เลเบลแผ่นตราสุนทราภรณ์ บทความโดยคุณสมาชิก RiderPok

แผ่นตราสุนทราภรณ์รุ่นแรกของ กมล สุโกศล

รุ่น2นี้คล้ายกันมาก ต่างกันตรงตัวหนังสือชื่อวงตัว

ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

รุ่น3ของแผ่นกมลสุโกศลนี้แตกต่างชัดเจนคือตัด

ตัวหนังสือคำว่าLong Playing ตรงกลางออกไป

แผ่นตราสุนทราภรณ์แผ่นนี้เป็นของเมโทรครับ

อันนี้เป็นของคาเธย์ครับ

สมัยก่อนเครดิตของวงสุนทราภรร์ดีมาก ไม่ว่าจะไปทำแผ่นกับค่ายไหน ตัวแผ่นต้องมัตราสุนทราภรณ์แทบทั้งสิน ยกเว้นแผ่นกมล สุโกศลรุ่นแรกๆครับเช่นแผ่นลาวดำเนินทรายแผ่นนี้ทำที่ประเทศอินเดียครับ เป็นแผ่นโคลัมเบีย แต่พอทำรุ่นหลังๆก็เปลี่ยนปกเปลี่ยนเลเบลเป็นตราสุนทราภรณ์สีส้มเหมือนกัน

หมดรุ่นโคลัมเบีย(อินเดีย)ก็มาโคลัมเบียบ้านเรา

ครับ แผ่นนี้เป็นแผ่นสุนทราภรณ์ชุดเสียงสวรรค์นิรันดรมัณทนา โมรากุล

พอหลังจากแผ่นโคลัมเบียบ้านเรา ก็มาเป็นเลเบลนี้ครับ KS แผ่นนี้สุนทราภรณ์ชุดนกสีชมภูครับ หมด เลเบลเขียว3แบบนี้ ถึงจะไปใช้เลเบล ตราสุนทราภรณ์สีส้มครับ เลเบลสุนทราภรณ์ เฉพาะรุ่นแรกๆคงมีประมาณนี้น่ะครับ

เปลี่ยนเรื่องมาดูแผ่นที่ปกรูปเดียวกัน แต่เป็นแผ่นที่ทำกันคนล่ะรุ่นครับ แผ่นนี้ถนัดศรี ชุดสีชังด้านซ้ายแผ่นญี่ปุ่น ด้านขวาทำในบ้านเรา

สังเกตุปกได้ที่ตรงนี้ครับ แถบสีส้มแผ่นญี่ปุ่นจะมี

ลายเซ็นของผู้เขียนปก แผ่นที่ไม่มีลายเซ็นคือ

แผ่นบ้านเรา

เลเบลแผ่นญี่ปุ่น จะเป็นสีแดงๆ

รุ่นแรก(ที่ทำในบ้านเรา)เป็นสีเขียวแบบนี้ พอรุ่น

สุดท้าย(ผมไม่มีรูปให้ดู) จะเป็นสีครีมๆมีตราครุท

ปกหลังพับสันด้านนอกทั้งคู่ แผ่นข้างบนเป็นแผ่น

ญี่ปุ่นครับ

ชุดนี้แผ่นนอกแผ่นในปกเหมือนกันเลย ต่างกัน

ตรงความชัดเจน ปกนอกจะชัดกว่าเพียงเล็กน้อย

แต่ด้านหลังแตกต่างชัดเจน ด้านล่างคือแผ่น

อินเดียครับ

อันนี้ความแตกต่างคล้ายๆกับแผ่นรำวงสงกรานต์

คือเหมือนกัน ต่างกันตรงความคมชัดของภาพปก

ด้านล้างคือรุ่นแรก แผ่นนอกครับ

ปกเก่าๆสีฟ้าๆครับ เพิ่งได้มาเพิ่มอีกแผ่นนึง

นกสีชมภูปกเก่าจะแตกต่างกันตรงที่รูปรวงทอง

ด้านขวาล่าง ปกใหม่จะเป็นรูปตอนที่สาวสวยกว่านี้

ส่วนอื่นจะเหมือนกันหมด

มาดูลาเบลที่นอกเหนือจากของสุนทราภรณ์บ้าง อย่างขอค่ายใหญ่ห้างคาเธย์ก็มีอยู่หลายแบบเหมือนกัน

