การดู เลเบล และเลือกแผ่นเสียง
Quote from Webmaster Thaigramophone on March 15, 2021, 3:54 pmแผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายแต่ละอัลบัม จะมีแผ่นที่ปั้มออกมาครั้งแรกจากต้นแบบ (Stamper) ที่ต้องนำมาตรวจสอบก่อนประมาณไม่เกิน 100 แผ่น หลังจากเข้าที่แล้วแผ่นต่อจากนี้ไปจึงจะเป็นแผ่นที่จะนำออกจำหน่าย แผ่นที่ตรวจสอบนี้เรียกว่า Test pressing บางค่ายก็มีนำออกจำหน่ายโดยมักจะมี เลเบล สีขาวพื้นๆ พิมพ์ชื่ออัลบั้ม/เพลง สีดำ ส่วนซองนอกก็จะเป็นซองขาวไม่มีข้อความใดๆ ทั้งสิ้น test pressing ของอัลบัม เก่าๆปัจจุบันเป็นที่เสาะแสวงหามาสะสมกัน เนื่องจากเป็นพิมพ์แรกๆจาก stamper เสียงจะคมชัดดีกว่าแผ่นหลังๆ ที่ตามมา
ยังมีแผ่นอีกประเภทหนึ่งที่ค่ายเพลงมักนำมาแจกฟรีให้กับสถานีวิทยุ เพื่อโปรโมทเพลงของศิลปินที่สังกัดค่ายตนเอง เรียกว่า Demonstration Disc แผ่นประเภทนี้ก็เข้าใจได้ว่าน่าจะมีคุณภาพดีกว่าแผ่นที่ออกจำหน่ายจริง เนื่องจากเป็นแผ่นที่ผลิตออกมาจาก Stamper แรกๆ ฉลากหรือเลเบล มักจะมีรูปลักษณ์เฉพาะแตกต่างไปจากแผ่นที่จำหน่าย แต่ละค่ายก็แตกต่างกันไปแล้วแต่จะกำหนดให้เป็นที่เข้าใจกันเอง ซึ่งโดยมากก็มักจะมีพื้นฉลากสีขาว ตัวพิมพ์สีดำ
สำหรับแผ่นที่ผลิตออกวางจำหน่าย (Commercial labels) ก็จะมีหลายรุ่นที่ผลิตออกมา เรียกว่า 1st pressing, 2nd pressing… ส่วนรุ่นหลังๆ ที่นำมาสเตอร์มาทำใหม่ก็จะเรียกว่า re-issue บางอัลบั้มก็ผลิตจากหลายประเทศเช่น Japan pressing, German pressing, Indian pressing … อะไรทำนองนี้ คุณภาพเสียงของแต่ละรุ่นที่ผลิต หรือแต่ละประเทศที่ผลิต ย่อมแตกต่างกัน ก็จะเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้เสาะแสวงหา และนัก audiophiles ทั้งหลาย ในการเลือกซื้อก็จะต้องดูให้ดี ถ้าไม่พบข้อความระบุแหล่งผลิตจากซองนอกที่บรรจุแผ่น ก็อาจต้องดูที่เลเบลที่ติดอยู่กับแผ่น มักจะมีแหล่งผลิตระบุเอาไว้
ฉะนั้นในการเลือกหาซื้อแผ่นเพื่อสะสมจริงๆ จึงควรที่จะหาข้อมูลและเรียนรู้ประวัติของค่ายผลิตแผ่นเสียงต่างๆ จึงจะมีความเข้าใจได้ถูกต้อง
ค่ายเพลง / ค่ายผลิตแผ่นเสียง
การศึกษาประวัติของค่ายที่ผลิตแผ่นเสียงที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อน ’50 จนถึงยุค ’70 ซึ่งเป็นช่วงที่อุตสาหกรรม/ธุรกิจแผ่นเสียง กำเหนิดขึ้น และเฟื่องฟูสุดขีด ย่อมทำให้เข้าใจลึกซึ้งต่อแผ่นเสียงที่ต้องการเสาะแสวงหามาฟังและสะสมอย่างมีความหมาย
แผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายแต่ละอัลบัม จะมีแผ่นที่ปั้มออกมาครั้งแรกจากต้นแบบ (Stamper) ที่ต้องนำมาตรวจสอบก่อนประมาณไม่เกิน 100 แผ่น หลังจากเข้าที่แล้วแผ่นต่อจากนี้ไปจึงจะเป็นแผ่นที่จะนำออกจำหน่าย แผ่นที่ตรวจสอบนี้เรียกว่า Test pressing บางค่ายก็มีนำออกจำหน่ายโดยมักจะมี เลเบล สีขาวพื้นๆ พิมพ์ชื่ออัลบั้ม/เพลง สีดำ ส่วนซองนอกก็จะเป็นซองขาวไม่มีข้อความใดๆ ทั้งสิ้น test pressing ของอัลบัม เก่าๆปัจจุบันเป็นที่เสาะแสวงหามาสะสมกัน เนื่องจากเป็นพิมพ์แรกๆจาก stamper เสียงจะคมชัดดีกว่าแผ่นหลังๆ ที่ตามมา
ยังมีแผ่นอีกประเภทหนึ่งที่ค่ายเพลงมักนำมาแจกฟรีให้กับสถานีวิทยุ เพื่อโปรโมทเพลงของศิลปินที่สังกัดค่ายตนเอง เรียกว่า Demonstration Disc แผ่นประเภทนี้ก็เข้าใจได้ว่าน่าจะมีคุณภาพดีกว่าแผ่นที่ออกจำหน่ายจริง เนื่องจากเป็นแผ่นที่ผลิตออกมาจาก Stamper แรกๆ ฉลากหรือเลเบล มักจะมีรูปลักษณ์เฉพาะแตกต่างไปจากแผ่นที่จำหน่าย แต่ละค่ายก็แตกต่างกันไปแล้วแต่จะกำหนดให้เป็นที่เข้าใจกันเอง ซึ่งโดยมากก็มักจะมีพื้นฉลากสีขาว ตัวพิมพ์สีดำ
สำหรับแผ่นที่ผลิตออกวางจำหน่าย (Commercial labels) ก็จะมีหลายรุ่นที่ผลิตออกมา เรียกว่า 1st pressing, 2nd pressing… ส่วนรุ่นหลังๆ ที่นำมาสเตอร์มาทำใหม่ก็จะเรียกว่า re-issue บางอัลบั้มก็ผลิตจากหลายประเทศเช่น Japan pressing, German pressing, Indian pressing … อะไรทำนองนี้ คุณภาพเสียงของแต่ละรุ่นที่ผลิต หรือแต่ละประเทศที่ผลิต ย่อมแตกต่างกัน ก็จะเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้เสาะแสวงหา และนัก audiophiles ทั้งหลาย ในการเลือกซื้อก็จะต้องดูให้ดี ถ้าไม่พบข้อความระบุแหล่งผลิตจากซองนอกที่บรรจุแผ่น ก็อาจต้องดูที่เลเบลที่ติดอยู่กับแผ่น มักจะมีแหล่งผลิตระบุเอาไว้
ฉะนั้นในการเลือกหาซื้อแผ่นเพื่อสะสมจริงๆ จึงควรที่จะหาข้อมูลและเรียนรู้ประวัติของค่ายผลิตแผ่นเสียงต่างๆ จึงจะมีความเข้าใจได้ถูกต้อง
ค่ายเพลง / ค่ายผลิตแผ่นเสียง
การศึกษาประวัติของค่ายที่ผลิตแผ่นเสียงที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อน ’50 จนถึงยุค ’70 ซึ่งเป็นช่วงที่อุตสาหกรรม/ธุรกิจแผ่นเสียง กำเหนิดขึ้น และเฟื่องฟูสุดขีด ย่อมทำให้เข้าใจลึกซึ้งต่อแผ่นเสียงที่ต้องการเสาะแสวงหามาฟังและสะสมอย่างมีความหมาย