วิวัฒนาการเครื่องเล่นแผ่นเสียงและแผ่นเสียง โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

กว่าที่เราจะได้ฟังเพลงจากชุดเครื่องเสียงสเตอริโอราคาแพง จากเครื่องเล่นซีดี จากเครื่องเล่นแผ่นเสียง หรือแม้แต่เครื่องเล่น MP 3 อย่างทุกวันนี้ ทราบไหมว่ามันใช้เวลาพัฒนานานและต้องใช้มันสมองขนาดไหนกว่าเราจะได้ฟังอย่างมีความสุขเช่นนี้ เครื่องเล่นถูกคิดค้นขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี 1857 แล้วถูกพัฒนามาเรื่อยๆจนเป็นเครื่องเล่นแบบไขลานที่เรียกว่า แกรโมโฟน ในปี 1896 ที่ใช้เล่นกับแผ่นครั่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ซึ่งทั้งหนัก แข็งและแตกหักง่าย แต่มันก็เป็นสิ่งเดียวที่สามารถทำให้ฟังเพลงได้ หลักการง่ายๆ ของแผ่นเสียง  และเครื่องเล่นก็คือ แผ่นเสียงมีร่องขนาดเล็กจิ๋วเป็นจำนวนมาก ในร่องเหล่านี้มีปุ่มขรุขระมากมายเพื่อให้เข็มจากเครื่องเล่นแผ่นวิ่งผ่าน เข็มเปรียบเสมือนตัวรับแรงสั่นสะเทือนเวลาวิ่งไปสัมผัสกับปุ่มในร่องจนเกิดเป็นคลื่นเสียงส่งผ่านลำโพงที่มีลักษณ์คล้ายปากแตรออกมา ซึ่งถ้าฟังในสมัยนี้ เสียงค่อนข้างทุ้มต่ำ ไร้มิติ เป็นแบบโมโนที่ฟังแล้วอุดอู้ แต่มันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของยุคนั้น อีกทั้งเล่นด้วยสปีด 78 RPM (รอบต่อนาที) ซึ่งเร็วมาก เวลาลานไขไว้ใกล้หมด เสียงเพลงก็จะค่อยๆ อืดลงเหมือนเทปยืด เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เป็นต้นกำเนิดหรือบรรพบุรุษของเครื่องเล่นในปัจจุบันถูกผลิตขึ้นในปี 1930 ปีเดียวกับที่แผ่นเสียงที่ผลิตด้วยพลาสติกไวนิลที่ยืดหยุ่นได้เล็กน้อย น้ำหนักเบา และกระด้างน้อยกว่าแผ่นครั่งได้ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของแผ่นลองเพลย์ (จะเรียก LP หรือแผ่นอัลบัมก็ได้) เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว…

Continue reading

“แผ่นเสียงออริจินัล (Original)” กับ “แผ่นรีอิชชู (Re-Issue)” เล่นอะไรดี? โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

Add @Sanook.com อนุสรณ์ สถิรรัตน์นักเขียนประจำบก.นิตยสาร Music Express ตั้งแต่ปี 2527-2537 บก.บห.นิตยสาร Crossroads ตั้งแต่ปี 2537-2544 บก.บห.นิตยสาร Sound และ Metal Mag ตั้งแต่ปี 2545-2548 ปัจจุบันเป็นเจ้าของร้านขายแผ่นเสียง Records Hunter เปิดกิจการตั้งแต่ 2552-ปัจจุบัน แผ่นเสียงแบบรีอิชชู (Re-Issue ต่อไปขออนุญาตเรียกย่อว่า แผ่นรี) ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และมีนายทุนผลิตออกมาตอบสนองความต้องการของคนฟังเพลงไม่ขนาดสาย กระแสคนเล่นแผ่นเสียงยังไม่มีเค้าว่าจะซาลงง่ายๆ ขณะที่คนฟังเทปคาสเซ็ตต์ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่เทปไม่สามารถออกรีอิชชูได้อีกแล้ว เว้นแต่จะแอบทำแบบผิดกฎหมายเหมือนสมัยเทปผีในอดีต การฟังเพลงในอดีตในรูปแบบแผ่นเสียงจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงจากยุคอนาล็อก สำรวจตลาดแผ่นเสียงรี ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านเป็นช่วงน้ำขึ้นของตลาดแผ่นเสียงรีอย่างแท้จริง ช่วงที่ว่านี้มีคนหันมาฟังแผ่นเสียงมากขึ้น เรียกได้ว่ามีนักเล่นแผ่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง แต่กว่าครึ่งของจำนวนที่ว่านี้ก็เลิกเล่นไปในระยะเวลาอันสั้น สืบเนื่องมาจากสู้ราคาไม่ไหว อีกทั้งเจอแผ่นรีที่คุณภาพเสียงไม่ดีอย่างที่ฟังจากเทปหรือซีดีในอดีต ตลาดแผ่นเสียงรีบ้านเราเปิดตัวแบบไม่มีทิศทาง หลายอย่างยังไม่พร้อม ไม่เอื้ออำนวย แต่ก็ยังทำออกมาขาย ผลก็เลยผิดคาดและผิดหวังอย่างมากครับ…