1.แบบแรกที่ผลิตญี่ปุ่น สังเกตุที่มงกุฎยังไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ แบบโบราณ 

แบบที่2นี่มงกุฎก็สวยขึ้นมาอีกหน่อย แต่ก็ยังทำที่ญี่ปุ่นอยู่ครับ   

แบบที่2นี่มงกุฎก็สวยขึ้นมาอีกหน่อย แต่ก็ยังทำที่ญี่ปุ่นอยู่ครับ   

แต่แบบที่3นี่มงกุฎมีรายละเอียดปรานีตสวยงามมาก และก็ยังทำที่ญี่ปุ่นอยู่อีกเหมินเดิม     

มาแบบที่4นี่เด็ดสุด มงกุฎเริ่มเปล่งรัศมี จนเส้นขอบรอบวงกลมหายไป บอกไว้เสร็จว่าเป็น”เครื่องหมายแห่งคุณภาพ” แต่คุณภาพเสียงส่วนใหญ่ลดลง แต่บางชุดก็ยังใช้ได้อยู่ และตัวอักษรชื่อเพลงกลายเป็นแบบพิมพ์ไปซะแล้ว      

“แบบที่4นี้ทำในบ้านเราแล้วครับ”

และยังมีอีกแบบที่ผมหาไม่ได้คือลาเบลเหมือนแบบที่4แต่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ช่วงหลังๆนี่จะเป็นเสตอริโอแล้วครับ 

มาดูแผ่น7นิ้วกันบ้างครับ กับค่ายดัง ห้างคาเธย์ กับห้างกมลสุโกศล

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ด้านบนแผ่นนอกและในบ้านเรา แต่ใช้ภาพเดียวกัน ต้องสังเกตุ ถ้าปกนอกจะมีโลโกโคลัมเบียที่ปก แต่แผ่นทำบ้านเราจะเป็นโลโกของกมลสุโกศล หรือบางครั้งก็จะไม่มีโลโก

ทีนี้ลองมาดูแผ่นบ้านเราที่ทำปกแบบนึง ปกนอกอีกแบบนึงกันมั่งครับ

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

ซ้ายมือแผ่นใน ขวามือแผ่นนอก(อินเดีย)

มาดูที่ลาเบลกันบ้างครับ

อันนี้เป็นลาเบลของบ้านเราครับ 

อันนี้เป็นลาเบลอินเดีย(ขวามือตัวเล็กๆmade in india)

ทีนี้ลองมาดูลาเบล7นิ้วของคาเธย์กันบ้างครับ

เริ่มจากแผ่นที่มีเขียนไว้ชัด made in japan

แผ่นjapanอีกแบบ ต่างกันนิดหน่อยครับลองสังเกตุดู

จริงๆแผ่นญี่ปุ่นยังมีแบบอื่นอีก แต่ยังหาไม่เจอครับ

ลองมาดูแผ่นไทยกันบ้างครับ

อีกแบบ เปลี่ยนจาก”หน้า”เป็น”SIDE”

อีกแบบเปลี่ยนสีก็ได้ครับ

ไว้โอกาสหน้าค่อยเจอกันใหม่นะครับ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะครับ

ลาเบลตราสุนทราภรณ์ที่ทำขายในประเทศลาว แต่ลองสังเกตุดูว่าชื่อเพลงกลับไม่ใช่เพลงของสุนทราภรณ์ซะนี่ กลับเป็นเพลง ของทูลทองใจไปซะงั้น อิอิ

บทความนี้ เขียนโดยคุณสมาชิก RiderPok จากเว็บไทยแกรมโมโฟน thaigramophone.com