Dancing in Person with Harry James at the Hollywood Palladium - Harry James [8-2-54] 
CL 563 - Columbia Dance Party Series: Dancing in Person with Dick Jurgens at the Aragon Ballroom - Dick Jurgens [8-2-54] 
CL 564 - Columbia Dance Party Series: Square Dancing - Manning Smith with the Rhythm Outlaws of Texas [8-2-54] 
CL 565 - Hula - Waikiki Hula Boys [7-5-54] 
CL 566 - Jazz Goes to College - Dave Brubeck Quartet Featuring Paul Desmond [6-7-54] 
CL 567 - How Hi the Fi: A Buck Clayton Jam Session featuring Woody Herman - Buck Clayton [7-19-54] 
CL 568 - Paris Je T'aime - Maurice Chevalier avec Orchestra [6-21-54] [French] 
CL 569 - St. Germain-des-Pres - Juliette Greco avec Orchestra [6-21-54] [French] 
CL 570 - Mademoiselle de Paris - Jacqueline Francois avec Orchestra [6-21-54] 
CL 571 - Montmartre - Patachon avec Orchestra [6-21-54] [French] 
CL 572 - Carribean Cruise - Paul Weston [8-9-54] 
CL 573 - Hi-Fire Works - Art Ferrante & Lou Teicher [9-6-54] 
CL 574 - Music for a Rainy Night - Paul Weston [9-6-54] 
CL 575 - Liberace at the Piano - Liberace [8-9-54] 
CL 576 - Arthur Godfrey's TV Sweethearts - Marion Marlowe & Frank Parker [8-9-54] 
CL 577 - Music from Hollywood - Percy Faith [8-9-54] [matrix XLP 32186/87] 
CL 578 - A Musical Portrait of New Orleans - Jo Stafford & Frankie Laine [8-9-54] 
CL 579 - Cugat's Favorite Rhumbas - Xavier Cugat [8-9-54] 
CL 580 - Famous Operettas - Morton Gould [12-6-54] [matrix XLP 31688] 
CL 581 - Soft Lights, Sweet Trumpet - Harry James [8-9-54] 
CL 582 - Young Man with a Horn - Harry James with Doris Day [8-9-54] 
CL 583 - Erroll Garner Gems - Erroll Garner [8-9-54] 
CL 584 - Jo Stafford Sings Broadway's Best - Jo Stafford [8-9-54] 
CL 585 - Hollywood's Best - Rosemary Clooney & Harry James [8-9-54] 
CL 586 - Anniversary Songs - Ken Griffin [8-9-54] 
CL 587 - A Musical Journey with George Liberace - Liberace [9-6-54] 
CL 588 - Music of Christmas - Percy Faith [9-20-54] 
CL 589 - Christmas at Liberace's - Liberace [11-8-54] 
CL 590 - Dave Brubeck at Storyville: 1954 - Dave Brubeck with Paul Desmond [11-20-54] 
CL 591 - Louis Armstrong Plays W.C. Handy - Louis Armstrong [10-18-54] 
CL 592 - The Three Herds - Woody Herman [12-6-54] 
CL 593 - Without A Word - Various Artists [12-6-54] 
CL 594 - Just One More Dance - Les Elgart [12-6-54] 
CL 595 - Barrelhouse Jazz - Turk Murphy [12-6-54] 
CL 596 - The Three Bells - Les Compagnons de la Chanson [11-8-54] [French] 
CL 597 - Columbia Dance Party Series: Tango Time - Various Artists [12-6-54] 
CL 598 - Columbia Dance Party Series: Mambo at Midnight - Belmonte & His Afro-American Music [12-6-54] 
CL 599 - Columbia Dance Party Series: Saturday Night Mood - Various Orchestras [12-6-54]

เลเบลแผ่น columbia Magic Note

รุ่นต่อมาฉลากเป็นสีเขียวตัวพิมพ์สีทอง 
มีโลโกรูปตัวโน้ท (Magic Note) อยู่บนสุด มีคำว่า COLUMBIA เป็นตัวพิมพ์ใหญ่และบรรทัดล่างติดกันเป็นตัวเขียนคำว่า “Long Playing Microgroove” อยู่เหนือตำแหน่งรูแผ่นเสียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการบันทึกแบบ mono

เลเบลแผ่น Columbia Album Classic

ส่วน album Classic จะเป็นสีน้ำเงิน

เลเบลแผ่น Columbia หลังปี 1962

หลังจากนั้นมาจนถึงปี 1962 ฉลากสีเขียวนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นพื้นสีเทา ตัวหนังสือสีน้ำเงินแทน ตามรูปแบบที่ต้องการให้เป็นไปในทางเดียวกันกับรูปแบบฉลากของ Parlophone และ HMV (His Master Voice) 
เลเบลของศิลปินต่างๆที่เคยบันทึกสมัยที่ยังเป็นฉลากสีเขียวนี้ ซึ่งรวมทั้ง Cliff Richard, The Shadows, Acker Bilk และ Helen Shapiro. รวมถึง The Yardbirds LP shown, Gerry and The Pacemakers, The Animals, Hermans Hermits, The Dave Clark Five และยุคเริ่มของ Pink Floyd ต่างก็พอใจกับความสำเร็จในช่วงที่ได้บันทึกใหม่กับฉลากสีเทา-น้ำเงินนี้ 
ในปี 1969-70, รูปแบบเลเบลก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีก เป็นพื้นสีดำ ตัวพิมพ์สีเงิน (Silver) จนกระทั่งกลายเป็นฉลากใหม่ของ EMI ในภายหลังปี 1972 รูปลักษณ์ฉลากเกือบจะเหมือนกับฉลากของ Parlophone

เลเบลแผ่น Columbia 6 eyes

ย้อนไปในช่วงปลายทศวรรษ ’50 ประมาณ 1957 Columbia ยังได้ออกแผ่นเลเบลที่เรียกว่า 6 eyes มีพื้นสีแดงสำหรับ Album ทั่วไป

เลเบลแผ่น Columbia Album Classic สีเทา

และพื้นสีเทาสำหรับ Album Classics ซึ่งเป็นแผ่นในช่วงที่บันทึกเสียงได้ดีที่สุดยุคหนึ่ง และเป็นแผ่นที่หมายปองของนักสะสมเลเบลหนึ่งเลยทีเดียว

เลเบลแผ่น Columbia 6 eyes ปี 1962

ต่อมาในปี 1962 เลเบลใน Series 6 eyes นี้ ก็เปลี่ยนรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง โดยมีตัวอักษร CBS เล็กๆพิมพ์อยู่ในรูปหัวลูกศร อยู่ด้านบนฉลาก และย้ายคำว่า “COLUMBIA” อยู่ด้านล่างของฉลากแทน สีขอบด้านนอกจากเดิมเป็นสีพื้นเดียวกัน ก็เปลี่ยนมาเป็นสีดำ รุ่นนี้จะเป็น สเอริโอทั้งหมดแล้ว จึงมีคำว่า “STRERO” และ “FIDELITY” อยู่ด้านซ้ายและขวาของรูปลูกศรตามลำดับ

เลเบลแผ่น Columbia ยุคหลัง 2 eyes

รูปแบบฉลากรุ่นหลังๆของ Columbia 
Columbia 2 eyes 

เลเบลแผ่น Columbia 3 eyes

เมื่อกลายเป็น CBS 3 eyes

เลเบลแผ่น Columbia 1 eye

CBS 1 eye

เลเบลแผ่น EMI

แผ่น EMI หมดยุคของแผ่น Columbia อีกต่อไป

แอดมินเว็บไทยแกรมโมโฟน Thaigramophone.com