Continue reading

ครั้งแรกใน 2 ทศวรรษ! ยอดขายแผ่นเสียงแซงหน้าแผ่นซีดีในสหรัฐฯ เหตุกระแสหวนอดีตแรงเกินคาด

ตอนนี้กระแสโหยหาอดีตมาแรงอย่างคาดไม่ถึง ทำให้อุตสาหกรรมเพลงในสหรัฐอเมริกาเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง นั่นคือยอดขายแผ่นเสียง (Vinyl) ในปี 2563 มีมากกว่าแผ่นซีดี (CD) แล้ว ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษ เรื่องในอดีตกลายเป็นที่สนใจ Recording Industry Association of America เปิดเผยผลสำรวจอุตสาหกรรมเพลงในสหรัฐอเมริกาช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ว่า ยอดขายแผ่นเสียงคิดเป็นมูลค่า 232.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนแผ่นซีดีคิดเป็นมูลค่า 129.9 ล้านดอลลาร์ ลดลง 48% ถือเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปี เพราะช่วงเวลานั้นเทปคาสเซ็ท และแผ่นซีดี เข้ามามีบทบาทกับอุตสาหกรรมเพลงมากขึ้น และทำให้แผ่นเสียงแทบไม่มีที่ยืนในตลาดนี้ จนกระทั่งปี 2543 แผ่นเสียงเริ่มกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะกระแสหวนหาอดีต จนกระทั่งครึ่งแรกของปี 2563 แซงหน้ายอดขายแผ่นซีดีได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่จับต้องได้ในอุตสาหกรรมเพลง เช่นแผ่นเสียง, แผ่นซีดี หรือเทปคาสเซ็ท…

Continue reading

กระแส “เทปคาสเซ็ตต์” รอบโลกในช่วงปี 2020 ผ่านมา โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

อนุสรณ์ สถิรรัตน์นักเขียนประจำบก.นิตยสาร Music Express ตั้งแต่ปี 2527-2537 บก.บห.นิตยสาร Crossroads ตั้งแต่ปี 2537-2544 บก.บห.นิตยสาร Sound และ Metal Mag ตั้งแต่ปี 2545-2548 ปัจจุบันเป็นเจ้าของร้านขายแผ่นเสียง Records Hunter เปิดกิจการตั้งแต่ 2552-ปัจจุบัน ยอดขายเทปในอังกฤษเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในปี 2020 จากรายงานขององค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งบันทีกเสียงอังกฤษ หรือ BPI ได้สรุปยอดขายของเทปคาสเสตต์ในปี 2020 ที่ผ่านมาเฉพาะในอังกฤษ ปรากฏว่ามียอดขายเพิ่มเป็น 2 เท่าจากที่เคยขายได้ ปี 2020 อังกฤษเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ ประชาชนไม่ออกมาเดินเที่ยวเหมือนอย่างเคย เช่นเดียวกับคนฟังเพลงที่ต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน และส่วนใหญ่ก็เวิร์ก ฟรอม โฮม (WFH) ยังส่งผลให้การบริการสตรีมมิงดนตรีทำสถิติยอดขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ของทุกแพลตฟอร์ม หนำซ้ำยอดรวมสตรีมมิงในประเทศยังเพิ่มมากกว่าปีก่อนถึง 251 ล้านครั้งด้วยกัน Geoff Taylor ผู้บริหารสูงสุดของ BPI…

Continue reading

“สะสม” อะไรดี เพื่อทำ “รายได้” ในอนาคต โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

ช่วงที่ล็อกดาวน์ตอนโควิด-19 ระบาดตลอด 4-5 เดือนที่ผ่านมา ได้รับข้อความจากเพื่อนๆ มีหลายคนประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน จนทำให้ต้องนำสิ่งสะสมหรือของรักมาขายเพื่อแก้ไขสถานการณ์ไปพลางๆจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่สภาพปกติ เลยถือโอกาสชี้ทางอ้อมๆ เผื่อจะนำไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือเผื่อทำเป็นงานหลักในอนาคตก็ได้ครับ อันที่จริง ตลาดซื้อขายออนไลน์เกี่ยวกับเพลงอย่างไม่เป็นทางการมีมานานแล้วครับ ก่อนจะมีเฟซบุ๊กด้วยซ้ำ แต่มาเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อคนฟังเพลงเอาในช่วงที่เฟซบุ๊กถือกำเนิดขึ้น ชุมชนขยายตัว คนซื้อคนขายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น ตรงตามหลักอุปสงค์อุปทาน ชุมชนนี้จึงขยายตัวตลอดเวลา จากซื้อขาย ก็เพิ่มแลกเปลี่ยนเพิ่มเข้ามาอีก ดังจะเห็นหลายกลุ่มในเฟซบุ๊กตั้งชื่อด้วย “ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน” เป็นคีย์เวิร์ด ปัจจุบัน มีเฟซบุ๊กเกี่ยวกับซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเทป ซีดี แผ่นเสียง ดีวีดี นิตยสารดนตรี ไปจนถึงของที่ระลึกเกี่ยวกับดนตรีเต็มไปหมด ผมก็เป็นสมาชิกในกลุ่มเหล่านี้หลายสิบกลุ่ม ได้ซื้อขาย และศึกษากลยุทธ์ต่างๆของคนขายแต่ละคน และที่สำคัญที่สุด ศึกษาความเคลื่อนไหวว่าตลาดต้องการอะไรบ้าง การตั้งราคาอาศัยจากมูลฐานอะไร 3 ไอเท็มชี้อนาคต มาถึงกลางปี2020 นี้ หลายอย่างเริ่มส่อเค้ารางแล้วว่ามันมีส่วนกำหนดความเป็นไปในตลาดคนฟังเพลงได้ค่อนข้างแน่นอนและยืนยาว สำหรับคนที่ฟังเพลง สะสมไอเท็ม และชอบเล่นแร่แปรธาตุไม่ควรมองข้าม 3 ไอเท็มที่จะกล่าวในย่อหน้าต่อไปนะครับ ซีดี…

Continue reading

จริงหรือ ? ที่การกลับมาของแผ่นเสียง อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สำนักข่าว The Guardian ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการกลับมาได้รับความนิยมของแผ่นเสียงว่าอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยรายงานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากโรงงานผลิตแผ่นเสียงในสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วนานนับศตวรรษ ยังคงใช้เครื่องจักรที่มีอายุเก่าแก่นานนับสิบปี ก่อนที่จะเชื่อมโยงมายังโรงงานผลิตวัตถุดิบในประเทศไทย ก่อนที่เราจะไปดูรายละเอียดของเนื้อหารายงานดังกล่าว มาดูที่สถานการณ์ความเป็นไปของวงการแผ่นเสียงหรือแผ่นไวนิลกันเสียก่อน ปัจจุบันในขณะที่รายได้จากธุรกิจมิวสิกสตรีมมิงนำหน้าช่องทางการเสพดนตรีอื่น ๆ แต่ตลาดของแผ่นเสียงก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลานี้ชาวอเมริกันได้ใช้เงินไปกับแผ่นเสียงมากพอ ๆ กับการซื้อแผ่นซีดี ขณะที่ยอดขายแผ่นเสียงในสหราชอาณาจักรมียอดสูงถึง 4 ล้าน 3 แสนแผ่นในปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นปีที่ 12 ติดต่อกันของยอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากคุณเป็นหนึ่งในผู้คนหลายล้านคนที่ยอมรับการกลับมาอีกครั้งของแผ่นเสียง มันก็คุ้มค่าที่จะได้รู้ว่าแผ่นเสียงเหล่านั้นมาจากไหนและผลิตกันอย่างไร ภายในโรงงานผลิตแผ่นเสียงจะมีตู้บรรจุที่เรียกว่า ฮ็อปเปอร์ ประจำแต่ละสถานีที่ทำการปั้มแผ่น ในนั้นเต็มไปด้วยเม็ดโพลีเมอร์ที่มีลักษณะคล้ายถั่วเลนทิล บรรจุไว้ตรงช่องทางลงในเครื่องจักรให้ความร้อน และหลอมรวมเพื่อสร้างก้อนวัตถุดิบที่มีลักษณะคล้ายกับลูกพัค (puck) ในกีฬาฮอกกี้ และลูกสควอช สำหรับเตรียมใช้ในการผลิตแผ่นเสียง ในสต็อกสำหรับเก็บเม็ดพลาสติก ทางผู้สื่อข่าวได้พบกับกล่องกระดาษแข็งที่ว่างเปล่า ซึ่งมีขนาดใหญ่ราวกับตู้เย็น บนกล่องถูกทำเครื่องหมายด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดใหญ่ว่า “สารประกอบไวนิล” และ “ผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย” เม็ดไวนิลเหล่านี้ถูกใช้ในกระบวนการผลิตเพียงไม่กี่ครั้ง แต่เดิมวัตถุดิบเหล่านี้ถูกผลิตมากที่สุดโดยบริษัทปิโตรเคมีซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐฯ จนกระทั่งตลาดแผ่นเสียงซบเซาไปหลังจากปี 1990 ปัจจุบันวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแผ่นเสียงในสหรัฐอเมริกาล้วนแล้วมาจากต่างประเทศ มากกว่าครึ่งหนึ่งของโพลีไวนิลคลอไรด์…

Continue reading